forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

คุมภาระต่อรายได้ไม่เกิน 60% 'แบงก์'ห่วงรายย่อยหนี้สูง

แบงก์เริ่มคุมเข้มสินเชื่อรายย่อย กำหนดภาระหนี้ต่อรายได้ผู้กู้ต้องไม่เกิน 40-60% หลังก่อนหน้ายอมเสี่ยงปล่อยกู้ให้กลุ่มที่มีภาระหนี้ต่อรายได้ 80-100%หวั่นมีปัญหาผิดนัดชำระและเป็นเอ็นพีแอล"กรุงศรี"สั่งเข้มปล่อยกู้บ้านสัญญาที่2-3เพิ่มขณะที่กสิกรชี้มาตรฐาน

การปล่อยกู้แต่ละแบงก์เปิดช่องคนสร้างภาระหนี้เพิ่มเกินรายได้

นายนริศ สถาผลเดชา เจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics กล่าวว่า ปัจจุบันเริ่มเห็นสถาบันการเงินผ่อนเกณฑ์การให้สินเชื่อ โดยให้สินเชื่อกับผู้กู้ที่มีภาระหนี้สูงขึ้น โดยเฉพาะกับลูกหนี้ที่มีภาระหนี้ต่อรายได้เกิน 50 %ขึ้นไปทำให้เกิดปัญหาผิดนัดชำระหนี้และเป็นเอ็นพีแอลตามมา

ทั้งนี้เรื่องภาระหนี้ต่อรายได้ ไม่ใช่ข้อบังคับ หรือเกณฑ์ตายตัวในการใช้พิจารณาปล่อยกู้ แต่ให้เป็นดุลพินิจของสถาบันการเงินต่างๆในการพิจารณาตามความเสี่ยงและความเหมาะสม ซึ่งแต่ละแบงก์มีมาตรฐานให้สินเชื่อไม่เหมือนกัน ถือเป็นจุดบอดที่อาจทำให้เกิดความเสี่ยงในระบบ และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง "การให้กู้กับผู้ที่มีภาระหนี้ต่อรายได้สูงมีทิศทางเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดูจากยอดคงค้างสินเชื่อแต่ละประเภทที่พบว่าสูงขึ้นในช่วง 1-2 ปีนี้ จุดบอดสำคัญคือเพราะแบงก์มีการเข้มงวดไม่เท่ากัน จึงอาจทำให้เกิดปัญหาได้ เชื่อว่าระยะข้างหน้าธปท.อาจมีการกำชับสถาบันการเงินให้มีมาตรฐานในการดูภาระหนี้ต่อรายได้ผู้กู้ให้มีความสมดุลด้วย"

นายพงษ์อนันต์ ธณัติไตร ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านธุรกิจลูกค้ารายย่อยและเครือข่ายการขาย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ธนาคารระมัดระวังมากขึ้น ในการปล่อยสินเชื่อกับกลุ่มที่มีภาระหนี้ต่อรายได้สูง(DSR) หรือผู้กู้ที่ต้องการซื้อบ้านสัญญาที่2เป็นต้นไปความเสี่ยงของธุรกิจแบงก์ หลักๆมาจากหนี้เอ็นพีแอล ที่มาจากการปล่อยกู้กลุ่มลูกค้าที่ไม่มีศักยภาพ หรือกลุ่มที่มีภาระหนี้สูงเกิน80% หรือเกิน100% ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้เกิดหนี้เสียในระบบเพิ่มขึ้น ดังนั้นสิ่งที่ธนาคารต้องระมัดระวังมากขึ้น คือการเข้าไปดูภาระหนี้ ไม่ปล่อยกู้กับผู้กู้ที่มีภาระหนี้ต่อรายได้เกิน 60%

"สิ่งที่ต้องระวังมากขึ้น คือการเข้าไปดูภาระหนี้ต่อรายได้ผู้กู้ ทุกวันนี้บางแบงก์ก็ปล่อยกู้กับคนที่มีภาระตั้งแต่ 60-80% บางแบงก์ หรือนอนแบงก์ให้กันจนเกิน100% แต่บางคนก็อ้างว่ามีรายได้พิเศษ ดังนั้นสิ่งที่เราต้องเข้าไปพิสูจน์ตัวนี้มากขึ้น รวมถึงลูกค้ากลุ่มอาชีพอิสระเราก็เข้มมากขึ้น และจะเห็นว่าช่วงที่ผ่านมาผ่านการอนุมัติยากขึ้น"

นายวีรวัฒน์ ปัณฑวังกูร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ความเสี่ยงสินเชื่อ ส่วนหนึ่งมาจากมาตรฐานการให้สินเชื่อ ที่ไม่ได้คิดความเสี่ยงบนมาตรฐานเดียวกัน บางแห่งให้กู้กับคนที่มีภาระหนี้สูงเกิน 80% หรือให้เกิน 100% บางแบงก์อาจคุมเข้มภาระหนี้ต่อรายได้ไม่เกิน40% เป็นต้น

ทั้งนี้ การกำหนดภาระหนี้ต่อรายได้ของธนาคาร หากเป็นสินเชื่อบ้านต้องมีภาระหนี้ไม่เกิน40-50 % ส่วนสินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคลภาระหนี้ไม่ควรเกิน 60 % ซึ่งหากผู้กู้มีภาระหนี้เกินเกณฑ์กำหนดแบงก์ก็อาจปฏิเสธในการให้กู้

"ปัญหาวันนี้คือ แม้แบงก์จะประเมินดีแล้วโดยให้กู้กับคนที่มีภาระไม่สูง แต่หลังให้กู้ไปแล้วก็พบว่า ผู้กู้ยังไปสร้างภาระหนี้เพิ่มขึ้น กับสถาบันการเงินอื่นๆหรือนอนแบงก์ เมื่อเงินตึงตัว รายได้ไม่พอจ่ายหนี้ ก็กระทบการชำระหนี้ทั้งก้อน"

นางสาวอรอนงค์ อุดมก้านตรง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผลิตภัณฑ์สินเชื่อรายย่อย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า ธนาคารได้เข้มงวดในการดูภาระหนี้ต่อรายได้ของผู้กู้อยู่แล้วในช่วงที่ผ่านมา ทั้งการนำเทคโนโลยีใหม่และนำเครื่องมือในการวัดพฤติกรรมการชำระหนี้ และตรวจสอบรายได้ต่างๆ หรือทำเครดิตสกอริ่ง เข้ามาช่วยวิเคราะห์เพื่อพิสูจน์รายได้ของลูกค้าเพื่อให้ภาระหนี้ต่อรายได้สะท้อนความเป็นจริงมากที่สุดก่อนปล่อยกู้ ซึ่งทำให้เอ็นพีแอลของธนาคารอยู่ในระดับต่ำกว่า3% จากปลายปีก่อนที่3.4% ทั้งนี้ตามเกณฑ์ของธนาคารแม้จะไม่มี

เกณฑ์การกำหนดภาระหนี้ต่อรายได้ตายตัว แต่เฉลี่ยแล้วเชื่อว่าเกณฑ์ที่เหมาะสมต้องปล่อยกู้กับผู้กู้ที่มีภาระหนี้ต่อรายได้ไม่เกิน 60 %ในสินเชื่อบุคคล บัตรเครดิต ขณะที่สินเชื่อบ้าน40%

นายไพโรจน์ ชื่นครุฑ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านธุรกิจสินเชื่อยานยนต์ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า การประเมินการปล่อยสินเชื่อให้ลูกค้านั้น เราปล่อยให้ลูกค้าตามความสามารถชำระหนี้จริงไม่โอเวอร์เกินไป โดยปล่อยแบบระมัดระวัง แต่ยืนยันตอนนี้ยังไม่ได้ถึงระดับเข้มงวด แต่อาจมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการตรวจสอบด้วย ขณะที่การประเมินภาระหนี้ต่อรายได้ของลูกค้า บริษัทจะดูตามฐานเงินเดือนและความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าเป็นหลัก โดยนโยบายของบริษัทหนี้สินของลูกค้าที่ขอกู้ต้องไม่เกินหรือสูงกว่า 2 เท่าของเงินเดือน

Source: กรุงเทพธุรกิจ

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"