forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

เฟดไม่เร่งเกียร์ เอเชียผ่อนขึ้นดอกเบี้ย

ถ้อยแถลงของ เจอโรม พาวเวลล์ ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า "อัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบมาตรฐานในช่วงที่ผ่านมา และต่ำกว่าเล็กน้อยจากระดับที่สมดุลต่อเศรษฐกิจ หรือระดับที่ได้ทั้งช่วยกระตุ้นหรือชะลอการขยายตัว

ของเศรษฐกิจลงมา" ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันระหว่างนักลงทุนกับนักเศรษฐศาสตร์ว่า นี่คือสัญญาณชะลอยุคดอกเบี้ยขาขึ้นหรือไม่

ฝ่ายตลาดทุนส่วนใหญ่ตีความว่า การบอกว่าอัตราดอกเบี้ยใกล้แตะระดับสมดุลแล้วนั้น หมายความว่าไม่จำเป็นต้องเร่งเกียร์ขึ้นดอกเบี้ย และมีความหวังว่าเฟดจะลดการขึ้นดอกเบี้ยในอนาคตลง จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ในรายงาน Dot Plot ว่า จะขึ้นอีก 1 ครั้งในเดือน ธ.ค.นี้ และอีก 3 ครั้งในปี 2019 จนทำให้ตลาดหุ้นกลับมาดีดตัวกลับแรงสุดในรอบ 8 เดือน เมื่อไม่กี่วันมานี้

ทว่าฝ่ายนักเศรษฐศาสตร์ก็แย้งว่า ตลาดทุนตีความเข้าข้างตัวเองมากเกินไป และยังไม่มีอะไรที่บ่งชี้ชัดเจนว่า เฟดจะไม่ขึ้นดอกเบี้ยตามแผนเดิมที่วางไว้ โดยเฉพาะเฟดนั้นจะตัดสินใจบนฐานของ "ข้อมูล" มากกว่าตลาดทุนหรือปัจจัยชั่วคราว ซึ่งหากมองในแง่เศรษฐกิจ พื้นฐานทั้งการขยายตัวของจีดีพี การว่างงาน และอัตราเงินเฟ้อ ก็ไม่มีปัจจัยอะไรที่จะชะลอการขึ้นดอกเบี้ยตามแผนเดิม

อย่างไรก็ดี ถ้อยแถลงของพาวเวลล์ก็อ่อนลงมาจริงๆ จากที่เคยกล่าวไว้เมื่อเดือน ต.ค. ว่าดอกเบี้ยปัจจุบันยังห่างไกลจากระดับสมดุล ซึ่งอย่างน้อยที่สุดก็พอจะบ่งบอกได้ว่า เฟดจะไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ยไปมากกว่าแผนที่เคยบอกเอาไว้

ในทางกลับกัน นักวิเคราะห์มองว่ามีความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับภาษาใหม่ในรอบการประชุมเดือน ธ.ค.นี้ คืออาจลดการใช้คำว่า "จะปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป" เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ในอนาคตมากขึ้น เพราะในบันทึกการประชุมเดือน พ.ย. เฟดยังคงแสดงความกังวลต่อปัจจัยเสี่ยงต่างๆ อยู่ อาทิ กำแพงภาษี (สงครามการค้า) ทำให้นักวิเคราะห์บางสำนัก เช่น โกลด์แมน แซคส์ และเจพี มอร์แกน เชส มองว่าอาจเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับลดเป้าหมายการขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้าลง แม้ว่าปัจจุบันทั้งสองสำนักนี้จะยังคง ตัวเลขไว้ที่เดิมที่ 4 ครั้งก็ตาม (รวมเดือน ธ.ค. 2018)

ทิศทางเช่นนี้เองจึงนำไปสู่การจับตาความเคลื่อนไหวของธนาคารกลางอื่นๆ ตามมาว่า หากเฟดไม่เร่งเครื่อง จะช่วยให้แบงก์ชาติอื่นๆ สามารถผ่อนเกียร์ลงได้หรือไม่

หากมองในภาพรวมแล้ว นักวิเคราะห์คาดว่าน่าจะช่วยผ่อนให้ธนาคารกลางส่วนใหญ่ในเอเชียสามารถคงอัตราดอกเบี้ยกันเอาไว้ในระดับเดิมได้

เทยี ตัน นักเศรษฐศาสตร์ด้านเอเชียของมอร์แกน สแตนลีย์ ให้มุมมอง กับบลูมเบิร์ก ว่า น่าจะมีแค่แบงก์ชาติเฉพาะเป็น บางรายเท่านั้น ที่ยังต้องเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ เพราะปัจจัยกดดันเฉพาะภายในประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ อินเดีย และอินโดนีเซีย แต่ส่วนใหญ่แล้วน่าจะไม่จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ย

นักเศรษฐศาสตร์ของ มอร์แกน สแตนลีย์ มองว่า ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่น่าจะอ่อนค่าลงในปีหน้า บวกกับผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ที่ปรับตัวลงมาแตะ 2.75% จากที่เคยพุ่งไปทะลุ 3% ก่อนหน้านี้ จะช่วยลดแรงกดดันเรื่องเงินทุนไหลออกและความผันผวนของค่าเงินให้กับบรรดาประเทศตลาดเกิดใหม่ (EM)

ขณะเดียวกันหลายประเทศก็ยังมีการเตรียมตัวป้องกันที่ดีขึ้น เช่น มีดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุล และมีการจัดการอัตราเงินเฟ้อในบ้านได้ดี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดแรงกดดันให้แบงก์ชาติเหล่านี้ต้องขึ้นดอกเบี้ย

นอกจากนี้ ยังมองว่าแทนที่จะใช้นโยบายการเงินตึงตัวโดยรวมด้วยการขึ้นดอกเบี้ย ธนาคารกลางหลายแห่งในเอเชียสามารถใช้นโยบายตึงตัวแบบอื่นแทนได้ เช่น การดูแลเสถียรภาพโดยรวมของระบบเศรษฐกิจอย่างรอบคอบ (Macro-prudential) ให้ตึงตัวแบบมีเป้าหมายเฉพาะเจาะจง ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากกว่า

ส่วน "อินเดีย" และ "อินโดนีเซีย" นั้นเผชิญปัญหาค่าเงินอ่อนค่าหนักในช่วงที่ผ่านมา และทำให้ขึ้นดอกเบี้ยไปแล้วหลายรอบในปีนี้ เป็นที่คาดว่าทั้งสองประเทศจะมีการขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้าอีกราว 1 ครั้ง จนเมื่อขึ้นไปรวมทั้งหมดครบ 1.75% แล้วก็น่าจะพักยกดอกเบี้ยขาขึ้นได้ ขณะที่ "ฟิลิปปินส์" มีปัจจัยเฉพาะในบ้าน

เรื่องอัตราเงินเฟ้อที่สูงมากหลังเผชิญภัยพิบัติครั้งใหญ่ และยังมีปัญหาหนี้กับ สินเชื่อที่สูงกว่าระดับจีดีพีถึง 2 เท่า ทำให้คาดว่าจะยังต้องเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าประเทศอื่น โดยคาดว่าจะขึ้น 2 ครั้ง ในไตรมาสแรกและไตรมาส 2 ของปีหน้า

อย่างไรก็ดี สำหรับบางประเทศที่ยังไม่เคยขึ้นดอกเบี้ยตามเฟดเลยมาเป็นปีนั้น อาจถึงคราวต้องขึ้นดอกเบี้ยก่อนสักยก เพื่อลดสเปรดของดอกเบี้ยที่ต่างกันมาก ก่อนจะสามารถพักยกในปีหน้า 2019 ได้ เช่น เกาหลีใต้ ที่ประกาศขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 1 ปี ไปเมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้ว

ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (บีโอเค) ประกาศขึ้นดอกเบี้ย 0.25% เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ไปอยู่ที่ระดับ 1.75% โดยมีเป้าหมายเพื่อลดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่ถ่างกันมากเกินไปกับดอกเบี้ยสหรัฐซึ่งอยู่ที่ 2-2.25% และยังเพื่อควบคุมภาวะหนี้ครัวเรือนที่กลับมาพุ่งสูงสุดทุบสถิติใหม่อีกครั้ง หลังกดดอกเบี้ยต่ำมาเป็นเวลานาน ทำให้แบงก์ชาติเกาหลีต้องส่งสัญญาณปรับดอกเบี้ยขึ้นมา

อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์มองว่านี่ไม่ใช่สัญญาณของดอกเบี้ยขาขึ้น แต่เป็นการปรับให้เข้ากับเฟดและภาวะหนี้ที่กระเตื้องขึ้นหลังจากที่ไม่ได้ขึ้นมาเป็นปีแล้วเท่านั้น และคาดว่าหลังจากนี้ไปในปีหน้า เกาหลีใต้น่าจะสามารถคงอัตราดอกเบี้ยยืนพื้นยาวไปได้ในขณะที่เฟดผ่อนเกียร์ลง ท่ามกลางธนาคารกลางประเทศอื่นๆ ที่น่าจะยืนพื้นดอกเบี้ยคงเดิมในปีหน้าเช่นกัน โดยล่าสุด แบงก์ชาติออสเตรเลียเพิ่งคงอัตราดอกเบี้ย หลังจากตลาดอสังหาริมทรัพย์ในบ้านผ่อนความร้อนแรงลงมา

ภายใต้ทิศทางเช่นนี้ แบงก์ชาติในเอเชียก็น่าจะสามารถผ่อนเกียร์ลงมาได้บ้างเช่นกัน จนกว่าจะมีปัจจัยใหม่ๆให้ต้องลุ้นกันต่อในปีหน้านี้

โดย นันทิยา วรเพชรายุทธ

Source: Posttoday

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

สนับสนุนข่าวโดย ICMarkets
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"