forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

 “เวลล์ฟาร์โก้ จุดเริ่มต้นของวิกฤติการเงินรอบใหม่ของอเมริกาและของโลก ?”

... “เวลล์ฟาร์โก้” ธนาคารขนาดใหญ่อันดับ 4ของ “อเมริกา” คิดตามสินทรัพย์ทั้งหมด รองจาก เจพีมอร์แกน แบ็งออฟอเมริกา ซิตี้กรุ้ป และเป็นบริษัทอันดับ 2 ของโลกที่มี “มูลค่าตามราคาตลาด” หรือ market capitalization 

(Market Capitalization คือ มูลค่าตามราคาตลาด ไม่ว่าจะเป็นมูลค่ารวมของหุ้นรายตัว มูลค่ารวมรายอุตสาหกรรม หรือมูลค่ารวมของทั้งตลาด (เช่น Market Cap ของ SET) ความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้นบ่อยสำหรับนักลงทุนมือใหม่ก็คือ ราคาหุ้นที่สูงกว่าย่อมหมายถึงบริษัทมีมูลค่ามากกว่า ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะจำนวนหุ้นที่อยู่ในตลาดมีความสัมพันธ์กับราคาต่อหุ้นของบริษัทนั้น ๆ ( พวกเขา เป็นธนาคารอันดับ 4 ของอเมริกา ในปี 2016 , ก่อนนั้น ในปี 2015 เคยขึ้นเป็นอันดับหนึ่งมาแล้ว ) อาจจะเดินตามรอบวิกฤติการเงินแฮมเบอร์เกอร์ในปี 2007 อีกครั้ง โดยอาจจะทำหน้าที่แบบครั้งนั้น ที่เริ่มจากการสร้างนวัตกรรมทางการเงิน CDO, CDS ที่เอาสินเชื่อทางการเงินผูกกับอสังหาริมทรัพย์ จนเมื่อฟองสบู่อสังหาแตกก็ลามไปสู่ภาคการเงิน

... ตอนนี้หุ้นของ “เวลล์ฟาร์โก้” ที่มีธนาคารสาขา มากถึง 8,050 แห่ง และมีตู้ 13,000 แห่ง มีสาขาใน 35 ประเทศ และเกี่ยวข้องกับลูกค้าจำนวน 70 ล้านราย นั้นร่วงลงมาอย่างต่อเนื่องในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2019 ร่วงลงมาร้อยละ 2.3 , ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของอเมริกานั้น ตอนนี้ก็อิ่มจะใกล้จะแตกแล้ว ทำให้เงินหมุนเวียนไม่พอ ตอนนี้มีข่าวแปลกๆออกมาบ่อยๆ เช่นเงินในบัญชีธนาคารของลูกค้าหายไปหลายวัน ต้องตามสอบถามจึงจะได้คืนมา ที่ก็ยิ่งทำให้ชื่อเสียงของธนาคารเสียหายมากขึ้นอีก เพราะในอดีตก็เคยโดนคดีที่เอาชื่อบัญชีลูกค้าไปทำธุรกรรมแบบไม่บอกกล่าว หรือแม้แต่ “สร้างบัญชีธนาคารปลอม 2 ล้านบัญชีในชื่อของลูกค้าเดิม” ( ทำให้เงินในธนาคารดูมากขึ้นกว่าความเป็นจริง ) เพื่อเหตุผลอะไรบางอย่าง จนถูกปรับมาอย่างหนัก


... เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2018 ธนาคารกลางอเมริกาได้ห้ามไม่ให้ Wells Fargo สร้างการเติบโตจากฐานสินทรัพย์ที่มีอยู่ตอนนี้มูลค่าเกือบ 2 ล้านล้านดอลลาร์ใด ๆ อีกต่อไป ตามการประพฤติตนในหลายกรณีที่อื้อฉาวเป็นเวลาหลายปีจนกระทั่ง Wells Fargo แก้ไขปัญหาภายในเพื่อความพึงพอใจของ Federal Reserve และในเดือนเมษายนปี 2018 หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัลรายงานว่ากระทรวงแรงงานอเมริกาได้เปิดการสอบสวนธนาคารแห่งนี้ด้วยว่าเวลส์ฟาร์โกได้บังคับลูกค้าเข้าสู่ แผนการเงินการเกษียณอายุที่มีราคาแพงกว่าทั่วไปเช่นเดียวกับกองทุนเกษียณอายุที่จัดการโดยเวลส์ฟาร์โกเอง ( ร้อนเงิน )

... ต่อมาในเดือนพฤษภาคมปี 2018 The Wall Street Journal รายงานว่ากลุ่มธุรกิจธนาคารของ Wells Fargo มี “การเปลี่ยนแปลงเอกสารที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับลูกค้าในปี 2017 และต้นปี 2018 ด้วย”, ในเดือนมกราคม 2019 ในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการ "แก้ไขภาพลักษณ์ธนาคาร" ในวงกว้างเพื่อเน้นการเปลี่ยนแปลงและสร้างความเชื่อมั่นของ Wells Fargo

... ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2019 ที่ผ่านมาระบบ “ธนาคารออนไลน์ของ
เวลล์ฟาร์โกรวมทั้งเอทีเอ็ม” ก็หยุดทำงานโดยมีการอธิบายแก้ตัวว่าเพราะไฟฟ้าดับเลยทำให้ระบบหยุดทำงาน มีการออกมาขอโทษขอโผยกันใหญ่และบริษัทจะทำให้ลูกค้าเข้าถึงบัญชีของตัวเองได้เหมือนเดิม

... นอกจากนั้นยังมีการยึดสินทรัพย์ ของผู้กู้ยืมจากธนาคารเร็วเกินจำเป็น ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารถูกกล่าวหาว่าโกหกเกี่ยวกับกิจกรรมการปล่อยสินเชื่อในช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจที่อยู่อาศัยหรือหลายประเด็นอื่น ๆ

... แต่ว่าข่าวการเงินของสื่อกระแสหลักพยายามจะไม่เล่นหรือช่วยกันปิดข่าวนี้ เพราะเกรงว่าจะเกิดการแก้ปัญหาแบบ “Bail in” หรือ การเอาเงินจากผู้ฝากไปแก้ไขปัญหาเงินช็อตของตัวเอง จึงทำให้ประชาชนเริ่มจะถอนเงินออกจากธนาคาร “เวลล์ฟาโก้” กันบ้าง แต่ยังไม่แตกตื่น เพราะถ้าเกิดวิกฤติขึ้นมาจริงๆ ธนาคารยึด ล็อคเงินเอาไว้ พวกเขาอาจจะไม่ได้เงินคืน หรือถอนได้น้อยกว่าที่อยากได้

... และถ้าเกิดวิกฤติขึ้นมา อาจจะทำให้ประเทศอื่นทั้งใน “แคนาดา ยุโรป และของโลก” ก็อาจจะกระทบไปด้วยเช่นกัน

Cr.Jeerachart Jongsomchai

สนับสนุนข่าวโดย ICMarkets
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"