forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ประเทศที่เล็กเพียง1ใน10ของไทยกลับส่งออกพืชผักมากเป็นอันดับ2ของโลก

ยี่สิบปีก่อนเนเธอร์แลนด์บรรจุเรื่องการใช้เทคโนโลยีด้านเกษตรกรรมให้เป็นวาระแห่งชาติ ตั้งเป้าว่าผลผลิตจะต้องออกมา2เท่าโดยใช้ทรัพยากรแค่ครึ่งเดียว นับจากนั้นประเทศเล็กๆแห่งนี้ก็ใช้พื้นที่ครึ่งหนึ่งไปกับเกษตรกรรม แม้จะอยู่ห่างจากขั้วโลกเหนือไม่มาก

แต่ประเทศนี้ก็รายล้อมไปด้วยฟาร์มเรือนกระจก บวกกับการผสมผสานของเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น โดรน แทรคเตอร์ไร้คนขับ และ หลักการ "Precision Farming" ซึ่งทำให้พืชผักนั้น มีเซนเซอร์อ่านค่าและวิเคราะห์ปัจจัยที่สำคัญในการเติบโตของพืช จนค้นพบว่าพืชที่ปลูกที่นั่นสามารถโตได้โดยใช้ "นำ้แค่1ใน10" ของวิธีปรกติ มูลค่าการส่งออกจึงสูงโดยใช้พื้นที่และทรัพยากรไม่มาก

มันสมองของเรื่องทั้งหมดมีศูนย์กลางอยู่ที่ Wageningen University & Research (WUR) มหาวิทยลัยที่มีงานวิจัยด้านเกษตกรรมติดอันดับต้นๆของโลก นอกจากงานวิจัยด้านเกษตรกรรมก็ยังมีส่วนช่วย start-up ออกมาลงทุนทำธุรกิจในด้านนี้อีกด้วย มุมมองของทางมหาวิทยาลัยคือ ประชากรโลกจะเพิ่มมากขึ้นในอีก 40 ปีนี้ และเราจะต้องผลิตอาหารมากกว่า8,000ปีที่ผ่านมารวมกัน เพื่อจะป้อนให้คนทั้งโลกไม่อดอยาก

เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าไปมาก ก็มีการคนพบว่า Precision Farming นั้นสามารถทำให้พืชโตในที่ๆแตกต่างออกไปได้ เช่นในตึกอาคาร (นึกถึงตึกลักษณะเหมือนห้างเทสโก้โลตัสที่ข้างในมีฟาร์มพืชตั้งเป็นชั้นๆ) ส่วนใหญ่บริษัทเหล่านี้ยังเป็นบริษัท Start up ที่อาจฟังดูเป็นแค่บริษัทเล็กๆแต่เบื้องหลังนั้นบางบริษัทมีการระดมทุนกันถึง 200 ล้านเหรียญสหรัฐเลยทีเดียว บริษัทเหล่านี้ใช้ไฟ LED แทนแสงอาทิตย์ และ พ่นสารอาหารให้พึชแทนปุ๋ย โดยเป้าหมายคือทำให้ต้นทุนในการปลูก (หนักๆคือค่าไฟ ค่าคน) ให้ลดลงเหลือเท่าๆกับการปลูกแบบธรรมชาติ เมื่อเป็นเช่นนั้นได้เมื่อไหร่ เราก็สามารถปลูกพึชผักไว้กินเองตามอาคารบ้านเรือน คอนโด ทาวเฮาส์ไว้กินเองในครัวเรือนได้ บริษัทพวกนี้ก็จะมีหน้าที่ขายเทคโนโลยี และ อุปกรณ์ให้

กลับมาถึงประเทศไทย ดูเหมือนเรายังต้องการการปรับตัวอีกมาก ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา เราหันหลังให้งานวิจัยด้านการเพาะปลูก ปี1994งบการวิจัยด้านนี้อยู่ที่0.9%ต่อGDP แต่ปัจจุบันเหลือเพียง0.2% มหาวิทยาลัยรังสิตเคยลองปลูกข้าวหอมปทุมด้วยระบบ Precision Farming ซึ่งทำให้ได้ผลผลิตมากขึ้นถึง 27% แต่ชาวนาส่วนใหญ่ก็ไม่มีเงินพอที่จะลงทุนนำเอาเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ ด้วยส่วนใหญ่แล้ว 43% ของชาวนานั้นมีที่ไม่ถึง 10 ไร่ การลงทุนจึงไม่คุ้มค่า จึงมีแต่เจ้าใหญ่ๆอย่าง มิตรผล CPF และ เบทาโกล เอาเทคโนโลยีนี้มาใช้เพิ่มผลผลิต

เท่าๆที่อ่านดูแล้วก็รู้สึกหวั่นๆเล็กๆว่าประเทศไทยจะยิ่งถอยหลังในการผลิตพืชผลออกสู่ตลาดโลกหรือไม่ ท่านผู้อ่านคิดเห็นยังไงบ้างครับ?

บอม

คลิก

คลิก

คลิก

Cr.DinoTech5.0

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"