forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

“สงคราม อินเดีย-ปากีสถาน ระเบิดเวลาที่อังกฤษไข่ทิ้งไว้”

... "อดีต ช่วงแรก เขตปกครองโดยบริษัทอินเดียตะวันออก"... ตั้งแต่ปี คศ.1612 “บริษัทอินเดียตะวันออก” ได้ตั้งบริษัททำการค้าในหลายๆ แห่งบริเวณชายฝั่งทางตะวันออกของอินเดีย ซึ่ง “บริษัทอินเดียตะวันออก” นี้มี “กองเรือและกองทัพทหาร เป็นของตนเอง”

( นึกถึงวอลล์สตรีทและบริษัทน้ำมันใหญ่ในปัจจุบัน ) โดยได้รับการยินยอมจาก “เหล่ามหาราชา” ซึ่งเป็นเจ้าผู้ครองรัฐพื้นเมืองในอินเดีย อย่างไรก็ตาม อังกฤษไม่ใช่ชาติเดียวที่เข้ามาทำประโยชน์ในอินเดีย แต่ยังมีชาติอื่นอย่างฮอลแลนด์ และฝรั่งเศส ในช่วงกลางของคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมืองในปกครอง (Presidency towns) ของอังกฤษทั้งสิ้น 3 แห่งคือ มัทราส, บอมเบย์ และกัลกัตตา เริ่มเติบโตมากขึ้น

• ในปี คศ1757 แคว้นเบงกอลขัดแย้งกับบริษัทฯจนเกิดเป็นยุทธการที่ปลาศี อังกฤษได้รับชัยชนะและเริ่มยุคการปกครองของบริษัทในอินเดีย บริษัทประสบความสำเร็จในการมีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนส่วนมากในอนุทวีปอินเดีย ดินแดนเหล่านี้ถูกเรียกว่า เขตปกครอง (Presidency) “บริหารโดยบริษัท” ( เป็นเอกชนอังกฤษ ที่ครองอาณานิคม โดยมีรัฐบาลสนับสนุนช่วยเหลือ ) ภายใต้การกำกับของรัฐสภาอังกฤษ

• หลังจากเกิดเหตุกบฏซีปอยในปี คศ1857 รัฐสภาอังกฤษได้ตราพระราชบัญญัติรัฐบาลอินเดีย คศ 1858 อำนาจการปกครองในอินเดียถูกโอนจากบริษัทไป “ขึ้นตรงกับสมเด็จพระราชินีนาถ” ในการนี้ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียได้สถาปนาพระองค์เป็นจักรพรรดินีนาถแห่งอินเดีย ( รัฐบาลอังกฤษเข้ามาบริหารเองแทนเอกชน ) ซึ่งได้ทรงตั้งข้าหลวงต่างพระองค์ไปปกครองอินเดียโดยมีที่ทำการรัฐบาลอยู่ในกัลกัตตา เขตปกครองทั้งหมดถูกเปลี่ยนเป็น มณฑล รู้จักในชื่อ การปกครองโดยตรงในอินเดีย (Direct rule in India)

... "อดีต ช่วง 2 บริติชราช หรือ ราชาชาวอังกฤษ British Raj "

... เป็น “การปกครองโดยพระมหากษัตริย์ของสหราชอาณาจักร” ( ไม่ใช่เอกชน บริษัทอินเดียตะวันออกแล้ว ) หรือ พวกบริทิช ในอนุทวีปอินเดียระหว่างปี คศ1858 ถึง 1947 ประกอบด้วยการปกครองสองรูปแบบ คือ ดินแดนที่ปกครองโดยเจ้าพื้นเมือง กับดินแดนที่ปกครองโดยรัฐบาลกลางที่ถูกเรียกว่า บริติชอินเดีย แต่ไม่ว่าจะปกครองแบบไหน ดินแดนทั้งหมดล้วนอยู่ในบังคับของสหราชอาณาจักร

... "อดีต ช่วง 3 แยกประเทศ อินเดีย ปากีสถาน"

... กระแสเรียกร้องเอกราชของอินเดียจากอังกฤษมีมานานหลายครั้ง ชัดเจนมากตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมาภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อังกฤษย่อยยับจากสงคราม ดังนั้นในปี 1947 ก็ได้มีการแบ่งอินเดียแบ่งออกเป็นสองประเทศในเครือจักรภพคืออินเดีย (ประเทศอินเดียในปัจจุบัน) และปากีสถาน (ประเทศปากีสถานและประเทศบังกลาเทศในปัจจุบัน) ส่วนพม่านั้นได้แยกตัวออกจากรัฐบาลบริติชอินเดียในปี คศ 1937 และถูกปกครองโดยตรงจากรัฐบาลสหราชอาณาจักรตั้งแต่บัดนั้น

... ก่อนที่ “อังกฤษ” จะถอนตัวออกจากอินเดีย ซึ่งเป็นดินแดนที่เคยมองว่าเป็น “อัญมณีล้ำค่า” ในบรรดาชาติอาณานิคมของอังกฤษ ในสมัยนั้นอินเดียมีประชากรเกือบ 400 ล้านคน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู โดยมีประชากรที่นับถืออิสลามมีอยู่ราว 1 ใน 4 “อังกฤษตัดสินใจแบ่งดินแดนโดยใช้ ศาสนา”

... “นายชวาหะร์ลาล เนห์รู” ซึ่งต่อมาได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของ “อินเดีย” ไม่เห็นด้วยในการใช้ศาสนามาแบ่งประเทศ แต่ “นายมูฮัมหมัด อาลี จินนาห์” ซึ่งต่อมากลายเป็นข้าหลวงใหญ่คนแรกของ “ปากีสถาน” ยืนกรานว่า ชาวมุสลิมต้องมีชาติของตัวเอง

... ชาวอังกฤษที่อยู่วงในบอกว่า 'การแบ่งประเทศและเอกราชมาพร้อมกัน' และ 'อย่างหนึ่งเป็นต้นทุนของอีกอย่าง' ( ข่าวของบีบีซี )

... “ลอร์ด เมาท์แบตเทน” ซึ่งเกี่ยวข้องกับราชวงศ์อังกฤษ ได้รับมอบหมายให้ทำภารกิจนี้ โดยเขาคิดว่าต้องจัดการให้ลุล่วงอย่างเร็วที่สุด จึงจะเป็นผลดีที่สุด ดังนั้นเส้นแบ่งประเทศจึงถูกร่างขึ้นภายในเวลาเพียง 5 สัปดาห์ วันที่ทั้งสองฝ่ายได้รับเอกราชคือ วันที่ 14 และ 15 สิงหาคม 1947

... ในช่วงก่อนที่อินเดียและปากีสถานจะได้รับเอกราช เกิดการปะทะกันระหว่างชาวฮินดู และชาวมุสลิม แต่ไม่มีใครคาดว่าจะมีความวุ่นวายเกิดขึ้นในการแบ่งประเทศ มีผู้ลี้ภัยอย่างน้อย 12 ล้านคน อพยพจากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่ง ( ชาวฮินดูจะย้ายจากปากีสถานไปอินเดีย ส่วนชาวมุสลิมจะย้ายจากอินเดียไปปากีสถาน ) มีผู้เสียชีวิต 5 แสนถึง 1 ล้านคน และมีผู้หญิงหลายหมื่นคนถูกลักพาตัว ข่มขืนระหว่างทาง

... นับตั้งแต่แยกจากกัน ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดีย-ปากีสถานก็ยังไม่พัฒนาขึ้น นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายต่างอ้างกรรมสิทธิ์ใน “แคชเมียร์ “ ( หรือ กัศมีร์ ) โดยหลังได้เอกราชไม่กี่สัปดาห์ ทั้งสองประเทศก็เริ่มสู้รบกัน เพื่อแย่งชิงหุบเขาแคชเมียร์

.... “ปากีสถานและอินเดีย” ต่างฉลองเอกราช แต่สองวันหลังจากนั้น เมื่อมีการประกาศว่าเส้นพรมแดนอยู่ที่ไหน ทั้งสองฝ่ายต่างไม่พอใจ

... “นายมูฮัมหมัด อาลี จินนาห์” บอกว่า ดินแดนที่ปากีสถานได้มีลักษณะเหมือน "มอดแทะ" แบ่งเป็น 2 ปีก มีอินเดียขวางกั้นด้วยพรมแดน 2,000 กิโลเมตร

… “สงครามอินเดีย-ปากีสถาน คศ 1947หรือ สงครามกัศมีร์ครั้งที่หนึ่ง เป็นสงครามระหว่างประเทศอินเดียและประเทศปากีสถานเพื่อแย่งชิงรัฐชัมมูและกัศมีร์ ถือเป็นสงครามอินเดีย-ปากีสถานครั้งแรกจากสี่ครั้ง สงครามเริ่มขึ้นไม่กี่สัปดาห์ภายหลังรัฐสภาอังกฤษแบ่งบริติชราชออกเป็นสองรัฐเอกราช

... “รัฐชัมมูและกัศมีร์” (Jammu and Kashmir ) เป็นรัฐมหาราชาซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือ คั่นระหว่างอินเดีย-ปากีสถาน แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจเข้าร่วมกับประเทศใดระหว่างทั้งสอง “มหาราชาฮารี ซิงห์” ผู้นับถือฮินดู ได้เผชิญหน้ากับการลุกฮือของชาวมุสลิมในรัฐของพระองค์ ทำให้ทางการต้องสังหารหมู่ชาวมุสลิมในรัฐชัมมูจำนวนมาก พระองค์เริ่มสูญเสียการควบคุมในภาคตะวันตกของรัฐ จนกระทั่งในวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1947 กองกำลังชนเผ่ามุสลิม ก็ข้ามพรมแดนเข้ามาจากฝั่งปากีสถาน โดยอ้างว่าเข้ามาเพื่อหยุดยั้งการกบฏในภาคตะวันตกเฉียงใต้ กองกำลังนี้ได้หมายจะไปยังศรีนคร แต่ก็ถูกขัดขวางตั้งแต่เมื่อถึงเมืองอุรี ซึ่งเป็นเมืองชายแดนติดกับปากีสถาน ทำให้ มหาราชาฮารี ซิงห์ได้ร้องขอกำลังเสริมไปยังรัฐบาลอินเดีย อินเดียได้ส่งกำลังทหารมาช่วยเหลือ แลกกับการที่รัฐชัมมูและกัศมีร์จะเข้าเป็นหนึ่งในรัฐของอินเดียซึ่งเป็นประเทศที่นับถือฮินดูเหมือนกัน

... หลังสงครามดำเนินมากว่าหนึ่งปี สงครามครั้งนี้สิ้นสุดลงจากข้อตกลงหยุดยิง ปากีสถานสามารถยึดเอาดินแดนราว 1 ในสามของรัฐชัมมูและกัศมีร์

... ต่อมาในปี 1971 ปากีสถานตะวันออกแยกตัวเป็นเอกราช กลายเป็นประเทศบังกลาเทศ

... นับตั้งแต่แยกจากกัน สงครามแย่งชิงหุบเขาแคชเมียร์ ถือเป็นความขัดแย้งที่ยังหาทางออกไม่ได้มาจนถึงทุกวันนี้ และเป็นผลพวงจากความไม่ลงตัวในการแบ่งแยกประเทศ ที่ “อังกฤษ” ได้วางระเบิดเวลาเอาไว้นานหลายสิบปี

คลิก

คลิก

คลิก

คลิก

Cr.Jeerachart Jongsomchai

สนับสนุนข่าวโดย ICMarkets
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"