forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

เกมของน้ำมันกำลังมีการเปลี่ยนตัวผู้เล่น

การผลิตน้ำมันของสหรัฐกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วจนถึง 11.2 ล้านบาเรลต่อวันเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2018 และคาดว่าจะถึง 12.05 m/bpd ในเดือนเมษายนและ 12.29 m/bpd ก่อนสิ้นปี 2019 ....ปัญหาคอขวดของท่อส่งจะหมดไปก่อนสิ้นปี 2019

รวมถึงท่อส่งไปยังท่าเรือสำหรับส่งออกจะทำให้การส่งออกน้ำมันของสหรัฐเพิ่มขึ้นจนสามารถแข่งกับผู้ผลิตรายใหญ่ได้เลย ....และด้วยราคาที่ $60-$80 ก็ทำกำไรให้ผู้ผลิต shale oil ในสหรัฐได้เพียงพอ นั่นจะเป็นเพดานราคาน้ำมันในอนาคต ...เสียใจด้วยสำหรับผู้ผลิตอื่นๆที่ต้องการราคาสูงกว่านั้นเพื่อให้ถึงจุดคุ้มทุน (breakeven) ในงบดุลของตน

จากการที่การผลิตน้ำมันของสหรัฐที่เพิ่มขึ้นมากนี้ (แค่ส่วนที่เพิ่มต่อวันในปี 2018 ก็มากกว่าที่ไนจีเรียผลิตได้ต่อวันแล้ว) ....ตลาดน้ำมันตอนนี้จึงมีผู้เล่นหลักๆอยู่สามราย: คือสหรัฐ รัสเซียและซาอุดิอเรเบีย ที่มีส่วนถึง 30-40% ของโลก ทำให้ทั้งสามเป็นผู้กุมชะตาราคาน้ำมันของโลก

เวลาเดียวกัน อำนาจของ OPEC ที่มีผลต่อตลาดก็กำลังก็ดูเหมือนกำลังลดลง สมาชิกเองก็เสียงแตกกรณีการลดกำลังการผลิต ..กลายเป็นไปลดอำนาจต่อรองของกลุ่ม cartel เองในที่สุด

ผลที่ต่อเนื่องก็มีหลายแนวทาง เรามาดูใน scenario ของเป้าวัตถุประสงค์ของทั้งสามผู้ผลิตใหญ่ที่ไปกันคนละแนว ..ตามด้วยสมมติฐานที่ว่ากลุ่มผู้ผลิตรายย่อยเดินตามแนวของผู้ผลิตใหญ่ ทั้งๆที่เมื่อรวมกันแล้วกลุ่มนี้สูงกว่า 60% ของการผลิต

The Goals of the Players

The US Goals: หนึ่งในเป้าหลักของสหรัฐก็คือการลดการขาดดุลการค้าของตน วิธีหนึ่งก็คือการลดการนำเข้าน้ำมันและพยายามเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ให้ได้ ..เห็นได้จากการที่มีนโยบายสนับสนุนการผลิต shale oil โดยกระบวนการ fracking ต่อไป..ถึงแม้จะมีประชามติออกมาแล้วว่า fracking เป็นการทำลายสภาพแวดล้อม แต่รัฐบาลก็ยังสนับสนุนอุตสาหกรรมนี้อย่างต่อเนื่องทั้งทางการเงิน การเมือง และการภาษี

ส่วนในเรื่องการเพิ่มการส่งออก มีการเพิ่มปริมาณการผลิต การตลาด และมีการจัดการกับคู่แข่งอย่างเป็นระบบ นี่คือตัวอย่าง:

**มีการพยายามเตะตัดขาเศรษฐกิจรัสเซียด้วยการแซงค์ชั่น .ตามมาด้วยการบล็อคไม่ให้รัสเซียขายแก้สในยุโรปง่ายเกินไป เปิดทางให้สหรัฐสามารถขายแก้ส LNG Liquified Natural Gas ถึงแม้มันจะแพงกว่ามาก

**เป้านี้มีความสำคัญมาก เพราะปริมาณแก้สที่อยู่ตามหลุม shale oil มีมากจนต้องเผาทิ้งถ้าไม่ได้ขาย และมันยังเป็นตัวขวางการผลิตน้ำมันอีกด้วย ทำให้แผนการส่งออกมีปัญหา ..สหรัฐจึงต้องพยายามขาย LNG ให้กับทุกประเทศ ไม่ว่าเป็นเพื่อน พันธมิตรหรือแม้แต่ศัตรู ...การส่งออกแก้สเพิ่มได้ถึง 4 เท่าในปี 2017 และคาดว่าจะสูงเป็นอันดับสามของโลกในปี 2020!

**มีการพยายามลดผลผลิตของคู่แข่ง เช่นการขัดขวางอุตสาหกรรมน้ำมันของเวเนซูล่า และการแซงค์ชั่นอิหร่าน การทำลายลิเบีย etc.

Russia’s Goals: นับเป็นศตวรรษๆ มาแล้วที่รัสเซียถูกขัดขวางด้วยการสร้างสถานการณ์และสงครามเพื่อทำให้อ่อนแอลงมาหลายยุค ไม่ว่าจะเป็นยุค พระเจ้าซาร์ ..โซเวียต..หรือสาธารณรัฐ ..ทรัพยากรจำนวนมากทำใหรัสเซียเป็นเป้าของตะวันตกมาตลอด ..หลังการล่มสลายของโซเวียต..รัสเซียกลับสามารถสร้างฐานะขึ้นมาในระดับที่สูงกว่าก่อนหน้านี้เสียอีก

การสร้างตัวตนขึ้นใหม่ของรัสเซียเป็นไปด้วยความยากลำบากที่ต้องการเงินทุนมหาศาลและการสนับสนุนจากมิตรประเทศ และภายหลังก็รู้ว่าใครคือมิตรแท้ นอกจากนี้รัสเซียยังถูกแซงค์ชั่นจากโลกตะวันตกและถูกคุกคามจากฝ่ายนาโต้

รัสเซียได้ประโยชน์จากน้ำมันอยู่ไม่นานจนราคาน้ำมันดิ่งเหว จึงต้องหันมาเอาดีทางการเกษตรและการค้าอาวุธ จนปัจจุบันกลายเป็นผู้ผลิตข้าวสาลีอันดับหนึ่งและอาวุธเป็นอันดับสองของโลก

ถ้าเป็นอย่างนี้ ..เราอาจคิดระแวงว่ารัสเซียคงจะเข้าเป็นพันธมิตรกับสหรัฐเรื่องน้ำมัน .....เพราะยังต้องมีการพัฒนาและเพิ่มการผลิตน้ำมันและแก้สเพื่อการส่งออกในเวลาเดียวกันด้วย

Saudi Arabia: ซาอุดิฯแตกต่างจากสองประเทศข้างต้น มันไม่มีภาคเศรษฐกิจอื่นๆที่จะเป็นเกราะได้เลยถ้าเกิดราคาน้ำมันร่วงลงไป ซาอุดิฯขาดดุลงบประมาณมาตั้งแต่ปี 2014 .....ตอนนี้ก็ได้แต่หวังว่าแผน "Vision 2030" จะมาเป็นตัวช่วยเปลี่ยนให้มีภาคส่วนทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่นๆมาเสริมรายได้ ...แต่กว่าจะถึงตอนนั้น ด้วยราคาน้ำมันที่ต่ำกว่า $60-$80 ตามด้วยงบที่ยังคงขาดดุล คงจะทำให้รีเสิร์ฟหายไปมากพอดู การกู้ก็ไม่น่าจะเป็นทางออกซะด้วย

ดูจากราคาน้ำมันที่ไม่เป็นใจนี้ ซาอุดิฯคงเลือกที่จะเพิ่มการผลิตเพื่อหาเงินเพิ่มสำหรับงบประมาณของตน อาจต้องตัดสินใจใช้พลังงานทางเลือกในประเทศ และเพิ่มการลงทุนพัฒนาแหล่งน้ำมันใหม่ๆต่อไป

The Other Oil Producers: พวกผู้ผลิตรายเล็ก ก็คงต้องอยู่ในความกรุณาของพี่ใหญ่ทั้งหลาย ..พวกนี้ทนลำบากมาหลายปีแล้วจากราคาน้ำมันต่ำที่ทำให้รายได้น้อยลงแถมรายจ่ายก็เพิ่ม พวกนี้อาจจะไปเพิ่มการผลิต แต่ก็อาจทำให้เกิดเหตุการณ์แบบปี 2014 ที่ทำให้สถานะการเงินแย่ลงไปอีก ..อาจต้องรวมกลุ่มคล้ายๆกับ OPEC อีกครั้ง ที่จะทำให้ทั้งกลุ่มเป็นหนึ่งเดียวทั้งด้านการผลิตและการตลาด ..และอาจต้องมีกองทุนคอยช่วยเหลือเหล่าสมาชิกกันเองอีกด้วย ..เรื่องนี้ต้องมีการใช้กึ๋นเพื่อมองการณ์ให้ไกลขึ้นอีกเยอะเลย เวลาเท่านั้นจะพิสูจน์

The Consumers: ส่วนผู้บริโภคเราก็ต้องการราคาที่ต่ำเท่านั้น ..ผู้ผลิตน้ำมันที่ขัดแย้งกันหรือทะเลาะกันเองนี่ถือได้ว่าเป็นของขวัญจากพระเจ้าเลยแหละ

Conclusion

ไม่มีอะไรคงอยู่ ดีมานด์น้ำมันที่ต่ำอยู่ตอนนี้ บวกกับการผลิตที่เพิ่มขึ้นทำให้ราคาลดต่ำลงในช่วงเดียวกับที่โลกก็กำลังมองหาพลังงานทดแทนทุกแบบ ..แถมพวกผู้ผลิตน้ำมันทั้งหลายก็กำลังย่ำแย่กับสภาพเศรษฐกิจของตน (พี่ใหญ่ทั้งสองก็ด้วย) ทางเลือกเดียวก็คือ เพิ่มการผลิตและขายขึ้นไปอีก

ผู้ผลิตใหญ่ทั้งหลายมีเป้าที่แตกต่างกันและขัดแย้งกันด้วย ยากที่จะร่วมมือกัน นอกจากการใช้วิธีสกปรก เช่นสร้างสถานการณ์สงคราม หรือแม้แต่การบีบคอเพื่อให้ร่วมมือ

สำหรับผู้ผลิตรายเล็ก การรวมกลุ่มกันเพราะถือว่าพวกตนคือ 60% ก็อาจต้องพบการแทรกแซงในทุกทางทั้งการทหารและการรุกราน ...ทางที่ดี อย่ารวมกลุ่มจะดีกว่า

scenario นี้อาจเกิดหรือไม่เกิดก็ได้ เป็นแค่แนวคิดเดียวที่ผู้เกี่ยวข้องควรต้องศึกษาเพิ่มเติมเอาเอง

Marwan Salamah, is a Kuwaiti economic consultant and publishes articles on his blog: marsalpost

********
The Oil Game Has Changed

The Players Have Changed

US oil production is rapidly growing and has reached 11.2 million barrels per day in Nov 2018, is expected to reach 12.05 m/bpd next April and 12.29 m/bpd by yearend 2019. The pipelines bottleneck will be resolved by the end of 2019 including pipelines to the export ports enabling the US to substantially increase its oil exports and compete with everybody else. And, with $60 – 80 prices being profitable for the US shale producers, this becomes the ceiling for oil prices, and woe to those needing higher prices to breakeven or balance their budgets.

With the dramatic rise of US oil production (its 2018 increase is greater than Nigeria’s total production), the oil market is now dominated by three players: The USA, Russia and Saudi Arabia who jointly represent 30 – 40% of total world production, giving them control of oil prices and hence, the fate of the world.

At the same time, OPEC’s power to influence oil market and prices seems to be declining. The evident discord among its members regarding increasing and lowering production levels and quotas is becoming more vocal, which further weakens the cartel and hastens its possible demise, inviting more confusion, lower prices, higher costs and weaker economies.

While there are many outcomes, we examine here a scenario where the goals and objectives of the three big producers are contradictory. Additionally, the assumption that the small producers will tamely submit to the big producers, despite representing above 60% of production, unjustly ignores their rights as well as capabilities.

The Goals of the Players

The likely goals of the players may be assumed as:

The US Goals: One of its primary goals is to shrink its balance of trade deficit and turn it into a surplus. One method is to cease importing oil and become a major exporter. This is evident in the US policy in support of shale oil extraction through Fracking despite the consensus on its damaging effects on the environment. The US has supported and funded the research in Fracking and continues to support Frackers financially, politically and taxwise.

As for increasing its oil exports, it has shrewdly increased the supply of its product, is marketing it aggressively and is systematically undermining the competition. Some examples are:

– Its attempts to weaken the Russian economy through economic sanctions and to block Russian gas sales to Europe, thus opening the European market to US liquid Gas LNG despite it being much more expensive.

– This particular goal is important because of the large gas content of the US shale oil wells, which if not sold is burnt as waste. It also hampers the producers’ ability to increase production, which in turn delays the plan to increase exports. The US has been exerting huge efforts to sell its LNG to everybody; friends, allies and even foes and its gas exports have quadrupled in 2017 and is expected to become the third largest gas exporter by 2020!

– Its attempts to reduce competitors’ supplies. The choking of the Venezuelan oil industry and economy is a prime example as well as the sanctions on Iran, the destruction of Libya, etc.

Russia’s Goals: For centuries, Russia has been faced by conspiracies and wars designed to weaken it regardless of the nature of its government; be it Imperial Czarist, Soviet Communist, or a Capitalistic Republic. Its sheer size and natural wealth and resources have always made it an attractive target for the West. And despite the economic and social destruction it witnessed after the collapse of communism, it has been able to rebuild itself to levels way better than ever before.

But rebuilding is a difficult and costly exercise and requires huge capital investments and the support of friends. It soon discovered that its friends were few and many held ill will towards it. It is also hampered by Western economic sanctions and threatened by a NATO military cordon. It had to rely on oil and gas revenues in rebuilding itself until the oil price crash of 2014 when it quickly redirected its efforts towards the agriculture and armaments sectors and soon succeeded in becoming the world’s largest wheat producer and the second largest seller of sophisticated weapons.

On this basis, one would expect Russia to be extremely wary of entering any oil alliance with the US, and is expected to continue its goal of developing and expanding its oil & gas production and exports.

Saudi Arabia: It is different to its two large producer colleagues (USA and Russia). It doesn’t have well a developed multi-sector economy to shield it from the disasters of oil price declines and, since 2014, has been suffering from persistent budget deficits. This has now been addressed by the ambitious ‘Vision 2030’ plan to transform the economy into multi sectors, industries and revenues. However, until that occurs, oil prices could remain below $60 – 80 and the ensuing budget deficits could erode the country’s financial reserves. Nor is borrowing likely to be a viable solution.

Based on the negative outlook for oil prices, Saudi may opt to increase its production and exports to halt or reduce its budgetary bleeding. Such a goal is implied in its determination to introduce alternative energy sources (Solar, wind, hydraulic and nuclear) to reduce local oil consumption freeing more for export. It is also rapidly increasing its investments in developing new and existing oil fields.

The Other Oil Producers: In view of their relatively small individual size, they have little say and are at the mercy of the big boys. However, they have been suffering for several years from reduced revenues and rising expenses. Their initial reflex-reaction may be to jack-up oil production, but that could trigger a 2014-like crash and with a worse financial outcome. They need a different solution that increases their collective power. An alliance similar to OPEC may be their best option, subject to it being much more cohesive and mutually supportive. Something that would pool their oil as a single unit with a centralized management of all technical, production and marketing operations, and, most importantly, stand ready to financially support any member that stumbles. Of course, this would require a lot of wisdom and forward thinking and, only time will tell.

The Consumers: Their eternal goal is lower oil prices, and they may get it. Producer disagreements and disputes are a god-send and it is in the consumers’ interest to play them off against each other.

Conclusion

Nothing remains constant. The present weak oil demand coupled with the rise in production have lowered prices at a time when the world is racing towards alternative energy sources. At the same time, the oil producers (including the big boys) are suffering from economic hardships that are threatening to become catastrophes, and they all see their salvation in increasing their oil production and sales.

The big producers are powerful, but their individual goals are contradictory and unlikely to be reconciled – except, maybe, through arm twisting, conspiracies or wars. However, they seem fully united against the small producers.

In return, the smaller producers may initially react individually, but are unlikely to succeed. They will eventually realize their need for collective action to defend themselves, especially as they represent over 60% of world oil production. However, any such move will be resisted by the big boys and could, in the, worse case, lead to military interventions and/or false flags. Therefore, the sooner they act collectively to counter the negative odds facing them, the better are their chances of survival.

The above is a description of one hypothetical scenario, which may or may not come to be. However, wisdom dictates that all concerned parties consider it carefully, study its possible outcomes and prepare a plan “B”.

Cr.Sayan Rujiramora

สนับสนุนข่าวโดย ICMarkets
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"