forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

“ปล้นเวเนซุเอล่า คว่ำบาตรอิหร่าน = อเมริกาดันราคาน้ำมัน, เป็นผู้ส่งออกเอง”

จากปี 2014 ที่ “อเมริกา” บีบ “ซาอุดิอาระเบีย” ให้คงจำนวนการผลิตสูงไว้ทำให้น้ำมันล้นตลาด ราคาน้ำมันตกต่ำ ทำให้ “เวเนซุเอล่า” กับ “รัสเซีย” และอีกหลายประเทศได้รับผลกระทบอย่างหนักจนนำไปสู่การล่มสลายของการเงิน

รายได้ของเวเนซุเอล่าที่มาจากน้ำมันเป็นหลักลดขายไป และเงินรูเบิ้ลของรัสเซีย ตก รวมทั้งทำให้ อิหร่าน ไนจีเรียเดือดร้อนกับรายได้ที่ลดลง จากนั้นราคาน้ำมันโลกก็ขึ้นๆลงๆเหมือนนั่งอยู่บนโรลเลอร์โคสเตอร์ โดยช่วงต้นปี 2015 นั้นราคาตกต่ำลงที่ $36.05 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล

... ตลาดน้ำมันดิบที่ Brent Crude นั้นในครึ่งปีแรกของปี 2018 ได้มีการซื้อสูงขึ้นมากกว่า 20% ทำให้ราคน้ำมันดีดขึ้นมาสูงสุดในรอบ 4 ปี ที่ราคา $86.07 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลในต้นเดือนตุลาคม 2018 แต่หลังจากนั้นราคาก็ดิ่งลงอีก เพราะความกังวลเรื่องเศรษฐกิจโลกตกต่ำ กลัวว่าน้ำมันจะล้นตลาดอีก ทำให้ราคาตกมาที่ $ 54 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล อีกครั้งในเดือนธันวาคมสิ้นปี 2018 ( ทั้งเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดก่อนนั้น ที่จะทำให้เงินไหลเวียนน้อย และ สงครามการค้าระหว่างจีนกับอเมริกา )

... “รัสเซีย” กับ “โอเปก” ตกลงกันประกาศว่าจะลดจำนวนการผลิตลงเพื่อจะดันราคาสูงขึ้นอีกครั้งในปี 2019 นี้

... จนมาถึง “วิกฤติการปล้นเวเนซุเอล่า” ของ “อเมริกา” ในต้นปี 2019 นี้ ก็ยิ่งทำให้ “ราคาน้ำมันโลก” ผันผวนอีกครั้ง โดยปี 2018 ที่ผ่านมา อเมริกา เป็นผู้ซื้อน้ำมันจาก เวเนซุเอล่า รายใหญ่ ที่ ร้อยละ 39 จากการส่งออกทั้งหมดของเวเนซุเอล่า ทำให้หลายบริษัทจากอเมริกาที่เคยซื้อจากเวเนซุเอล่า ต้องหันไปซื้อเจ้าอื่นแทน ซึ่งก็จะเป็นผู้ผลิตภายในประเทศอย่างเชลออยของอเมริกาเอง โดยปริมาณการซื้อจากเวเนซุเอล่าลดลงฮวบฮาบประมาณ 3 – 5 แสนบาร์เรลต่อวัน ทำให้เวเนซุเอล่าขายไม่ได้ ไม่มีเงินเข้าประเทศทันทีแบบฉุกละหุก เป็นคนจนแบบพริบตา ( ไม่ได้ประชานิยมสุดโต่งแบบสื่ออเมริกาโจมตี แต่จนเพราะถูกแกล้ง )

... และเมื่อปริมาณน้ำมันหายไปจากตลาดโลกทั้ง “อิหร่าน” ก่อนหน้านี้ตามด้วย “เวเนซุเอล่า” ทำให้ราคาน้ำมันโลกสูงขึ้นทันทีที่ระดับ ที่ $61.70 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล

... ตลาดน้ำมันดิบเบรนท์ ลดลงเล็กน้อยที่อยู่ที่ 60.55 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในช่วงเที่ยงของวันจันทร์ปลายเดือน มกราคม 2019สะท้อนความวิตกกังวลเกี่ยวกับอุปทานใหม่หลังจากข้อมูลเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันของ “อเมริกา” เพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 10 ติดต่อกัน

... Baker Hughes บริษัท ผู้ให้บริการด้านแหล่งน้ำมันรายงานเมื่อวันศุกร์ที่ 25 มการคม 2019 ว่าจำนวนแท่นขุดเจาะของ “อเมริกา” ที่ใช้งานได้เพิ่มขึ้นกระฉูดจาก 10 แท่น เป็นมากถึง 862 แท่นเจาะ ในเพียงสัปดาห์เดียว โดยข่าวแท่นเจาะที่เพิ่มขึ้นนั้น ตามหลังแค่หนึ่งวันจากข่าวสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของอเมริกา ที่รายงานว่า “อุปทานน้ำมันดิบในประเทศอเมริกา” พุ่งขึ้น 8 ล้านบาร์เรลสู่ระดับสูงสุดในรอบสองเดือน

… ( เหมือนการบีบบริษัทเอกชน โรงงานของอเมริกาต้องเลิกซื้อจากเวเนซุเอล่า ไปซื้อน้ำมันจาก "บริษัทน้ำมันเชลออย" ของอเมริกาเอง โดยการสร้างวิกฤติในเวเนซุเอล่าและการคว่ำบาตร ปล้นเวเนซุเอล่าขึ้น )

... ขณะที่ผลกระทบทั่วโลก ประเทศใหญ่ที่นำเข้าน้ำมันอย่างเช่น "อินเดีย จีน" เดือดร้อนหนักเพราะต้องซื้อน้ำมันแพงขึ้น ขณะที่ “ซาอุดิอาระเบีย” ที่เพิ่งซื้ออาวุธล็อตใหญ่จากอเมริกาจะได้ประโยชน์อย่างมาก เพราะกำลังถังแตกจากวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศและสงครามเยเมน ที่ลงทุนไปมาก และจะดีมากขึ้นเพราะว่าซาอุดิอาระเบียกำลังจะสร้างระบบขนส่งทางรางขนาดใหญ่ภายในประเทศ ที่ต้องใช้เงินมากมหาศาล

... “อเมริกา” วางแผนตั้งแต่ปีที่แล้ว 2018 ว่าปี 2019 นี้พวกเขาจะเปลี่ยนตัวเองเป็น “ผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก” จากที่มีเชลออยหรือน้ำมันดิบในชั้นหินดินดานมากที่สุดในโลก เพื่อจะแข่งกับ “รัสเซีย” ตะวันออกกลาง อิหร่าน จึงต้องพยายามสร้างกลไกควบคุมราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ให้อยู่ใต้อุ้งเท้าของพวกเขาอยู่ได้ ไม่ต่ำเกินไป ล่าสุดเขาขายให้โปแลนด์ได้แล้ว

... มีการพยากรณ์ว่า “ราคาน้ำมันดิบโลก” ในปี 2019 นี้ อาจจะสูงขึ้นมากแตะที่ 72 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล ที่จะทำให้ค่าเงินดอลล่าร์สูงขึ้นตาม ยังไม่ตก ราคาทองคำยังไม่ขึ้นแบบอิสระ หลายประเทศไม่กล้าขายทิ้งเงินดอลล่าร์จากกองทุนเงินตราระหว่างประเทศของตัวเอง และยังจะทำให้ “บทบาทของเงินดอลล่าร์ในการค้าโลกยังจะคงอยู่อีกต่อไป”
( นอกจากว่าจะเกิดวิกฤติหนี้สินของอเมริกาเอง จะระเบิดเสียก่อน )

.
.
... Brent Crude, the major benchmark price for oil purchases worldwide, increased by more than 20% in the first half of 2018, before hitting a four-year high of $86.07 a barrel in early October.

... RBC Capital Markets predicted that US sanctions could nearly double projected output shortfalls from Venezuela to between 300,000 and 500,000 barrels a day.

This caused crude prices to hit $61.70 over the past week “but concerns over surging US fuel stocks and global economic woes weighed on

sentiment”, says CNBC. Meanwhile, “the ongoing US-China trade dispute and broader gloom over world economic growth put a check on prices”, it said.

… “With its booming manufacturing industries, supplemented by services and technology industries, the Indian economy swelled on the back of cheap oil prices with Brent posting sub-$30 per barrel levels at one point during the recent oil price slump of 2015-16,” he writes, “but that was then for a country reliant on imports for 82% of its crude oil needs.”

Fitch-owned research outfit India Ratings opined that the Indian economy has the resilience to withstand and absorb the oil price shocks for a few months, but if oil prices remain high beyond two to three months, it will “adversely impact all the major macroeconomic variables such as current account, currency, inflation, interest rate, fiscal deficit, GDP growth and conduct of monetary policy”.

… Barclays last week cut its 2019 average Brent forecast to $70 a barrel, from $72 previously, saying record US production would likely offset any short-term disruptions to Venezuelan supply due to possible sanctions.

คลิก

คลิก

Cr.Jeerachart Jongsomchai

สนับสนุนข่าวโดย ICMarkets
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"