forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

"ยุทธศาตร์น้ำมันอเมริกาเปลี่ยนหนัก, เน้นส่งออก นำเข้าเหลือศูนย์ ในปี 2020 ได้เปรียบและป่วนจีน"

... แม้ "จีน" พยายามจะซื้อน้ำมันด้วยเงินหยวนของตน กับประเทศผู้ขาย แต่ก็ยังทำให้ความมั่นคงทางพลังงานดีขึ้นไม่มาก เพราะว่า ในปี 2020 นี้ ยุทธศาตร์น้ำมันของ "อเมริกา" กำลังเปลี่ยน โดยในปี 2019 จะเปลี่ยนเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลก

ส่วนใหญ่มากจาก "เชลออย" หรือการดูดน้ำมันจากชั้นหินดินดาน และตามมาด้วยแผนใน ปี 2020 จะลดการนำเข้าจากประเทศอื่นเหลือเป็นเกือบ 0 %

... ดังนั้นพวกเขาจึงต้องพยายามเข้าครอบครองแหล่งน้ำมันให้ได้ เพื่อจะควบคุมการกำหนดราคาน้ำมันโลกต่อไป ดังนั้นจึงต้องครอบครองบ่อน้ำมันทั่วโลก เช่นใน "เวเนซุเอล่า" เพราะว่าเวเนซุเอล่าเป็นประเทศหลักที่พวกเขานำเข้ามาประมาณ ร้อยละ 39 จึงต้องการยึดปล้นมาแบบฟรีๆ โดยการตั้ง “นายฮวน กว่ายโด่” เป็นรัฐบาลหุ่นเชิดของตนในเวเนซุเอล่า ขณะที่เชลออย นั้น ปี 2018 ที่ผ่านมามีข่าวเตรียมการก่อตั้งแท่นเจาะขุดมากมายแบบพุ่งทะลุมากกว่าเดิมมากนักในอเมริกา แปลว่าพร้อมเต็มที่ที่จะเป็นผู้ผลิตน้ำมันจริงๆ

... ถ้า “อเมริกา” และทั่วโลกยังยึดกับการซื้อขายน้ำมันด้วยเงินอเมริกันดอลล่าร์ จะทำให้ทั่วโลกเก็บเงินดอลล่าร์ไว้ในคลังสำรองของกองทุนำรองระหว่างประเทศมากต่อไป และจะมีผลต่อการจัดสรรการไหลเวียนของเงินดอลล่าร์และเงินทุนในการค้าโลก ตามที่อเมริกาต้องการ กระดุมเม็ดแรกจึงต้องทำให้ทั่วโลกใช้ดอลล่าร์ซื้อขายน้ำมัน และ ควบคุมราคมน้ำมันให้ได้ก่อน

... แม้จะมีการใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น เช่นรถไฟฟ้า แต่ สินค้าโภคภัณฑ์ที่มีการซื้อขายมากที่สุดในโลก ยังคือ “น้ำมัน” เหมือนเดิมที่จำนวนประมาณ $14 ล้านล้านดอลล่าร์ต่อปี โดยเฉลี่ย หรือเทียบเท่ากับ “รายได้จีดีพีของจีนในปี 2017”

... ดังนั้น ยุทธศาสตร์ด้านพลังงานน้ำมันของทั้ง “จีนและอเมริกา” จึงขัดแย้งกันอย่างชัดเจน

... ตามภาพประกอบ “จีน” ยังต้องขนส่งน้ำมันผ่านทางช่องแคบมะละกา ไปทะเลจีนใต้ ช่องแคบไต้หวัน และสุดท้ายไปพักที่โกดังน้ำมันในหลายๆเมืองทางตะวันออก เช่น ซานตง เหลียวหนิง เจ้อเจียง กว่างตุ้ง เป็นต้น ที่ตอนนี้โกดังตามแนวฝั่งทะเลจีนใต้ของจีนยังไม่เพียงพอ ( หลายปีก่อน ก็เจอระเบิดโกดังสินค้าที่เทียนจิน ) ดังนั้น “อเมริกา” รู้ว่าจีนยังต้องนำเข้าน้ำมันอีกหลายสิบปี ที่ต่างจากตน อเมริกาจึงกำลังได้เปรียบ ต้องการสร้างความปั่นป่วนใน “ทะเลจีนใต้” หรือ “เส้นทางขนส่งน้ำมันและสินค้าเข้าออกที่สำคัญของจีน” เป็นถนนเส้นหลักหน้าบ้านของจีน ต่อไปเรื่อยๆ

... นอกจากนั้น “จีน” ยังได้สร้างทางขนส่งสินค้าตามแนวคิด “เส้นทางสายไหมใหม่” ทางบกไม่ต้องง้อทางน้ำที่มาเฟียมาป่วน ที่เชื่อมจีนตอนใต้กับอาเซี่ยน เช่นเชื่อมรัฐยะไข่ของพม่าของอ่าวเบงกอลไปที่จีนตอนใต้ ที่กำลังถูกสกัดจากเรื่องโรฮีนจา และโครงการเชื่อมจีนตะวันตก กับปากีสถานและเมือง Gwadar ที่เชื่อมกับมหาสมุทรอินเดีย เพราะว่า พ่อค้าน้ำมันรายใหญ่ของ “จีน” คือ “รัสเซีย อังโกล่า และ ซาอุดิอาระเบีย” จะได้ส่งน้ำมันให้จีนไม่ต้องอ้อมช่องแคบมะละกา

... อีกยุทธศาสตร์ของ “จีน” ก็คือต้องการกำหนดราคาน้ำมันโลกของตัวเอง ที่ตลาดเซี่ยงไฮ้ โดยการสร้างตลาดน้ำมันดิบล่วงหน้า ที่ตอนนี้ปริมาณการซื้อมาเป็นตลาดอันดับสามของโลก รองจากตลาด เบรนท์ และ WTI แล้ว

… นับตั้งแต่ปี 2014 ที่”อเมริกา” พยายามสร้างความร้าวฉานเป็นอาชีพหลักให้ยุโรปแตกร้าวกันเอง คือยุโรปตะวันตกขัดแย้งกับ “รัสเซีย” กรณีไครเมีย ยูเครน ทำให้รัสเซียถูกสกัดการขายพลังงานและแก๊สมาให้ยุโรป เพราะอเมริกาต้องการขายให้แทน ในรูปแบบแก๊สเหลวขนส่งทางเรือหรือ แอลเอ็นจี ที่ตอนนี้นำร้องขายให้ “โปแลนด์” แล้ว เพราะต้องการหาตลาดรองรับให้กับตัวเอง ที่กำลังเป็นผู้ผลิตและส่งออกด้วย ยังไม่นับ “อิสราเอล” ที่กำลังจะเป็นผู้ส่งออกแก๊สไปยุโรปด้วยเช่นกัน จึงต้องสกัดรัสเซียให้พ้นทางไปก่อน แต่ผู้นำยุโรป เช่น เยอรมัน ฝรั่งเศส ก็ยังจะดื้อซื้อจาก “อิหร่าน” และ “รัสเซีย” ต่อไป เช่นกำลัง “สร้างเส้นทางแก๊สสายเหนือ2” ในยุโรปที่ทำให้ “อเมริกา” ไม่พอใจมาก จนต้องสั่งสอน จัดการประท้วงใหญ่เสื้อกั๊กสีส้มใน “ฝรั่งเศส” มาหลายเดือนแล้ว

... สรุปแผนยุทธศาตร์ของอเมริกาเรื่องน้ำมันคือ “เปลี่ยนเป็นผู้ผลิตส่งออกรายใหญ่ในปี 2019 และในปี 2020 ลดการนำเข้าน้ำมันให้เหลือเกือบศูนย์เปอร์เซนท์ ( ปล้นประเทศเวเนซุเอล่า เพื่อปล้นและควบคุมปริมาณน้ำมันและราคา คว่ำบาตรอิหร่านเพื่อจะทำให้ปริมาณน้ำมันน้อยลง ราคาก็สูงขึ้น ดอลล่าร์แข็งขึ้น ) ตามด้วยต้องควบคุมค่าเงินดอลล่าร์ของตนเอง ( จึงต้องหมั่นสร้างสงครามเพื่อปั่นราคาน้ำมันและปั่นค่าเงินดอลล่าร์ ) สร้างความขัดแย้งสงครามในทะเลจีนใต้ ช่องแคบมะละกา เพื่อสกัดการขนส่งน้ำมันและสินค้าผ่านเส้นทางหลักนี้ ไปจีน

.
... A pilot program for yuan payment could be launched as soon as the second half of the year and regulators have already asked some financial institutions to "prepare for pricing crude imports in the yuan", Reuters sources reveal.
According to the proposed plan, Beijing would start with purchases from Russia and Angola, two nations which, like China, are keen to break the dollar’s global dominance. They are also two of the top suppliers of crude oil to China, along with Saudi Arabia.

... Related: U.S. Petroleum Imports Could Fall To Zero In 2020
A change in the default crude oil transactional currency - which for decades has been the "Petrodollar", blessing the U.S. with global reserve currency status - would have monumental consequences for capital allocations and trade flows, not to mention geopolitics: as Reuters notes, a shift in just a small part of global oil trade into the yuan is potentially huge. "Oil is the world’s most traded commodity, with an annual trade value of around $14 trillion, roughly equivalent to China’s gross domestic product last year." Currently, virtually all global crude oil trading is in dollars, barring an estimated 1 per cent in other currencies. This is the basis of U.S. dominance in the world economy.
However, as shown in the chart below which follows the first few days of Chinese oil futures trading, this status quo may be changing fast.

Whether or not Goldman is right remains to be seen, however it is undeniable that a monumental change is afoot in global capital flows, where the U.S. - whether Beijing wants to or not - will soon be forced to defend its currency status as oil exporters (and investors in this highly financialized market) will now have a choice: go with U.S. hegemony, or start accepting Yuan in exchange for the world's most important commodity.
By Zerohedge

คลิก

Cr.Jeerachart Jongsomchai

สนับสนุนข่าวโดย ICMarkets
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"