forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

'วิรไท' เปิดอกคุย ไส้ในค่าเงินบาทแข็งเร็ว

ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน ค่าเงินบาท มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเร็ว จนเกิดการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่รับผิดชอบโดยตรง ล่าสุด "วิรไท สันติประภพ" ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเวทีชี้แจง

"เวลาพูดถึงอัตราแลกเปลี่ยน หรือ ค่าเงินบาท คนมักจะมองด้านเดียว คือ มองในส่วนของเงินบาท แต่เวลาพูดถึงอัตราแลกเปลี่ยนเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ต้องมองด้วยว่าเกิดอะไรขึ้นกับดอลลาร์ ถ้ามองย้อนกลับไปตั้งแต่ไตรมาส 4 จะเห็นว่าอเมริกามีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเยอะมาก ซึ่งมีผล ต่อค่าเงิน"

"วิรไท" บอกว่า ตั้งแต่เดือน ธ.ค.ถึงปัจจุบัน มีความไม่แน่นอนต่าง ๆ ทั้งจากสภาวะเศรษฐกิจโลก การเมืองตลอดจนทิศทางนโยบายเศรษฐกิจสำคัญ ๆ ของอเมริกา ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากเดิมที่จะขึ้นแบบถี่ ๆ นอกจากนี้ สงครามการค้าสหรัฐกับจีนก็ยังไม่คืบหน้าชัดเจน

"เวลาที่ความมั่นใจในสกุลเงินดอลลาร์ลดลง ค่าเงินดอลลาร์ก็อ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับหลายสกุล โดยเฉพาะสกุลเงินของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (EM) ส่วนค่าเงินบาท ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เราอยู่กลาง ๆ เมื่อเทียบกับค่าเงินกลุ่ม EM โดยมีเงินหลายสกุลของ EM ที่แข็งค่าเร็วกว่าค่าเงินบาท อาทิ รูเบิลของรัสเซีย เงินของประเทศในแถบอเมริกาใต้ ส่วนภูมิภาคเอเชีย สกุลเงิน รูเปียห์ของอินโดนีเซีย กับค่าเงินบาทก็เคลื่อนไหวในระดับที่ใกล้เคียงกัน"

"วิรไท" อธิบายว่า ประเทศไทยถือว่ามีฐานะด้านต่างประเทศค่อนข้างดี เพราะมีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลค่อนข้างมาก ด้านหนี้ต่างประเทศค่อนข้างต่ำ และมีนักลงทุนต่างชาติสนใจมาลงทุนโดยตรง (FDI) กันมากขึ้น พร้อมปฏิเสธเรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเมื่อช่วงกลางเดือน ธ.ค. 2561 ทำให้มีเงิน ไหลมาพักในประเทศไทยมากส่งผลค่าเงินบาทแข็งขึ้นเร็ว โดยข้อเท็จจริงในช่วง 1 เดือนเศษที่ผ่านมาต่างจากปีก่อน ๆ ที่ในช่วงต้นปีมักจะมีเงินทุนเคลื่อนย้ายเข้ามาลงทุน (พอร์ตโฟลิโออินโฟลว์) ค่อนข้างมาก แต่ช่วงนี้เป็น "real money" จริง ๆ ที่เข้ามาลงทุนตรง การท่องเที่ยว และการขายสินค้า

"ปีนี้สถานการณ์ตรงกันข้าม เพราะถ้าดูตลาดพันธบัตรตั้งแต่สิ้นปี 2561 ถึงปัจจุบัน มีนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิประมาณ 400 ล้านเหรียญสหรัฐ (USD) โดยเฉพาะพันธบัตรระยะสั้นที่เมื่อก่อน อาจจะเป็นช่องทางนำเงินมาพัก ก็มีการขาย สุทธิถึง 860 ล้าน USD หรือกว่า 2.7 หมื่นล้านบาท ส่วนหุ้นเมื่อมีความชัดเจนทางการเมืองมากขึ้น ต่างชาติก็เข้ามาซื้อประมาณ 100 ล้าน USD ตั้งแต่ต้นปีมา ฉะนั้น สุทธิแล้วพอร์ตโฟลิโออินโฟลว์ก็ยังติดลบอยู่ประมาณ 300 ล้าน USD"

ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แม้จะปรับขึ้นมาอยู่ที่ 1.75% ต่อปี ก็ถือว่ายังต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐที่อยู่ 2.50% และยิ่ง "ต่ำกว่า" ประเทศเพื่อนบ้านค่อนข้างมาก อาทิ อินโดนีเซียที่อยู่ 6% ฟิลิปปินส์อยู่ที่ 6% เวียดนามอยู่ที่ 6.25% มาเลเซียอยู่ประมาณ 3.25%

"คำถามที่ว่าอะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าเร็ว ตั้งแต่ช่วงเดือน ม.ค.ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน อันแรกก็เป็นเรื่องการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ที่เรายังเกินดุลค่อนข้างสูง ปีที่แล้วทั้งปีน่าจะจบประมาณ 3.7 หมื่นล้าน USD ลดลงจากปี 2560 แต่ก็ยังอยู่ระดับสูงมาก"

ผู้ว่าการ ธปท.ยอมรับว่า "กังวล" เวลาที่ เห็นการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินก็ได้ดูว่า "เก็งกำไร" มี "ธุรกรรมที่ผิดปกติ" หรือ "ความเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ" หรือไม่ หากพบว่าเคลื่อนไหวผิดปกติ ก็จะ "เข้าไปดูแลเหมือนที่ผ่าน ๆ มา"

"ในภาวะที่อยู่ในบรรยากาศสงครามการค้า เราก็ต้องระมัดระวังไม่ให้ประเทศอื่นมาหาว่าเราเป็นประเทศที่บิดเบือน ค่าเงิน เพื่อผลประโยชน์ทางด้านการค้า ซึ่งจะนำมาซึ่งมาตรการกีดกันทางการค้าด้านอื่น ๆ ได้ก็เป็นประเด็นอ่อนไหว"

"วิรไท" ชี้ว่า ค่าเงินบาทของไทยผันผวนต่ำกว่าสกุลเงินอื่น ๆ ของหลายประเทศ ทั้งระดับภูมิภาคและ EM ซึ่งต้องมาช่วยกันตั้งคำถามและคิดด้วยว่า "ทำไมประเทศอื่นจึงสามารถรองรับหรือทนทานความผันผวนของอัตรา แลกเปลี่ยนได้ดีกว่าธุรกิจในประเทศไทย หรือระบบเศรษฐกิจไทยโดยรวม ซึ่งเป็นโจทย์ที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน"

โดยในระดับมหภาคจะต้องมีการ ผลักดันการลงทุนให้มีมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่เงินบาทแข็งค่าก็เป็นโอกาสดีในการนำเข้าสินค้าทุนเพื่อยกระดับการผลิต ขณะที่ภาคธุรกิจจะต้องลดการแข่งขันทางด้านราคา มาให้ความสำคัญกับการแข่งขันด้านคุณภาพของสินค้ามากขึ้น และต้องให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้น ซึ่ง ธปท.ก็มีการดำเนินการทั้งการมีความร่วมมือกับธนาคารกลางของหลายประเทศส่งเสริมให้ใช้สกุลเงินท้องถิ่น

นอกจากนี้ ธปท.ยังพยายามทำให้ตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (forward) มีความโปร่งใส และเกิดการแข่งขันกันมากขึ้น ซึ่งมีโครงการ Fx Option ระยะที่ 2 ที่กำลังดำเนินการ

"การบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนต้องทำต่อเนื่อง ซึ่งจากข้อมูลของเรา ผู้นำเข้าค่อนข้างมีวินัย ส่วนผู้ส่งออกจะแห่กันมาทำช่วงที่ ค่าเงินบาทแข็ง ทำให้ยิ่งกดดัน ค่าเงินบาทให้เคลื่อนไหวเร็วขึ้นไปอีก"

Source: ประชาชาติธุรกิจ

ภาพ ธปท.

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

สนับสนุนข่าวโดย ICMarkets
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"