forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ปัญหาหนี้รุมเร้าประเทศ NPL พุ่งไม่หยุด แต่แบงก์ชาติบอกเอาอยู่ เราไม่ต้องกังวลจริงไหม?

ปัญหานี้กระทบทุกคนตั้งแต่คนที่ฝากเงินในธนาคารก็กลัวว่าเงินจะอยู่ครบไหม รวมไปถึงลูกหนี้ธนาคารที่แนวโน้มดอกเบี้ยจะขึ้นก็หนักแล้ว ถ้าระบบธนาคารมีปัญหาดอกเบี้ยเงินกู้คงพุ่งปรี๊ด ไตรมาส 3 ปี 2562 หนี้เสียพุ่งไม่หยุด ทะลุ 4.4 แสนล้านบาท

(440, 000,000,000 บาท) แต่แบงก์ชาติบอก NPL คิดเป็นแค่ 2.93% ของสินเชื่อรวม และ ธนาคารมีเงินกองทุนสูงถึง 190% ของขั้นต่ำตามมาตรฐานที่แบงก์ชาติกำหนดไม่ต้องห่วง

มาดูกัน

ปัจจุบันธนาคารต่างๆใช้ระบบ BASEL 3 ซึ่งกำหนดให้ดำรงเงินกองทุน 8.5% ของสินทรัพย์เสี่ยงทั้งหมด
แต่ตามหลักเกณฑ์ของแบงก์ชาติให้ธนาคารดำรงเงินกองทุนสูงถึง 11% ซึ่งสูงกว่ามาตรฐาน BASEL 3

หมายเหตุ เงินกองทุนคือเงินสด หรือสินทรัพย์เทียบเท่าเงินสด ที่ธนาคารถือไว้เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ
ข้อมูลหนี้เฉพาะธนาคารพาณิชย์เท่านั้น

ธนาคารทั้งระบบถือเงินกองทุนสูงถึง 190% ของเงินกองทุนที่แบงก์ชาติกำหนด
ถ้าหนี้เสีย 4.4 แสนล้านบาท เท่ากับ 2.93% ของหนี้ทั้งระบบ

แสดงว่าหนี้ทั้งระบบเท่ากับประมาณ 15 ล้านๆบาท เกือบเท่าGDP ของไทย
ธนาคารมีเงินกองทุน 190% ของที่แบงก์ชาติกำหนด เท่ากับ 20.9% ของหนี้ทั้งระบบ
ดังนั้นธนาคารมีเงินกองทุน 3.135 ล้านๆบาท
จากตัวเลขทั้งหมดที่อ้างอิงข้อมูลจากแบงก์ชาติ ก็ดูไม่น่าห่วง สามารถรองรับหนี้เสียได้อีกหลาเท่าตัวเมื่อพิจารณาในแง่ของตัวเลข

แต่!!! ยังมีอีกหลายสิ่งที่น่ากังวล

- การออกมาเตือนบ่อยขึ้นของผู้ว่าแบงก์ชาติเอง ในเรื่องขอการปล่อยกู้ และความเสี่ยงต่างๆต่อเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ
- ข่าวการทุจริตการปล่อยกู้ของธนาคารเก่าแก่ของรัฐให้แก่บริษัทในตลาดหลักทรัพย์มูลค่าหลักแสนล้านบาท ไม่รู้ว่ามีอีกไหม และมีในธนาคารอื่นอีกหรือเปล่า ซึ่งกรณีเหล่านี้เป็นหนึ่งในสาเหตุของวิกฤติปี 40
- สินทรัพย์ต่างๆที่ธนาคารถือมีโอกาสด้อยค่าอย่างมากหรือไม่ ทั้งในส่วนของ พอร์ตสินเชื่อ สินทรัพย์ค้ำประกัน และ ตราสารทางการเงิน
- ข้อมูลต่างที่นำเสนอเป็นของมูลของธนาคารทั้งระบบที่แบงก์ชาติกำกับ ซึ่งแน่นอนว่าแต่ละธนาคารแข็งแกร่งไม่เท่ากัน และอาจมีความเสี่ยงที่แตกต่างกันอย่างมากก็ได้

ในปัจจุบันนี้ ค้าขายฝืดเคือง หลายๆประเทศในโลกเกิดปัญหา บริษัทยักษ์ใหญ่เก่าแก่ของโลกอย่าง GE ของอเมริกาขาดเงินสด เป็นยุคที่ต่อให้บริษัทยักษ์ให้ของโลกจะล้มก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ

และก็คงเป็นยุคที่เราคงจะต้องคอยตรวจสอบธนาคารที่เราฝากเงินเพื่อที่จะไม่ให้เงินที่เราอุตสาห์เก็บออมต้องหายไปด้วยเช่นกัน

#ADMINสรธร #SORATHORN_WATTANAMALACHAI #DINOTECH5_0 #คุยการเงินกับที

สนับสนุนข่าวโดย ICMarkets
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"