forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ดอยช์แบงก์(Doutche Bank)เขย่าโลก วิกฤตธนาคารยังไม่ยอมจบง่ายๆ

หลังจากที่เผชิญราคาหุ้นดิ่งลงอย่างหนักจนแตะระดับต่ำสุดทุบสถิติมาแล้วหลายครั้งในเดือนนี้ ล่าสุดหุ้นของ "ดอยช์แบงก์" (Doutche Bank)ธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ที่สุดในเยอรมนีและยุโรป ก็เริ่มมีข่าวดีบ้างว่าจะเจรจาลดเงินค่าปรับกับสหรัฐได้

จนไต่ระดับขึ้นไปได้อีกครั้งหลังเปิดตลาดวันแรกของไตรมาส 4 เมื่อวันที่ 3 ต.ค.นี้ และคลายความกังวลทำให้ตลาดหุ้นทั้งในเอเชียและยุโรปปรับตัวขึ้นตามไปด้วย

ความกังวลที่ว่านั้นก็คือ ดอยช์แบงก์กำลังประสบกับปัญหาทางการเงินครั้งใหญ่จนเสี่ยงต่อภาวะล้มละลาย ซึ่งอาจจะกลายเป็นชนวนให้เกิดวิกฤตการณ์การเงินโลกครั้งใหม่เหมือนเลห์แมน บราเธอร์ เมื่อปี 2008

มรสุมลูกใหม่ที่กำลังกระหน่ำดอยช์แบงก์ในขณะนี้ก็คือ คดีความกับกระทรวงยุติธรรมสหรัฐจากการซื้อขายตราสารที่อิงกับสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ (MBS) ในช่วงวิกฤตซับไพรม์ปี 2008 ซึ่งดอยช์แบงก์อาจเผชิญค่าปรับสูงถึง 1.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 4.85 แสนล้านบาท)

ลำพังค่าปรับเกือบ 5 แสนล้านบาท เมื่อเทียบกับรายได้ที่แบงก์ใหญ่ระดับต้นๆ ของโลกทำเงินได้ในแต่ละปี คงไม่ใช่เหตุผลเดียวที่ทำให้ทั่วโลกวิตกถึงวิกฤตครั้งใหม่ในรอบ 8 ปี แต่เป็นเพราะค่าปรับมหาศาลครั้งนี้ยิ่งเป็นปัจจัยลบที่ฉุดดอยช์แบงก์ให้ย่ำแย่ลงอีกจนเสี่ยงต่อการดิ่งลงเหว หลังจากที่มีปัญหาต่างๆ สั่งสมมาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และสะท้อนให้เห็นว่าวิกฤตการณ์ในภาคการเงินโลกยังไม่ได้คลี่คลายลงทั้งหมดอย่างสมบูรณ์ อย่างน้อยก็ภาคธนาคารในยุโรป

กรณีของดอยช์แบงก์นั้นอาจถือได้ว่าเป็นทั้งกรณีเฉพาะและกรณีร่วมของแบงก์ใหญ่ในฝั่งตะวันตก แม้จะได้ชื่อว่าเป็นธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ที่สุดเบอร์ 1 ในเยอรมนี ต่างจากพวกเลห์แมน บราเธอร์ส โกลด์แมน แซคส์ และเจพีมอร์แกน ที่เป็นกลุ่มวาณิชธนกิจ หรือธนาคารเพื่อการลงทุนโดยเฉพาะ แต่ดอยช์แบงก์ก็ถือเป็นแบงก์พาณิชย์ที่โดดเด่นในเรื่องการลงทุนไม่แพ้วาณิชธนกิจ โดยเฉพาะกลุ่มตราสารทางการเงินที่มีความซับซ้อน

ขณะที่ธรรมชาติของสังคมและเศรษฐกิจเยอรมนีที่ออกไปทางอนุรักษนิยม คือเน้นการออมมากกว่าก่อหนี้เพื่อเดินหน้าธุรกิจกันอย่างหวือหวาเหมือนในฝั่งสหรัฐ ก็ทำให้ดอยช์แบงก์ต้องดิ้นรนออกไปเติบโตนอกบ้านมากกว่าจะจำกัดอยู่แค่ฐานะเบอร์ 1 ในเยอรมนี หรือเบอร์ 3 ในยุโรปเท่านั้น และทำให้ดอยช์แบงก์ต้องพึ่งฝ่ายธนาคารเพื่อการลงทุนเป็นช่องทางในการทำเงินหลักมากกว่าช่องทางปกติของแบงก์พาณิชย์ทั่วไป

ผลก็คือยุทธศาสตร์นี้ทำให้ดอยช์แบงก์กลายเป็นธนาคารใหญ่ที่เป็นเสาหนึ่งในระบบเศรษฐกิจยุโรป และมีความเกี่ยวโยงไปทั่วโลกจากการเข้าไปลงทุนและขยายสาขาในประเทศต่างๆ กว่า 70 ประเทศ มีพนักงานถึงราว 1 แสนคน

แต่ขณะเดียวกันก็เป็นแบงก์ที่เสี่ยงที่สุดแห่งหนึ่งจากการลงทุนความเสี่ยงสูงในตราสารอนุพันธ์ต่างๆ เช่น หุ้นกู้แปลงสภาพแบบมีเงื่อนไข (โคโคบอนด์) ซึ่งดอยช์แบงก์เข้าไปเล่นมากที่สุดรายหนึ่งในกลุ่มสถาบันการเงินทั้งหมด โดยถือครองโคโคบอนด์เฉพาะที่มีกำหนดไถ่ถอนในปี 2017 ถึง 4,300 ล้านยูโร (ราว 1.67 แสนล้านบาท) การลงทุนความเสี่ยงสูงเช่นนี้ ทำให้แบงก์ระส่ำระสายมาแล้วในช่วงต้นปี 2016 เนื่องจากเกิดความวิตกกันว่าแบงก์อาจจะไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยได้ หรืออาจถึงขั้นปล่อยให้หุ้นตกเพื่อบังคับแปลงสภาพหุ้นกู้ดังกล่าวเป็นหุ้นสามัญ

ยิ่งขยายตัวไปลงทุนทั่วโลกและมีการทำธุรกรรมกับสถาบันการเงินต่างๆ ในหลายประเทศ ก็ยิ่งทำให้ความเสี่ยงของดอยช์แบงก์ขยายตัวไปตามโลกาภิวัตน์ด้วย ซึ่งทางกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เคยระบุถึงดอยช์แบงก์เมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ว่าเป็นธนาคารที่อันตราย (เสี่ยง) ที่สุดในโลก

ที่ผ่านมาในช่วงวิกฤตการณ์ภาคการเงินปี 2008 หลายแบงก์ทั้งในฝั่งสหรัฐและยุโรปต่างไปไม่รอดเพราะขาดทุนกันถ้วนหน้าจากการลงทุน ซับไพรม์ และต้องบากหน้าขอเงินภาษีจากรัฐบาลในประเทศมาช่วยอุ้มพยุงกิจการ เช่น ธนาคารยูบีเอสและธนาคารเครดิตสวิส แม้ทางดอยช์แบงก์จะสามารถเอาตัวรอดมาได้โดยไม่ต้องพึ่งเงินรัฐ แต่ก็ถือว่าได้พลาดโอกาสในการ "ปรับสมดุลโครงสร้างธุรกิจ" โดยเฉพาะสมดุลเรื่องความเสี่ยงในการลงทุน

การถูกซ้ำจากค่าปรับในคดีความต่างๆ จึงเป็นมรสุมที่ยิ่งกดดันธนาคาร ซึ่งไม่ได้มีแค่กรณีกับกระทรวงยุติธรรมสหรัฐเกือบ 5 แสนล้านบาทเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายคดีตลอดช่วงที่ผ่านมา เช่น การปั่นอัตราดอกเบี้ยไลบอร์ ที่ต้องจ่ายค่าปรับไปถึง 2,500 ล้าน เหรียญสหรัฐ (ราว 8.65 หมื่นล้านบาท) ในปีที่แล้ว และการปั่นราคาทองคำและเงินในปีนี้ แต่ไม่มีการเปิดเผยค่าปรับที่แน่ชัด

ภาวะความเสี่ยงสูงเช่นนี้เองที่เป็นแรงกดดันต่อเนื่องไปถึงการดำรงเงินกองทุน ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ตามมา เพราะดอยช์แบงก์ก็เป็นหนึ่งในแบงก์ทั่วยุโรปที่กำลังเผชิญปัญหาความสามารถในการทำกำไรลดลง ภายใต้บรรยากาศอัตราดอกเบี้ยติดลบ 0.4% ของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ที่ฉุดให้ผลตอบแทนของพันธบัตรทั่วโลกดิ่งลงไปด้วย ขณะที่บรรยากาศเศรษฐกิจการค้าทั่วโลกที่ยังซบเซา หรือกระเตื้องขึ้นน้อยกว่าที่คาดในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ก็ทำให้แบงก์ยังไม่อาจคาดหวังกับรายได้จากการปล่อยกู้และธุรกรรมต่างๆ ได้มากนัก

อย่างไรก็ตาม ความกังวลว่าดอยช์แบงก์จะกลายเป็นโดมิโนแห่งหายนะลูกใหม่เหมือนเลห์แมน บราเธอร์ จนฉุดให้หุ้นร่วง และกองทุนหลายแห่งทยอยถอนการลงทุนจากดอยช์แบงก์นั้น อาจยังไม่น่ากังวลมากอย่างที่คาดไว้ เพราะหากพิจารณาจากบทเรียนเมื่อปี 2008 แล้ว รัฐบาลเยอรมนีไม่น่าจะปล่อยให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำสอง

แม้ว่าหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นบางฉบับในเยอรมนีจะรายงานในทำนองว่ารัฐบาลนายกรัฐมนตรี อังเกลา แมร์เกิล จะไม่เอาเงินภาษีประชาชนไปอุ้มดอยช์แบงก์หากปัญหาลุกลามถึงขั้นวิกฤตจนเสี่ยงล้ม แต่บรรดานักวิเคราะห์ทั่วโลกยังคงเชื่อว่าเยอรมนีจะไม่ปล่อยให้ตนเองเป็นผู้ก่อวิกฤตเศรษฐกิจโลกขึ้นอีกครั้ง

ขณะเดียวกันยังเริ่มมีรายงานข่าวออกมาว่าดอยช์แบงก์อาจสามารถเจรจาลดค่าปรับกับกระทรวงยุติธรรมสหรัฐในเคสล่าสุดลงได้มากกว่าครึ่งเหลือ 5,400 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.89 แสนล้านบาท) ซึ่งแม้จะเป็นภาระก้อนใหญ่ แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่ไม่เกินกว่าความสามารถในการเพิ่มทุนและกลับมาทำกำไร ในการประกาศผลประกอบการรายไตรมาสปลายเดือน ต.ค.นี้ ซึ่งจะช่วยสยบข่าววิกฤตการณ์เจียนล้มของแบงก์ลงได้

แม้ว่านี่อาจจะไม่ใช่เคสสุดท้ายของความเสี่ยงวิกฤตการณ์การเงินโลกครั้งใหม่ก็ตาม

โดย นันทิยา วรเพชรายุทธ
Source: Posttody

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"