forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

เศรษฐกิจดี หนี้ครัวเรือนกระฉูด

การจะเช็กอุณหภูมิเศรษฐกิจอเมริกา ว่าดีจริงหรือแค่ปั่นกันอยู่ในตลาดหุ้นนั้น ยังสามามารถดูได้จาก "ปริมาณหนี้" ที่ผู้บริโภคชาวอเมริกันเป็นหนี้ เป็นสินกันด้วย เพราะเศรษฐกิจสหรัฐนั้นอยู่บนฐานการบริโภคภายในประเทศที่มีสัดส่วนถึง 2 ใน 3 ของกิจกรรม

ทางเศรษฐกิจ ต่างจากเศรษฐกิจในเอเชียที่เน้นภาคการผลิตและส่งออกเป็นหลัก และทุกครั้งที่เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวดี ปริมาณหนี้ภาคครัวเรือนที่สะท้อนการใช้จ่ายและกู้เพื่อบริโภคของผู้คนทั่วไป ก็จะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวไปด้วย

ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจหากหนี้ครัวเรือนสหรัฐจะกลับมาพุ่งสูงสุดรอบใหม่อีกครั้ง ในภาวะหุ้นขึ้นและจีดีพีในประเทศขยายตัวร้อนแรงเช่นนี้

ล่าสุด ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์ก เปิดเผยปริมาณหนี้ครัวเรือนในสหรัฐประจำไตรมาส 3 ออกมาแล้วว่า หนี้ครัวเรือนสหรัฐไต่ระดับขึ้นไปสูงสุดทุบสถิติครั้งใหม่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว อยู่ที่ 13.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 443.41 ล้านล้านบาท) หรือมากกว่าจีดีพีของหลายประเทศในโลกนี้รวมกันเสียอีก

นอกจากสูงสุดเป็นประวัติการณ์แล้ว ก็ยังสูงกว่าช่วงปี 2008 ที่คนอเมริกันมือเติบถังแตกในวิกฤต ซับไพรม์ โดยมากกว่ากันถึงเกือบ ล้านล้านดอลลาร์ หรือเท่ากับว่าตลอด 10 ปีมานี้ ครัวเรือนอเมริกันก่อหนี้กันเพิ่มขึ้นอีก 8.37 แสนล้านดอลลาร์ (ราว 27.5 ล้านล้านบาท) อีกด้วย

อย่างไรก็ดี เฟดนิวยอร์กไม่ได้รีบออกโรงเตือนเป็นพิเศษกับปริมาณหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นทะลุทะลวงเช่นนี้ เพราะต้องไม่ลืมว่าสภาพเศรษฐกิจสหรัฐในปัจจุบันนั้น นับว่าแข็งแกร่งที่สุดในรอบหลายปี โดยล่าสุดจีดีพีไตรมาส 3 ยังขยายตัวได้ 3.5%

ขณะที่การจ้างงานยังอยู่ในระดับ ที่สูงมาก โดยอัตราว่างงานทั้งประเทศลดลงเหลือแค่ 3.3% หรือต่ำสุดในรอบหลายสิบปี จนถึงกับมีรายงานข่าวขาดแคลนคนมาทำงานในหลายอุตสาหกรรม ซึ่งเมื่อมีงานทำและได้รับการขึ้นค่าจ้าง ก็ทำให้รัฐบาลยังวางใจไปได้เปลาะหนึ่ง

เพียงแต่ตัวเลขหนี้มหาศาล เช่นนี้จะกลายเป็นเรื่องน่าห่วงทันที หากเศรษฐกิจสหรัฐประสบภาวะ ติดขัดขึ้นมาทางใดทางหนึ่ง ไม่ว่าจะ มาจากปัจจัยในหรือนอกประเทศ และจะสะเทือนไปทั้งระบบการบริโภคนิยมของสหรัฐ

และในบรรดาหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นครั้งนี้ยังพบด้วยว่า "สินเชื่อเพื่อการศึกษา" มีปริมาณสูงขึ้นและมี แนวโน้มด้อยคุณภาพลงมากขึ้นด้วย ซึ่งบ่งชี้ถึงปัญหาด้านวินัยการเงิน ที่เป็นจุดเริ่มต้นไปสู่ปัญหาอื่นๆ ตามมา

สินเชื่อเพื่อการศึกษา หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นหนี้ กยศ.ในสไตล์อเมริกานั้น เป็นสินเชื่อที่เด็กนักศึกษาจำนวนมากต้องกู้ยืมเพื่อส่งตัวเองเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัย เพราะไม่ได้มีพ่อแม่หรือผู้ปกครองช่วยส่งให้ ปัจจุบันสินเชื่อประเภทนี้มีอัตราขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนเมื่อไตรมาสแรกของปีนี้ ตัวเลขได้ขยายตัวเพิ่มมากกว่า 3 เท่า ของตัวเลขเมื่อปี 2004 ไปเรียบร้อยแล้ว ขณะที่ตัวเลขล่าสุดอยู่ที่ราว 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ (ราว 46 ล้านล้านบาท)

ที่สำคัญก็คือ อัตราการผิดนัดชำระหนี้ที่มีระยะ 90 วัน หรือนานกว่านั้น (Serious Deliquency) ได้เพิ่มขึ้นจาก 8.6% เมื่อไตรมาสก่อนหน้า ไปอยู่ที่ 9.1% ในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นอัตราการผิดนัดชำระหนี้ที่ขยายตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 7 ปี

ตัวเลขนี้หมายความว่า หนี้ภาคครัวเรือนของสหรัฐเริ่มมีอาการผิดนัดชำระหนี้กันมากขึ้น จากสินเชื่อรถยนต์ มาสู่สินเชื่อบัตรเครดิต และลามมาถึงเงินกู้ กยศ.ล่าสุด

แต่เดิมนั้นสินเชื่อเพื่อการศึกษา ในอเมริกาถือเป็นหนี้ครัวเรือนคุณภาพดี เพราะมีการพัฒนาดีขึ้นในช่วงหลายปีมานี้ แตกต่างจากสินเชื่อรถยนต์ที่ เริ่มพบอัตราการผิดนัดชำระหนี้แบบ Serious Deliquency มากขึ้นตั้งแต่ปี 2012 ขณะที่สินเชื่อบัตรเครดิตเริ่มพบปัญหาดังกล่าวมากขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว เท่ากับว่าปัจจุบันมีหนี้ครัวเรือนหลายประเภทมากขึ้นที่เจอปัญหาจ่ายหนี้ไม่ตรงเวลา

การที่หนี้ กยศ.มีอัตราผิดนัดรุนแรงเพิ่มขึ้น ยังดันให้หนี้ครัวเรือน
ในภาพรวมมีอัตราผิดนัดชำระหนี้ Serious Deliquency เพิ่มขึ้นตามไปด้วย อยู่ที่ 4.7% จากเดิม 4.5% ในไตรมาสก่อนหน้า

ยิ่งสหรัฐกำลังเข้าสู่ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น อัตราหนี้ครัวเรือนตั้งแต่บ้าน รถยนต์ บัตรเครดิต ไปจนถึงเงินกู้ กยศ.ที่เพิ่มขึ้น ก็ยิ่งสร้างความกังวลว่าผู้บริโภคจะต้องแบกรับต้นทุนกู้ยืมที่แพงขึ้นตามไปด้วย เช่นในปี 2018 นี้ที่จะมีการขึ้นดอกเบี้ย 4 ครั้ง รวม 1% และในปีหน้าอีก 3 ครั้ง ซึ่งยิ่งกู้มาเยอะก็ยิ่งต้องจ่ายดอกแพงขึ้น โดยเฉพาะเงินกู้บ้าน ซึ่งปัจจุบันสินเชื่อบ้านคิดเป็นสัดส่วนก้อนใหญ่ที่สุดของหนี้ครัวเรือนสหรัฐ โดยอยู่ที่ 9.1 ล้านล้านดอลลาร์ (ราว 300 ล้านล้านบาท)

การที่อัตราการก่อหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นมาหลายไตรมาส โดยล่าสุดไตรมาส 3 ที่ขึ้นมา 2.19 แสนล้านดอลลาร์ (เกือบ 7.2 ล้านล้านบาท) จากไตรมาส 2 หรือเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2016 ท่ามกลางคุณภาพหนี้ ที่ลดลง จึงเป็นสัญญาณที่เฟดต้องจับตาอย่างใกล้ชิดเช่นกัน ก่อนที่จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ให้ต้องนั่งตาม แก้กันไม่รู้จบอีกครั้ง

โดย นันทิยา วรเพชรายุทธ

Source: Posttoday

สนับสนุนข่าวโดย ICMarkets
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"