forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

เงินเฟ้อรุนแรงที่ Germany (Weima Republic)....'20s

Maximilian Bern ออมเงินได้ถึง 100,000 มาร์คเยอรมัน ซึ่งก็น่าจะพอสำหรับคนเกษียณจะอยู่ได้อย่างสบาย แต่พอถึงปี 1923 เขาต้องถอนเงินจำนวนนั้นทั้งหมดออกมาเพื่อใช้ซื้อได้แค่ ตั๋วรถใต้ดิน

เขานั่งรถเที่ยวรอบเมืองเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่จะกลับบ้าน ขังตัวเองในบ้านและตาย

เขาไม่ได้ฆ่าตัวตาย แต่..อดตาย...เพราะเขาไม่มีเงินเหลือพอซื้ออาหารได้อีกแล้ว ไข่เพียง 1 ฟองในตลาดก็มีราคาหลายล้านมาร์คแล้ว มากกว่าเงินออมที่ Maximillian Bern เก็บไว้ได้ตลอดชีวิต

นี่เป็นหนึ่งใน episode ของ hyperinflation ...ที่เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์โมเดิร์น

ในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เยอรมัน ..หรือสาธารณรัฐ Weima.. อยู่ในสถานะถังแตกอย่างสิ้นเชิง

สงครามใหญ่ครั้งนั้น ทำให้ผู้แพ้ถึงขั้นล้มละลายเอาเลย ..นอกจากจะเป็นผู้แพ้แล้ว เยอรมันยังถูกบีบให้ต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามให้แก่ผู้ชนะ ที่รวมถึงฝรั่งเศสและอังกฤษ ..etc.

นั่นทำให้หนี้ปฏิกรรมสงครามอยู่ในระดับที่เรียกว่า impossible เลย..และในความพยายามอย่างสิ้นหวังที่จะรักษาสถานะทางเศรษฐกิจของประเทศให้รับได้กับข้อผูกมัดนี้ รัฐบาลเยอรมันจึงต้องพิมพ์เงินกระดาษออกมาจำนวนมาก..

ก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง... $1 = 4.2 มาร์คเยอรมัน

ปี 1923 หลังสงคราม... $1 = 4.2 ล้านล้านมาร์คเยอรมัน ..(ล้าน 2 ตัว)

ชั่วชีวิตของคนรุ่นเรานี้ เราได้เห็นเรื่องแบบเดียวกันนี้เกิดขึ้นที่ซิมบับเว และเวลานี้ ก็เกิดที่เวเนซูล่า

ผมยังจำได้ ครั้งแรกที่ไปเวเนซูล่า อัตราแลกเปลี่ยนเป็นทางการคือ $1 = 4 โบลิว่าร์ ..แต่ในตลาดมืด อัตราคือ $1 = 8 โบลิว่าร์

ครั้งต่อมาที่ผมไปมันขึ้นไปเป็นหลักหลายร้อย และหลายพัน และหลายหมื่นโบลิว่าร์ต่อ 1 USDollar

หลังจากสองปีที่ผมอยู่ที่กรุงคารากัส ผมแลกเงินไม่กี่ร้อยดอลล่าร์ได้เงินเวเนฯมาอัดแน่นหนึ่งกระเป๋าเดินทางเต็มๆ

อัตราเงินเฟ้อตอนนี้เท่ากับ 1.6 ล้านเปอร์เซนต์เทียบกับปีที่แล้ว จินตนาการไม่ถูกเลยว่ามันหมายความว่ายังไง

เราได้ยินเรื่องน่ากลัวของเงินเฟ้อรุนแรงนี้แล้ว ทุกคนดูเหมือนจะเข้าใจผลที่โหดร้ายที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ..ต่อประชาชนทุกๆคน

แต่พวกเราก็ยังพากันเชื่อว่า อัตราเงินเฟ้อที่ไม่มากจะเป็นผลดีต่อระบบ แต่ผมคิดว่ามันไร้เหตุผล

Federal Reserve เองก็พยายามทำให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 2%-3% ต่อปี ...มันก็ดูเหมือนเป็นเศษเล็กเศษน้อย (chump change) แต่ถ้ารวมๆกันแล้ว มันก็ไม่น้อย

แม้แต่ John Maynard Keynes ผู้ซึ่งเป็นต้นคิดของระบบธนาคารกลางของยุคนี้ ก็ยังเคยเขียนไว้ว่า:

"ถ้ากระบวนการเงินเฟ้อดำรงต่อไปเรื่อยๆ ไม่ช้ารัฐบาลก็จะเท่ากับยึดเอาความมั่งคั่งจากประชาชนของตน..มาเลยนะนั่น"

มันจะเกิดแบบนิ่มๆ เป็นการขโมยโดยคุณไม่รู้ตัวทีละนิด ..ใช้เวลาหลายๆปี

ดูเป็นเศษเล็กๆ แต่เมื่อรวมๆกันแล้ว มันก็ไม่น้อย

เราเห็นมันชัดในช่วงยี่สิบปีหลังมานี้ ค่าแรงที่ขึ้นไม่สัมพันธ์กับเงินเฟ้อเลย ปีต่อปี ผู้ใช้แรงงานสูญเสียส่วนที่ควรได้ไปทีละน้อย

1%-2% ต่อปีฟังดูไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่สิบหรือยี่สิบปีต่อเนื่องกันมันก็ไม่ใช่เรื่องเล็ก

เราได้ยินพวกนักการเมืองฝ่ายสังคมนิยมชอบพูดถึงเรื่องภาษีทรัพย์สินกันจัง พวกเขาไม่รู้หรือ ว่าเราเสียกันอยู่แล้วทุกปี มันเรียกว่าเงินเฟ้อไงล่ะ

Keynes ยังเขียนต่อถึงเรื่องของเงินเฟ้อและเงินออมของประชาชน อีกว่า "ในขณะที่เงินเฟ้อทำให้ประชาชนยากจนลง หลายคนก็ร่ำรวยขึ้น"

ในเยอรมันช่วงที่เกิดเงินเฟ้อรุนแรง (hyperinflation) นั้น คนวงในชั้นสูงของประเทศกลุ่มเล็กๆ พอที่จะมองเห็นเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ (see the writing on the wall) พวกเขารู้แน่ว่ารัฐบาลไม่มีทางจ่ายหนี้ได้เลย มีแต่ต้องพิมพ์เงินออกมาทำให้ค่าเงินลดลงแบบทวีคูณ

พวกนี้จัดการการลงทุนของเขา ที่สามารถทำกำไรได้มหาศาลจาก hyperinflation

Donald Trump เคยเรียกตัวเองในช่วงหาเสียงเมื่อปี 2016 ว่า "King of Debt" เพราะเขาสามารถทำกำไรได้จากการกู้เงินเท่านั้น

พวกนักลงทุนแห่ง Weima Republic ในยุคนั้นได้รับการขนานนามว่า Kings of Inflation แต่ในจำนวนนี้ ...Hugo Stinnes คือ King of Kings

Stinnes วางจุดยืนของตัวเองได้อย่างเหมาะสม เมื่อตอน hyperinflation เริ่มเกิดขึ้น

เขากู้เงินมาร์คเยอรมันจำนวนมหาศาล แล้วทุ่มมันลงไปในธุรกิจถ่านหิน เหล็กและบริษัทชิปปิ้ง

เขายังซื้อทองคำเก็บไว้ที่สวิทเซอร์แลนด์ และลงทุนในตลาดต่างประเทศ

เมื่อหลังจากเกิด hyperinflation ขึ้นแล้ว ..Stinnes สามารถชำระหนี้คืนได้ด้วยเงินมาร์คเยอรมันที่แทบไม่มีค่าเหลือแล้ว

แต่ทรัพย์สิน hard assets ที่เขาซื้อไว้ไม่ได้รับผลกระทบจาก hyperinflation ครั้งนี้เลย ยังคงมีค่าเท่าเดิม ธุรกิจและการลงทุนของเขาสร้างความร่ำรวยให้เขากลายเป็นหนึ่งในมหาเศรษฐีของโลก

ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในโลกการเงินหรือเศรษฐกิจของโลก ...มันก็มักจะมีทั้งผู้ชนะและผู้แพ้เสมอ


Cr.Sayan Rujiramora

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"