forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

สงครามค่าเงินและสงครามการค้าจะนำไปสู่สงครามการใช้อาวุธได้ ทั้งจากที่เคยเกิดขึ้นในอดีตและจากการวิเคราะห์

สงครามค่าเงินไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นตลอดเวลา มันเกิดขึ้นจากเงื่อนไขที่ว่ามีหนี้มากเกินไปในขณะที่แทบจะไม่มีการเติบโตเลย สงครามค่าเงินอาจเกิดจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงของระบบหรือไม่ก็ระบบล่มไปเลย

ในสถานการณ์นั้น แต่ละประเทศต่างก็จะชิงความได้เปรียบโดยการลดค่าเงินของตนเพื่อโปรโมทการส่งออก..และสร้างงานด้านการส่งออก

ปัญหาของสงครามค่าเงินมันเป็นเรื่องของ zero-sum game แท้ๆหรือไม่ก็ negative-sum game ไปเลย ..การลดค่าเงินมันก็แค่เรื่องชั่วคราว เพราะคู่ค้าก็ลดค่าเงินของตนเป็นเหมือนกัน..เพื่อมาชิงความได้เปรียบกัน

มันเป็นการโต้กันไปมา ที่ไม่มีฝ่ายไหนจะเป็นฝ่ายได้เลย ...พอผ่านขั้นตอนนี้ไปสักสองสามปี ความอ่อนแอทางการเงินก็จะเห็นได้ชัด ก็จะเริ่มเปลี่ยนไปเป็นสงคราม trade war ..มีการออกมาตรการทางภาษี หรือการ subsidize ผู้ผลิตในประเทศ หรือไม่ก็มีมาตรการกีดกันบางสินค้ากันไปเลย

ปฏิบัติการก็คล้ายๆกับ currency war นั่นแหละ ...ทีเอ็งบ้าง..ทีข้าบ้าง ....มันก็อาจได้เปรียบกันบ้างในช่วงเวลาสั้นๆ แต่ระยะยาวก็แย่ลงทั้งคู่ ..และเงื่อนไขเดิมๆตั้งแต่ต้น คือหนี้และการไม่เติบโตเลย..ก็ยังไม่ไปไหน

ถึงที่สุด...เมื่อความตึงเครียดเกิดขึ้น การแบ่งฝ่ายก็จะตามมา ...แล้วก็จะเริ่มการใช้อาวุธ ทีนี้ก็ไม่ต้องมากังวลว่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจจะเป็นยังไง ไม่ต้องมานั่งหาเหตุผลอะไรกันอีกแล้ว

เมื่อตอนเริ่มศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมา ..สงครามค่าเงินมันเริ่มตอนที่ สาณารณรัฐ Weima Germany เกิดเงินเฟ้อรุนแรง hyperinflation (1921-23) แล้วมันไปทำให้หลายประเทศต้องลดค่าเงิน ..ฝรั่งเศส (1925) ..อังกฤษ (1931) ..สหรัฐ (1933) ..และฝรั่งเศส/อังกฤษอีกครั้ง (1936) ..(ประเทศไทยก็เกิดปัญหาเศรษฐกิจจนต้องปรับออกข้าราชการครั้งใหญ่ช่วงนั้นก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง..ผู้แปล)

ขณะเดียวกัน สงครามการค้าทั่วโลกเกิดขึ้นหลังจากกฏหมายภาษี Smoot-Hawley เมื่อปี 1930 ..ในขณะที่มีกฏหมายแบบเดียวกันจากกลุ่มประเทศคู่ค้าของสหรัฐ เต็มไปหมด

ในที่สุด ญี่ปุ่นก็เริ่มรุกรานแมนจูเรีย (1931) และปักกิ่ง (1937) ...เยอรมันก็รุกเข้าโปแลนด์ (1939) ตามมาด้วยการโจมตีเพิร์ลฮาเบอร์ (1941)

สงครามเกิดไปทั่วจนลามไปเป็นระดับโลก ...ระบบการเงินของโลกพังทลายสิ้นเชิง...จนกระทั่งเกิดการประชุม Bretton Woods เมื่อปี 1944

แพทเทอร์นนี้กำลังจะกลับมาเกิดขึ้นอีกครั้งหรือเปล่า

ดูเหมือนคำตอบจะเป็น yes ...สงครามค่าเงินเกิดเมื่อ 2010 จากการที่รัฐบาลโอบาม่าพยายามดันให้เศรษฐกิจสหรัฐโต โดยทำให้ค่าดอลล่าร์อ่อน พอถึงเดือนสิงหาคม 2011 ยูเอสดอลล่าร์มาถึงจุด all-time low ในดัชนี broad real index ของ Fed

ประเทศอื่นๆก็เลยเอาบ้าง มาถึงยุค ยูโรอ่อน ..เยนอ่อน หลังปี 2012

สงครามค่าเงินก็เลยถึงทางตัน

ตอนนี้จึงถึงเวลาของ trade war ...และก็คงจะเริ่มยกสองหลังจากสัญญาสงบศึกชั่วคราวระหว่างสหรัฐกับจีน expire ในวันที่ 1 มีนาคมนี้ ..ถ้ายังเจรจากันไม่รู้เรื่อง นโยบายภาษีชุดใหม่ก็คงออกมาใช้ให้ได้เห็นกัน

คำถามใหญ่ก็คือ หลังจากนั้นจะมีการออกอาวุธกันหรือเปล่าเนี่ย

จุดที่อันตรายที่สุดของโลกในปัจจุบันที่อาจเป็นจุดแรกของสงครามน่าจะเป็นบริเวณทะเลจีนใต้

มีความเป็นไปได้มากของการเผชิญหน้ากันระหว่างสหรัฐและจีนในทะเลจีนใต้ ..มี 6 ประเทศในทะเลจีนใต้ที่เคลมพื้นที่ในแถบนั้นตามกฏหมายสากล และสหรัฐถือว่าตนเองมีส่วนได้ส่วนเสียในฐานะเป็นหุ้นส่วนตามสนธิสัญญากับหนึ่งในประเทศเหล่านั้น..(ฟิลิปปินส์)

แต่จีนเคลมพื้นที่ในทะเลทั้งหมด (ยกเว้นเขตทะเลนอกชายฝั่งของแต่ละประเทศในย่านนั้น) จีนอ้างว่าเป็นผู้ควบคุมทะเลแถบนี้มาตั้งแต่ยุคจักรวรรดิ์จีนโบราณ และโต้ว่าฝ่ายตะวันตกและพันธมิตรในเอเซียใต้เข้ามารุกรานยึดครองไปจากจีน

จีนเข้าไปสร้างเกาะเทียมโดยพละการในบริเวณที่เป็นแก่งหินโดยการขุดทรายขึ้นมาถมเป็นบริเวณกว้าง เกาะเทียมนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เป็นฐานทัพอากาศ มีสนามบินและสิ่งปลูกสร้างทางทหาร และติดตั้งจรวดต่อสู้อากาศยาน

การอ้างสิทธิ์ของจีนทำให้เกิดการขัดแย้งที่ซีเรียส สหรัฐและอีกหลายประเทศที่เกี่ยวข้องต่างปฏิเสธการเคลมของจีน และยืนยันสิทธิ์ในการเดินเรืออย่างอิสระ รวมไปถึงการเป็นเจ้าของร่วมกันในทรัพยากรบริเวณนั้นเช่นน้ำมัน แก้ส ทรัพยากรใต้ทะเลและการประมง

สหรัฐและพันธมิตร รวมถึงญี่ปุ่นและอังกฤษ ส่งเรือเข้าในเขตน่านน้ำที่จีนเคลมไว้ เพื่อเป็นการอ้างสถานะสิทธิ์ในการใช้น่านน้ำสากลบริเวณนี้

แต่ทะเลจีนใต้ไม่ใช่แค่แห่งเดียวที่มีความเสี่ยงต่อความขัดแย้ง

อีกแห่งที่มีความเสี่ยงมากกว่าคือช่องแคบไต้หวัน ที่เป็นบริเวณที่แบ่งแยกเกาะฟอร์โมซากับจีนแผ่นดินใหญ่ (ต้นฉบับยังคงเรียกว่าจีนแดง) ....จีนอ้างว่าไต้หวันเป็นเพียงจังหวัดหนึ่งของจีนที่อยู่แยกออกไป และเป็นส่วนหนึ่งของจีน แต่รัฐบาลไต้หวันกลับอ้างว่า ตนเองเป็นรัฐบาลของจีนทั้งประเทศ

เมื่อเร็วๆนี้ เรือรบสหรัฐสองลำแล่นผ่านช่องแคบแห่งนี้เพื่อยืนยันในสิทธิ์ในการใช้เส้นทาง และเพื่อแสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนไต้หวัน

จีนถือว่าการผ่านเข้าน่านน้ำดังกล่าวของเรือรบสหรัฐถือเป็นการยั่วยุและขู่ที่จะใช้กำลัง ..สำหรับจีนแล้ว กรณีของทะเลจีนใต้ถือว่าเป็นปัญหาอย่างหนึ่ง แต่กรณีช่องแคบไต้หวันเป็นอีกเรื่องหนึ่งไปเลย

สถานการณ์ทั้งหมดตอนนี้ เหมือนถังดินระเบิดที่รอแค่ไม้ขีดก้านเดียว ความเสี่ยงมันไม่ใช่แค่การจงใจให้เกิดการสู้รบกัน แต่ที่น่าห่วงกว่าคืออุบัติเหตุ ซึ่งอะไรก็เกิดขึ้นได้กลางทะเล โดยเฉพาะเมื่อเรือของสองชาติที่แล่นผ่านกันแบบต่างก็พรางตัว หรือการสื่อสารที่ผิดพลาดก็อาจเป็นชนวนได้

ทรัมพ์เองก็ไม่ใช่คนที่จะยอมถอยง่ายๆ เมื่อพูดถึงผบประโยชน์ของชาติในเวทีโลก ส่วนจีนก็จะไม่แสดงความอ่อนแอต่อหน้าพวกอเมริกัน

ในช่วงที่สภาพเศรษฐกิจไม่ปกติอย่างนี้ ผู้นำของพรรคคอมมูนิสต์จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากประชาชนมากที่สุด ....จีนยังไม่ต้องการสงครามเวลานี้ แต่การเบี่ยงเบนความสนใจในปัญหาภายในประเทศออกไปยังศัตรูนอกประเทศเป็นเรื่องที่ผู้นำไหนๆก็ทำกัน ...การแสดงความแข็งแกร่งต่อหน้าเสาธงเป็นสิ่งที่ gamer เล่นกันมาทุกยุค

ถ้าผู้นำจีนตัดสินใจว่า ความเสี่ยงที่จะสูญเสียความมีเสถียรภาพในประเทศมันสำคัญกว่าความเสี่ยงในการขัดแย้งกับสหรัฐล่ะก็ ..สงครามก็อาจจะต้องมาแน่

นี่ไม่ใช่การทำนาย แต่มูลเหตุมันค่อนมาไกลแล้ว สงครามค่าเงิน..สงครามการค้า..เหลืออีกสงครามเดียวแล้ว ....เราผ่านมาสองในสามแล้วละ

ก็เหมือนกับที่ Mick Jagger แห่งวง Rolling Stones ร้องไว้ในเพลง Gimme Shelter นั่นแหละ (เพลงร่วมสมัยของผู้แปลเลย) "...Just a shot away..."

Regards,

Jim Rickards
via The Daily Reckoning email
********
U.S.-China War Is “Just A Shot Away”

The World’s Most Dangerous Hotspot
By Jim Rickards for the Daily Reckoning
Jan 30, 2019

I have warned repeatedly that currency wars and trade wars can lead to shooting wars. Both history and analysis support this thesis.

Currency wars do not exist all the time; they arise under certain conditions and persist until there is either systemic reform or systemic collapse. The conditions that give rise to currency wars are too much debt and too little growth.

In those circumstances, countries try to steal growth from trading partners by cheapening their currencies to promote exports and create export-related jobs.

The problem with currency wars is that they are zero-sum or negative-sum games. It is true that countries can obtain short-term relief by cheapening their currencies, but sooner than later, their trading partners also cheapen their currencies to regain the export advantage.

This process of tit-for-tat devaluations feeds on itself with the pendulum of short-term trade advantage swinging back and forth and no one getting any further ahead.

After a few years, the futility of currency wars becomes apparent, and countries resort to trade wars. This consists of punitive tariffs, export subsidies and nontariff barriers to trade.

The dynamic is the same as in a currency war. The first country to impose tariffs gets a short-term advantage, but retaliation is not long in coming and the initial advantage is eliminated as trading partners impose tariffs in response.

Despite the illusion of short-term advantage, in the long-run everyone is worse off. The original condition of too much debt and too little growth never goes away.

Finally, tensions rise, rival blocs are formed and a shooting war begins. The shooting wars often have a not-so-hidden economic grievance or rationale behind them.

The sequence in the early 20th century began with a currency war that started in Weimar Germany with a hyperinflation (1921–23) and then extended through a French devaluation (1925), a U.K. devaluation (1931), a U.S. devaluation (1933) and another French/U.K. devaluation (1936).

Meanwhile, a global trade war emerged after the Smoot-Hawley tariffs (1930) and comparable tariffs of trading partners of the U.S.

Finally, a shooting war progressed with the Japanese invasion of Manchuria (1931), the Japanese invasion of Beijing and China (1937), the German invasion of Poland (1939) and the Japanese attack on Pearl Harbor (1941).

Eventually, the world was engulfed in the flames of World War II, and the international monetary system came to a complete collapse until the Bretton Woods Conference in 1944.

Is this pattern repressing itself today?

Sadly, the answer appears to be yes. The new currency war began in January 2010 with efforts of the Obama administration to promote U.S. growth with a weak dollar. By August 2011, the U.S. dollar reached an all-time low on the Fed’s broad real index.

Other nations retaliated, and the period of the “cheap dollar” was followed by the “cheap euro” and “cheap yuan” after 2012.

Once again, currency wars proved to be a dead end.

Now the trade wars are well underway. They may be set to resume once the current “truce” between the U.S. and China expires on March 1. If no deal is reached, massive new tariffs will likely take effect.

But the biggest question now is if a shooting war will follow.

There’s little doubt that the most dangerous place in the world today in terms of potential war has been the South China Sea.

I have written frequently about possible confrontations between the U.S. and China in the South China Sea. International law recognizes claims of six separate nations to parts of that sea, and the U.S. is treaty partners with one of them (the Philippines).

China claims the entire sea (except for a narrow shoreline stretch near each surrounding country). China is claiming control based on ancient imperial arrangements and argues that the West and its South Asian allies “stole” the territory from them.

China has aggressively built up man-made islands in the area by dredging sand onto rocks and atolls. These islands are then being fortified with airstrips, anti-aircraft weapons and surveillance technology.

But both the ancient claims and the theft narrative are open to serious dispute. The U.S. and the other nations involved reject those claims and insist on rights of passage and free navigation and sharing of natural resources such as oil, natural gas, undersea mining and seafood among others.

The U.S. and its allies, including Japan and the U.K., have sent naval vessels to cruise waters claimed by China and to uphold rights of passage and their status as open waters.

But the South China Sea is not the only body of water where the conflicts and risks exist.

An even greater potential conflict lies in the Strait of Taiwan, which separates the island of Formosa from the mainland of Red China. China claims Taiwan as a “breakaway province” and part of China. The Taiwanese government claims that it is the lawful government of all of China, although there is a strong independence movement there also.

Two U.S. warships recently passed through the strait as a reaffirmation of rights of free passage and a show of support for Taiwan.

China regards the passage of U.S. vessels as highly provocative and has threatened to block such transits with force. The South China Sea is a problem, but the Taiwan Strait is viewed in existential terms by China.

The entire situation is like a powder keg waiting for the match to light it. The risks include not only intentional combat but accidental shootings and collisions, which are not uncommon at sea, especially when two vessels are shadowing each other.

In fact, the greatest risk might not be an outright attack by either side but an accident or miscommunication that escalates into a firefight. We cannot avoid the real possibility that conflicting naval activities in both bodies of water will result in a violent incident or even war. And once an incident occurs, it could set off a chain of escalation that could result in open warfare.

Trump is not someone to back down when it comes to American interests around the world, and Chinese leadership does not want to appear weak before the U.S.

That’s especially true at a time of great economic uncertainty. Communist Party leadership is desperate to maintain the support of the people, or else it risks losing the “mandate of heaven.”

China does not want war at this time. But diverting the people’s attention away from domestic problems toward a foreign foe is an old trick leaders use to unite the people in times of uncertainty. Rallying the people around the flag is a tried and true method to garner support.

If China’s leadership decides that the risk of losing legitimacy at home outweighs the risk of conflict with the United States, the likelihood of war rises dramatically.

I’m not predicting it, but wars have started over less. Currency wars, trade wars, finally shooting wars. We’re currently two-thirds of the way there.

And as Mick Jagger sang, a U.S.-China shooting war is “just a shot away.”

Regards,

Jim Rickards
via The Daily Reckoning email

Cr.Sayan Rujiramora

สนับสนุนข่าวโดย ICMarkets
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"