forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ทองคำของจีนมากพอจะเปลี่ยนเข้าสู่ระบบการเงิน Hard Currency หรือไม่

จีนรุ่นใหม่เป็น Keynesian หรือเปล่า ..เราพอจะแน่ใจได้ว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลจีนที่กำลังเข้าสู่วัยกลางคนส่วนใหญ่มีความคิดไปทางตะวันตกที่เป็นผลจากแนวทางการศึกษาของพวกเขา โดยเฉพาะสาขาที่สำคัญคือส่วนที่เกี่ยวกับการเงินและเศรษฐกิจ

..มีการแบ่งแยกกับกลุ่มอนุรักษ์ที่สูงวัยกว่า ตัวอย่างที่เด่นชัดเลยก็คือ ปธน.สี เอง ..เหล่าผู้อาวุโสที่นำสภาแห่งประชาชนก็อายุมากกันแล้ว ผู้มารับช่วงก็มีการวิเคราะห์เศรษฐกิจของประเทศต่างออกไป จากการศึกษาที่ได้รับมาจากมหาวิทยาลัยตะวันตก

มันก็ยังไม่ใช่ปัญหาที่เด่นชัดนักในสภาพเศรษฐกิจการเงินในปัจจุบัน ตราบใดที่มันยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่เป็นการรื้อโครงสร้างสถานะภาพเดิมๆ ..กลไกของรัฐก็ยังคงเดินไปเป็นปกติ ....แต่เมื่อ (ไม่ใช่ "ถ้า" ) ..เมื่อวิกฤติการเงินและเครดิตของโลกเกิดขึ้น การร่วมมือกันในการจัดการ..คงจะเริ่มเป็นปัญหา

บทความนี้จะเป็นแนวคิดถึงปัญหาวิกฤติเครดิตในมุมมองของจีน .......เมื่อดูจากสัญญานวงจรเครดิตในอเมริกาและความไร้เสถียรภาพในตลาดการเงินของโลก วิกฤติที่จะเกิดคงเกิดขึ้นทันทีทันใด ..จีนต้องมีการเตรียมการเรื่องระบบการเงินของตนที่แยกออกจากระบบเงินเฟียตของโลก ..ซึ่งในการนี้ จีนจำต้องทิ้งแนวทางเศรษฐกิจแบบ neo-Keynesian ของโลกตะวันตก..ที่ตลอดเวลาที่ผ่านมาถูกนำมาใช้เป็น mainspring ของการก้าวกระโดดความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของตน

ในเมื่อรัฐบาลจีนเต็มไปด้วยนักเศรษฐศาสตร์หัวตะวันตก จีนจะยังเหลือสามัญสำนึกพอที่จะเข้าใจถึงอันตรายจริงๆของระบบเงินเฟียตของตะวันตกอยู่หรือ? ยังคงต่อยอดระบบ sound-money ที่คนรุ่นก่อนหน้าสะสมทองคำมารอไว้ให้แล้วหรือ? จะให้การศึกษาประชาชนของตนให้เห็นถึงความจริงข้อนี้ได้หรือ?

จีนต้องมีความกล้าที่จะละทิ้งคำแนะนำจากนโยบายเศรษฐกิจที่ผิดๆของตะวันตก หรือจากการชี้ผิดชี้ถูกของนักสังเกตุการณ์ตะวันตก ..ซึ่งถ้าผ่านพ้นไปได้ จีนจะผ่านพ้นวิกฤติไปด้วยความแข็งแกร่งที่เหนือกว่าโลกตะวันตกมากนัก ที่ไม่อาจจินตนาการได้เลย

Post-Mao Financial and Monetary Strategy
ยุทธศาสตร์ด้านการเงินหลังยุคเหมาเจ๋อตง

หลังการอสัญกรรมของเหมาเจ๋อตงในปี 1976 ผู้นำจีนยุคต่อๆมาต้องพยายามรักษาความเป็นหนึ่งเดียวของชนในชาติแบบไม่ใช้กำลัง ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการแตกแยก..จากการที่มีกลุ่มเชื้อชาติที่แตกต่างกันอยู่ถึง 40 เชื้อชาติ

ในหมู่ผู้นำบางคน ได้สังเกตุเห็นความสำเร็จของฮ่องกงและสิงคโปร์ที่ขับเคลื่อนโดยชาวจีนโพ้นทะเล ทำให้คิดว่าพรรคคอมมูนิสต์จีนจำต้องใช้ประโยชน์จากระบบทุนนิยมในขณะที่ฝ่ายตนยังอยู่ในอำนาจทางการเมืองอยู่ ..ปธน.หัวโก้ะฝงผู้ซึ่งเข้ารับตำแหน่งแทนเหมาอยู่ได้ไม่มากกว่า 1 ปี ถูกยกไปขึ้นหิ้ง ..ผู้เข้ามาแทนที่ที่ได้สร้างจีนขึ้นมาใหม่คือ เติ้งเสี่ยวผิง ...

ในช่วงปลายของ 1970s เติ้งผู้ซึ่งเกลียดโซเวียตที่เข้ามาก้าวก่ายกับเวียตนามมากไป ได้ยกให้ USSR เป็นศัตรูอันดับต้นของจีน...จีนจึงสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อสหรัฐทางยุทธศาสตร์ ในฐานะที่มีศัตรูร่วมกัน

รากฐานความสัมพันธ์ได้มีการก่อตัวมาตั้งแต่ ปธน.นิกสันเยือนจีนตั้งแต่ปี 1972 นั่นแล้ว สหรัฐจึงพร้อมจะช่วยให้จีนเปิดตัวออกสู่โลกภายนอก ..ตลอดช่วงปี 1980s ความสัมพันธ์จึงนำไปสู่การลงทุนโดยธุรกิจของอเมริกันและชาติตะวันตก โดยถือเอาความได้เปรียบจากค่าแรงงานที่ถูก และการย่อหย่อนทางกฏระเบียบต่างๆ

ก่อนปี 1983 ธนาคารกลางของจีน The People's Bank Of China (PBOC) มีปัญหาจากการเพิ่มขึ้นของสกุลเงินตราต่างประเทศในมือเร็วเกินไป จากการที่จีนซื้อสกุลเงินต่างประเทศ เพื่อเพิ่มปริมาณเงินหยวนหมุนเวียนในประเทศ ..ทั้งยังมีเงินทุนไหลเข้าอีกด้วย จีนต้องพยายามจัดการรักษาให้ค่าเงินหยวนให้ต่ำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ

นอกจากการจัดการกับเงินตราต่างประเทศแล้ว PBOC ยังมีหน้าที่รับผิดชอบต่อปริมาณทองคำและซิลเวอร์ซึ่งจีนซื้อเข้าตามนโยบาย offset ..(นโยบายชดเชยในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ).....เวลานั้นสาธารณชนของจีนยังไม่ได้รับอนุญาตให้ครอบครองทั้งทองคำและซิลเวอร์

ในยุคนั้น วัตถุประสงค์การครอบครองทองคำของรัฐบาลจีนก็เพียงแค่การกระจายทุนสำรองของประเทศเท่านั้น ..พวกผู้นำรู้ดีถึงความแตกต่างของทองคำและเงินเฟียต เหมือนพวกอาหรับรู้ช่วงปี '70s และเยอรมันช่วง '50s ..เป็นความรอบคอบที่จะถือทองคำ physical เอาไว้บ้าง

นอกจากนี้ ทฤษฎีเศรษฐกิจแบบมาร์กซิสที่สอนในมหาวิทยาลัยในจีนทำให้นักศึกษาจีนฝังหัวกันแล้วว่า ระบบทุนนิยมแนวตะวันตกจะต้องล่มสลายอย่างแน่นอน และแน่นอนที่ว่าเงินสกุลเฟียตทั้งหลายแหล่จะต้องหมดค่าในที่สุด

การเก็บสะสมทองคำอย่างเงียบๆของจีนในช่วง '80s นับได้ว่าเป็นหลักประกันเมื่อเศรษฐกิจในอนาคตเกิดความไม่เสถียรขึ้น ..นี่เป็นเหตุผลที่มีการกระจายการถือครองไปในหน่วยงานหรือสถาบันต่างๆของรัฐ เช่น the Peoples Liberation Army, the Communist Party and the Communist Youth League ...ส่วนที่ถูกประกาศว่าเป็นทุนสำรองทางการเงินมีเพียงส่วนเล็กน้อย

มาถึงช่วงปี '90s เริ่มมีเงินจากต่างประเทศไหลเข้าที่เป็นผลจากการส่งออก ทำให้มีคนจีนชั้นเศรษฐีใหม่เกิดขึ้นมากในจีน ..ตอนนั้น PBOC ก็มีปัญหาแล้วกับจำนวนดอลล่าร์ที่ถืออยู่ ..ยังโชคดีอยู่บ้างที่ทองคำไม่เป็นที่ต้องการของตลาดตะวันตก แถมยังมีราคาที่ลดลงเรื่อยๆ ...PBOC จึงสามารถระบายดอลล่าร์ สะสมทองคำจำนวนมากอย่างเงียบๆในนามขององค์กรของรัฐ

แต่ก็เกิดมีเหตุผลใหม่ทางยุทธศาสตร์ในกรณีการสะสมทองคำขึ้น หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตรัสเซีย

การสิ้นสุดของ USSR เมื่อปี 1989 หมายความว่าไม่มีศัตรูร่วมของอเมริกาและจีนอีกแล้ว ยุทธศาสตร์ของทั้งคู่จึงเปลี่ยนไป ...นโยบายต่างประเทศของทั้งสองเริ่มเปลี่ยน สหรัฐเริ่มกังวลต่อการขึ้นมาเป็นมหาอำนาจใหม่ของจีนที่จะคุกคามต่ออำนาจของตนในระดับโลก

นโยบายการสะสมทองคำของจีนที่เคยเน้นเป็นการประกันต่อความไม่แน่นอนทางการเงิน จึงกลายมาเป็นการสะสมทรัพย์สินทางยุทธศาสตร์

ช่วงนั้นทองคำแท่งยังเป็นสิ่งที่หาได้ไม่ยาก เพราะธนาคารกลางตะวันตกมีการขายทองออกในช่วงราคาตก การขายทองคำที่โด่งดังของอังกฤษเกิดขึ้นโดย กอร์ดอน บราวน์ เมื่อตอนราคาร่วงต่ำสุดๆ โดยมีจีนเป็นฝ่ายซื้อ

ระหว่างปี 1983 ถึง 2002 ทองผลิตใหม่จากเหมืองจำนวน 42,460 ตันเข้าสู่ตลาด ในขณะที่โลกตะวันตกเป็นฝ่ายขายสุทธิมาตลอด

ตอนนี้จีนเป็นนายเหมืองทองคำระดับโลกไปแล้ว จีนมีการลงทุนในเหมืองทองทั่วโลกจำนวนมาก นอกเหนือจากที่มีการซื้อเข้าตลอดจนเป็นผู้กำหนดมาตรฐานของทองคำแท่งขนาดหนึ่งกิโลบาร์ ...ปัจจุบันจีนยึดการค้าทองคำในตลาดโลกไว้ในมือแล้ว

จีนตัดสินใจให้สาธารณชนของจีนสามารถซื้อและเป็นเจ้าของทองคำอย่างอิสระ หลังจากที่รัฐได้สะสมไว้ในจำนวนที่เพียงพอแล้ว

ประชาชนทั่วๆไปมีการซื้อสะสมรวมกันถึง 15,000 ตันจนถึงปัจจุบัน แต่การครอบครองเงินตราต่างประเทศยังคงเป็นข้อห้าม ..การได้เป็นเจ้าของทองคำจึงเป็นทางเลือก store of value แทนเงินหยวน ...มีการส่งมอบประมาณ 150-200 ตันอยู่ทุกเดือนจากตลาดทองเซี่ยงไฮ้สำหรับความต้องการส่วนนี้

นอกเหนือจากที่ได้มีการประกาศส่วนที่เป็นทุนสำรอง ไม่มีใครรู้จำนวนที่แน่นอนของทองคำที่รัฐถือครองอยู่ แต่ถ้าจะประเมินตั้งแต่ตอนที่มีเงินทุนไหลเข้าประเทศตั้งแต่ปี 1983 รวมไปถึงซัพพลายทองคำจากเหมือง ตลอดถึงการที่ราคาช่วงที่ตกตั้งแต่ 1980-2002 ...คิดว่า PBOC น่าจะมีอยู่รวมแล้ว 15,000-20,000 ตัน ก่อนที่จะอนุญาตให้ประชนสามารถเข้าซื้อได้ ..จีนน่าจะมีของจริงอยู่ถึง 10% ของจำนวนตัวเลขซื้อขายหลอกๆที่กำลังสร้างราคาให้ตลาดโลกอยู่

แน่ใจได้เลยว่าทองคำเป็นทรัพย์สินทางยุทธศาสตร์ของจีนและประชาชนของจีน ....คงคาดการณ์ไว้แล้วว่าในระยะยาว ทองคำจะกลับมาเป็น money อีกครั้งหนึ่ง นั่นคือการแบ้คค่าให้กับเงินหยวน

ปัญหาหนึ่งก็คือ เมื่อเวลาผ่านไป ผู้นำรุ่นใหม่ที่ร่ำเรียนมาแบบตะวันตกเริ่มเข้ามีบทบาท พวกเขาจะยังคงมองเห็นค่าของทองคำแบบที่คนรุ่นก่อนเห็นหรือไม่ พวกเขาเรียนรู้ถึงเหตุผลแท้จริงที่เป็นสาเหตุความล้มเหลวทางเศรษฐกิจของตะวันตกหรือไม่ ...ถ้ายังคงกอดตำราและนโยบายเดิมๆเอาไว้

ไม่ว่าแผนของจีนจะออกมาในรูปไหน ...สิ่งที่จะเกิดขึ้นแน่นอนคือ วิกฤติเครดิตจะเกิดขึ้นแน่ๆทั่วโลกที่จะมีผลกระทบกับทุกประเทศที่อยู่ในระบบเงินเฟียต .... เรื่องของอัตราดอกเบี้ยจะเป็นเรื่องใหญ่สำหรับหนี้จำนวนมหาศาลทั้งของรัฐและเอกชน

การกลับคืนสู่ระบบการเงินแท้จริง (sound money) ที่ถูกต้องเป็นทางแก้เดียวก่อนที่อำนาจซื้อของเงินเฟียตจะเหลือศูนย์ ...เวเนซูล่าเป็นแบบอย่างที่ดีว่าระบบ sound money จะแก้ปัญหาได้ แต่ก่อนจะถึงตอนนั้น..เส้นทางคงจะโหดขนาดรัฐบาลอาจอยู่ไม่ได้เลย

ถ้าคิดจะยื้อเวลาโดยเพิ่มเงินเข้าระบบก็มีแต่จะทำลายระบบไปเรื่อยๆ ..tactic นี้ก็พอแก้ไขไปได้ตอนเกิดวิกฤติเมื่อสิบปีก่อน แต่ถึงตอนนี้มันเป็นทางตันแล้ว

Alasdair Macleod is the Head of Research at GoldMoney.

คลิก

Cr.Sayan Rujiramora

สนับสนุนข่าวโดย ICMarkets
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"