forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

“ปี 2018 ผ่านไปชาติใหญ่ รัสเซีย จีน อินเดีย ตุรกี อิหร่าน เทขายดอลล่าร์มากขึ้นอีก จีนดัน RCEP แทน TPP”

ปี 2018 ที่แล้วมามีเหตุการณ์มากมายที่ตอกย้ำภูมิรัฐศาสตร์ของโลกเราให้ “แบ่งเป็นสองขั้ว” มากยิ่งขึ้นอย่างชัดเจน ขั้วหนึ่งนั้นยังจงรักภักดีเป็นข้าทาสเงินใบเขียวดอลล่าร์ต่อไป ขณะที่อีกค่ายก็พยายามหันหลังให้กับมันมากขึ้นเรื่อยๆในฐานะเงินสกุลหลักของโลก

และทำให้โลกตึงเครียดมากขึ้นเรื่อยๆ... “สงครามการค้าระหว่างอเมริกากับจีน” ก็เป็นเหตุการณ์ที่เป็นผลจากการแบ่งขั้วดังกล่าวนั้น โดยจีนนั้นไม่ได้ประกาศออกมาดังๆ แต่แอบเล่นเกมอยู่เงียบๆในการเล่น “สงครามนุ่ม” หรือ Soft Power โดยปีที่ผ่านมาธนาคารจีนได้ทะยอยลดปริมาณการถือครองพันธบัตรของอเมริกาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปี 2017 เป็นต้นมา แม้ว่ายังเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของอเมริกาเหมือนเดิมก็ตาม และแทนที่จะลดการถือครองเงินดอลล่าร์แบบทันทีทันใด จีนเลือกเล่นเกมโดยการดันเงินหยวนของตัวเองให้เป็นสกุลเงินในการค้านานาชาติมากขึ้นอีก เช่นในตะกร้าเงินไอเอ็มเอฟ

... เร็วๆนี้จีนได้สร้างความเข้มแข็งให้กับเงินหยวนในหลายๆด้าน เช่น พยายามสะสมทองคำในคลังมากขึ้นเพื่อค้ำเงินหยวนหรือผูกเงินหยวนกับการขายทองคำและขายน้ำมันในตลาดล่วงหน้าของตลาดในจีนเอง และพยายามตัดตอนข้ามหัวเงินดอลล่าร์ในการค้าขายกับประเทศอื่นๆทั่วโลกอย่างสม่ำเสมอ ยิ่งกว่านั้น “เส้นทางสายไหมใหม่” ที่จีนริเริ่มนั้นก็จะเน้นไปที่การค้าขายโดยไม่ผ่านสกุลเงินดอลล่าร์รวมทั้งดันเงินหยวนเป็นเงินสกุลสากลตามเส้นทางนี้

... นอกจากนั้น “จีน” พยายามฉวยโอกาสช่วงนี้ ดันข้อตกลงเรื่อง Regional Comprehensive Economic Partnership ( RCEP ) หรือการค้าเสรีกับเพื่อนบ้านในเอเชียแปซิฟิคโดยเฉพาะกับประเทศอาเซี่ยน เพื่อจะมาแทน TPP ที่เคยนำโดยโอบาม่าดันจนเกือบสำเร็จ แต่ทรัมป์ออกมาหยุดโครงการนี้เสียก่อนในวันแรกๆที่เข้ารับตำแหน่ง ที่โครงการนี้ RCEP จีนจะเข้ามาร่วมค้าขายกับเอเชียมากขึ้น แทน TPP ที่ถูกสกัดออกจากวงจรการค้าสมาคมนี้ไป โดย RCEP ประกอบไปด้วยสมาชิก 16 ประเทศ ที่จะเกี่ยวข้องกับผู้คนกว่า 3.4 พันล้านคน และมูลค่าทางเศรษฐกิจ $ 49.5 ล้านล้านดอลล่าร์ , และคิดเป็นเงินร้อยละ 40 ของ GDP โลก

... ฝ่าย “อินเดีย” ที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก ที่เป็นผู้นำเข้าสินค้ารายใหญ่มากมายจากทั่วโลก ก็ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าและการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ของโลกนี้ด้วยอย่างมากเช่นกัน โดย “อินเดีย” เริ่มจากที่ต้นปี 2018 ที่ผ่านมานี้ มีการเปลี่ยนแปลงการจ่ายเงินในการค้ากับ “รัสเซีย” เช่นในการจ่ายค่าซื้ออาวุธป้องกันอากาศยาน S-400 จาก “รัสเซีย” เป็นจ่ายด้วยเงิน รูเบิ้ล ของรัสเซียแทนดอลล่าร์ นอกจากนั้น อินเดียยังจ่ายเงินรูปีของตัวเองในการจ่ายค่าซื้อน้ำมันดิบจาก “อิหร่าน” ด้วยเช่นกัน หลังจากที่อเมริกากลับมาคว่ำบาตรต่ออิหร่านอีกครั้งหนึ่ง และล่าสุดเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2018 ที่ผ่านมา “อินเดียกับยูเออี” ได้ลงนามตกลงการลงทุนค้าขายระหว่างกันด้วยสกุลเงินของสองฝ่าย ไม่ใช้เงินของประเทศที่สามที่หมายถึงดอลล่าร์อเมริกา

... “ตุรกี” นั้นปลายปี 2018 ลุงเออร์โดกันได้ประกาศชัดเจนหนักแน่นว่านโยบายใหม่ทางการเงินการค้ากับนานาชาติของประเทศจะค้าขายปราศจากการใช้เงินดอลล่าร์ของอเมริกา โดยเริ่มแล้วกับ “จีน รัสเซีย ยูเครน” รวมทั้งกำลังเจรจากับ “อิหร่าน” ด้วย โดยตุรกีบอกว่าการเปลี่ยนแปลงนโยบายนี้เป็นผลมาจาก การเมืองและการค้า ที่การเมืองนั้น ตุรกีไม่พอใจที่ “อเมริกา” สนับสนุนการพยายามรัฐประหารในปี 2016 รวมทั้งตำหนิอเมริกาว่าเป็นผู้เริ่มสงครามการค้าในโลก คว่ำบาตรตุรกีและอิหร่าน และยิ่งกว่านั้น ตุรกีก็ตัดสินแล้วว่าจะซื้ออาวุธป้องกันอากาศยาน S-400 ของ “รัสเซีย” ด้วยแบบไม่สนใจความรู้สึกของอเมริกา ผู้จัดการนาโต้เลยแม้แต่น้อยทั้งๆที่เดิมนั้น อเมริกาเป็นผู้ผูกขาดรายใหญ่ในการขายอาวุธให้ประเทศสมาชิกนาโต้ รวมทั้งตุรกีพยายามเทขายเงินดอลล่าร์ทิ้งไปแล้วซื้อเงินลีร่าของตัวเองเพื่อพยุงค่าเงินไม่ให้ตกเกินไป

... “อิหร่าน” ที่ดีใจได้แค่สองสามปี จากปี 2015 -2018 ในการผ่อนปรนเรื่องพัฒนานิวเคลียร์ ก็ถูกอเมริกาบีบลูกสมุนให้ร่วมคว่ำบาตรอิหร่านอีกครั้งพร้อมขู่ว่าจะลงโทษประเทศลูกน้องที่ดื้อไม่เดินตามอเมริกา เช่นเรื่องการโอนเงินผ่าน Swift หรือยึดเงินในธนาคาร เป็นต้น ตามใจอิสราเอลและซาอุด ทำให้อิหร่านจึงต้องตอบโต้อเมริกาบ้าง โดยการค้าขายกับต่างประเทศแบบไม่ใช้เงินดอลล่าร์ เช่นขายน้ำมันให้ “อินเดีย” โดยรับเงินรูปีแทน รวมทั้งทำการค้าแบบแลกเปลี่ยนสินค้ากับ “อิรัก” แบบไม่ต้องใช้เงินอย่างดอลล่าร์และที่ต้องผ่านระบบธนาคารสากลที่อเมริกาครอบครองอยู่

... “รัสเซีย” นั้นแม้ว่าจะไม่ได้ประกาศเป็นทางการว่าต่อต้านการใช้เงินดอลล่าร์ในการค้ากับนานาชาติ แต่ก็มีการเคลื่อนไหวอย่างชัดเจนโดยการเทขายพันธบัตรของอเมริกาอย่างมากมายมโหฬาร โดยไปลงทุนในตราสารหรือสินทรัพย์อื่นแทน เช่น ทองคำ หรือเงินรูเบิ้ล เงินยูโร และนับตั้งแต่ถูกคว่ำบาตรจากอเมริกาในปี 2014 รัสเซียก็เริ่มตอบโต้โดยการค้าขายแบบไม่พิ่งพาเงินดอลล่าร์กับหลายประเทศ รวมทั้งพัฒนาระบบการโอนเงินของตัวเองแทนระบบ Swift ของอเมริกา รวมทั้งแทนระบบบัตรวีซ่าและมาสเตอร์คาร์ด

... ถึงตอนนี้ รัสเซียได้ลงนามร่วมกับประเทศ จีน อิหร่าน อินเดีย แล้ว ในการค้าขายแบบไม่ผ่านเงินดอลล่าร์ นอกจากนี้รัสเซียยังเสนอในการใช้เงินยูโรแทนดอลล่าร์ในการค้าขายกับประเทศในสหภาพยุโรป และมีนโยบายในการเปลี่ยนประเทศที่เป็น1 ใน 10 ประเทศเจ้าหนี้ใหญ่ของอเมริกา มาเป็นประเทศที่สะสมทองคำมากเป็นระดับแนวหน้าของโลกแทน

... กระแสนี้ที่ประเทศข้างบนอย่าง จีน รัสเซีย ตุรกี อิหร่าน อินเดีย กำลังทำ กำลังจะแรงขึ้นไปเรื่อยๆ ทั้งในจำนวนประเทศที่ทำการค้าขายข้ามหัวเงินดอลล่าร์และจำนวนมูลค่าเงินในการค้าขาย ... โลกสองขั้วอำนาจกำลังต่อสู้กันอย่างรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

.

… The past year was full of events that inevitably split the global geopolitical space into two camps: those who still support using US currency as a universal financial tool, and those who are turning their back on the greenback.
… Global tensions caused by economic sanctions and trade conflicts triggered by Washington have forced targeted countries to take a fresh look at alternative payment systems currently dominated by the US dollar.

… RT has taken a deeper look into the recent phenomena of de-dollarization, summing up which countries have taken steps towards eliminating their reliance on the greenback, and the reasons behind their decision.
China
The ongoing trade conflict between the United States and China, as well as sanctions against Beijing's biggest trading partners have forced China to take steps towards relieving the dollar dependence of the world's second-largest economy.

… Moreover, the country is actively pushing for a free-trade agreement called the Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP), which will include the countries of Southeast Asia. The trade pact could easily replace the Trans-Pacific Partnership (TPP),

RCEP includes 16 country signatories and the potential pact is expected to form a union of nearly 3.4 billion people based on a combined $49.5 trillion economy, which accounts for nearly 40 percent of the world's GDP.

A triumphant return of Iran to the global trading arena did not last long. Shortly after winning the US presidential election, Donald Trump opted to withdraw from the 2015 nuclear deal signed between Tehran and a group of nations, including the UK, US, France, Germany, Russia, China, and the EU.
The oil-rich nation has once again become a target for severe sanctions resumed by Washington, which has also threatened to introduce penalties against any countries that would violate the embargo. The punitive measures banned business deals with the Islamic Republic and cracked down on the country's oil industry.
ALSO ON RT.COMUS tells world to steer clear of Iranian oil tankers

... Sanctions have forced Tehran to look for alternatives to the US dollar as payment for its oil exports. Iran clinched a deal for oil settlements with India using the Indian rupee. It also negotiated a barter deal with neighboring Iraq. The partners are also planning to use the Iraqi dinar for mutual transactions to reduce reliance on the US dollar amid banking problems connected to US sanctions.

… Russia
President Vladimir Putin said the US is "making a colossal strategic mistake" by "undermining confidence in the dollar."Putin has never called for restricting dollar transactions or banning the use of US currency. However, Russian Finance Minister Anton Siluanov said earlier this year that the country had to dump its holdings of US Treasuries in favor of more secure assets, such as the ruble, the euro, and precious metals.
The country has already taken several steps towards de-dollarizing the economy due to the constantly growing burden of sanctions that have been introduced since 2014 over a number of issues. Russia has developed a national payment system as an alternative to SWIFT, Visa and Mastercard after the US threatened tougher new sanctions that would target Russia's financial system.

Cr.Jeerachart Jongsomchai

สนับสนุนข่าวโดย ICMarkets
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"