forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

เอสเอ็มอีหนีไม่พ้น บัญชีเดียวใช้แน่ 1 ม.ค.62

นโยบายให้ภาคธุรกิจทำบัญชีเล่มเดียวเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลผลักดัน ไม่ใช่เฉพาะการส่งเสริมแต่กำหนดออกมาเป็นกฎหมายที่ทุกฝ่ายต้องปฏิบัติตามอย่างชัดเจน ภายใต้พระราชกำหนดการยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร

ตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2558

ประการสำคัญอยู่ที่มาตรา 8 ระบุว่า ให้กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินการที่จำเป็น เพื่อให้สถาบันการเงินที่อยู่ในกำกับดูแลใช้บัญชีและงบการเงินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแสดงต่อกรมสรรพากรในการยื่นรายการภาษีเงินได้ เป็นหลักฐานในการทำธุรกรรมทางการเงินและการขออนุมัติสินเชื่อกับสถาบันการเงิน ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2562

กฎหมายฉบับดังกล่าวมีที่มาจากภาคเอกชนที่เสนอรัฐบาลว่า พร้อมที่จะเสียภาษีอย่างถูกต้อง เพียงแต่รัฐบาลต้องไม่เอาผิดย้อนหลัง เป็นแนวคิดที่กระทรวงการคลังต่อยอดออกมาเป็นกฎหมาย เพราะการตรวจสอบงบการเงินอย่างถูกต้องชัดเจนจริงๆ ต้องมีบัญชีเดียว ไม่ใช่มีหลายเล่ม เล่มหนึ่งไว้ยื่นสรรพากรหวังเสียภาษีน้อย อีกเล่มหนึ่งไว้ยื่นขอสินเชื่อเพื่อให้ขอสินเชื่อได้วงเงินมาก ไม่ได้สะท้อนผลประกอบการที่แท้จริง

มาตรการดังกล่าวได้ออกมาเมื่อ 2 ปีที่แล้ว และผ่อนผันมาจนถึงปัจจุบันเพื่อให้เวลาปรับตัว โดยกระทรวงการคลังมองเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ทุกคนจะต้องปฏิบัติตาม ไม่ใช่เพื่อการรีดภาษีให้มากที่สุด แต่เพื่อให้เห็นสภาพที่แท้จริงของธุรกิจในประเทศ ทำนโยบาย ช่วยเหลือได้อย่างตรงจุด และสุดท้ายจะเป็นประโยชน์แก่ตัวเอสเอ็มอีเอง

เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า หากมีบัญชีหลายชุด ก็เหมือนมีปรอทวัดไข้หลายอัน จะไม่รู้ว่าร่างกายป่วยเป็นอะไร จึงควรมีบัญชีเดียวที่ช่วยวัดธุรกิจตัวเองทำให้ได้ข้อมูลแท้จริง รับรู้

สถานการณ์ของบริษัท เมื่อรู้ก็สามารถวิเคราะห์ได้ถูกต้องว่ามีปัญหาส่วนใด จะได้แก้ปัญหาให้ถูกจุด

"ที่ผ่านมามีความเข้าใจผิดของ ผู้ประกอบการว่าการทำบัญชีเดียว จะเสียภาษีมากทำให้กำไรลดลง ซึ่งไม่เป็นความจริง การทำบัญชีถูกต้องยิ่งทำให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้อีกไม่นานกรมสรรพากรจะพัฒนาบริการเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ และมีกฎหมายอี-เพย์เมนต์ ที่จะเสริมระบบการยื่นภาษีให้ง่ายขึ้น โดยให้สถาบันการเงินเป็นผู้ส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรคำนวณภาษีได้เลย ประหยัดเวลาและต้นทุนได้มาก" เอกนิติ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ถ้าถามว่าธุรกิจไทยโดยเฉพาะเอสเอ็มอีมีความพร้อมในเรื่องบัญชีเดียวแล้วหรือไม่ ต้องตอบว่า ยังผลสำรวจของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในเรื่องความพร้อมการปรับบัญชีให้มีมาตรฐานเล่มเดียว พบว่าเอสเอ็มอีขนาดเล็กไม่ทำบัญชีถึง 10.95% ขณะที่เอสเอ็มอีที่ไม่ใช่นิติบุคคลไม่ทำบัญชีถึง 12.10% เนื่องจากลืม ไม่มีเวลา ทำบัญชี มองว่าไม่ได้เอาไปใช้อะไร เสียเวลาจัดทำ ไม่รู้ว่าทำบัญชีอย่างไร และเอกสารไม่ครบถ้วน

ทว่า เอสเอ็มอีส่วนใหญ่ถึง 63% พร้อมที่จะทำบัญชีเดียว เพราะมีประโยชน์จากการอนุมัติสินเชื่อรวดเร็วมีประโยชน์ต่อธุรกิจทั้งปัจจุบันและในอนาคต จึงเสนอความต้องการไปยังภาครัฐให้มีมาตรการช่วยเหลือในเรื่องการให้ความรู้/สอนทำบัญชีเดียว

มีข่าวดีสำหรับเอสเอ็มอี ที่ทางสภาวิชาชีพบัญชีฯ กำลังจัดทำแอพพลิเคชั่น "เอสเอ็มอีสบายใจ" เป็นระบบการทำบัญชีอย่างง่าย ทำได้บนระบบออนไลน์ ขณะที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำลังจะแจกฟรีแพ็กเกจซอฟต์แวร์สำคัญสำหรับธุรกิจ รวมทั้งซอฟต์แวร์การทำบัญชีด้วย ช่วยลงบัญชีที่แปลงเป็นงบการเงินได้เลย

สำหรับในภาคธนาคารซึ่งเป็นกลไกในการบังคับใช้กฎหมาย ยอมรับว่าที่ผ่านมาการพิจารณาปล่อยสินเชื่อของธนาคารพิจารณาเอกสารหลายชุด จนทำให้เห็นข้อมูลที่คลาดเคลื่อน

ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ให้ข้อมูลว่า กลุ่มธุรกิจที่ต้องปรับตัวเป็นอันดับแรกคือ นิติบุคคลที่มีกว่า 6 แสนรายในประเทศไทย ซึ่งธุรกิจขนาดใหญ่มีมาตรฐานบัญชีอยู่แล้ว แต่นิติบุคคลขนาดกลางและขนาดเล็กเป็นกลุ่มหลักที่ต้องเร่งยกระดับบัญชีขึ้นมา

จากข้อมูลพบว่า ในจำนวน 6 แสนราย เป็นธุรกิจที่มีกำไร 60% ส่วนอีก 40% ขาดทุน ซึ่งรายที่ขาดทุนปกติจะไม่สามารถกู้ได้ แต่ในชีวิตจริงจะพบว่าเอสเอ็มอีเป็น หนี้เสียราว 7.9% สะท้อนว่ารายที่ผ่อนไม่ไหวมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น

นอกจากนี้ รายที่มีกำไรเทียบกับวงเงินสินเชื่อ ปกติกำไร 0-5 ล้านบาท ได้วงเงินกู้ไม่เกิน 23 ล้านบาท ส่วนกำไร 5-10 ล้านบาท จะได้วงเงินกู้ประมาณ 46 ล้านบาท แต่ความจริงบางบริษัทได้วงเงินกู้มากกว่ากำไร เช่น มีกำไร 100 ล้านบาท แต่กู้เป็น 1,000 ล้านบาท บ่งชี้ว่าผู้ประกอบการไม่แสดงผลประกอบการบนงบที่แท้จริง

อย่างไรก็ดี ทางการไม่ได้โหดร้ายที่จะบังคับใช้โดยไม่ได้มองภาพรวมที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งทาง ธปท.จึงผ่อนผันให้มีช่วงเวลาปรับตัว (Transition Period) ในระยะหนึ่ง ส่วนข้อเรียกร้องจากธนาคารเฉพาะกิจของรัฐที่เสนอให้เลื่อนการใช้มาตรฐานบัญชีเดียวสำหรับเอสเอ็มอีรายเล็กไปเป็นปี 2563 เพื่อให้เวลาปรับตัว ก็ยังไม่มีเสียงตอบรับว่าจะให้ตามที่ขอหรือไม่

ดังนั้น ระยะเวลาผ่อนผันเหลืออีกไม่มาก ธุรกิจเอสเอ็มอีต้องไม่นิ่งนอนใจ เพราะในส่วนของธนาคารพาณิชย์ได้มีการปรับระบบการปล่อยสินเชื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายใหม่ที่จะเริ่มบังคับใช้แล้ว

วีระศักดิ์ สุตัณฑวิบูลย์ รอง ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า ได้เตรียมตัวมาเป็นเวลา 2 ปี โดยฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ธนาคารให้เข้าใจ และถ่ายทอดแก่ลูกค้าให้เข้าใจถึงสิทธิประโยชน์ที่ได้รับคือ การได้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว จากการเป็นธุรกิจที่ซื่อตรงปฏิบัติตามกฎหมาย

การทำบัญชีเดียวได้เป็นประโยชน์ กับธุรกิจและประเทศ แต่ถ้าไม่ทำ ผลกระทบก็เป็นวงกว้างเช่นกัน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ผู้ประกอบการขอ สินเชื่อยากขึ้น ธนาคารปล่อยสินเชื่อ ไม่ออก และประเทศเศรษฐกิจชะลอเพราะไม่มีเงินทุนช่วยธุรกิจให้ขับเคลื่อน

การเสียภาษีไม่ใช่เรื่องน่ากลัว ทำให้ถูกต้องในวันนี้ พรุ่งนี้จะสบาย เพราะต้องย้ำว่า กรมสรรพากรจะ ไม่เอาผิดย้อนหลัง ระหว่างนี้ยังมีเวลาปรับตัว เพราะกฎหมายบังคับใช้แน่นอน 1 ม.ค. 2562

Source: Posttoday

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"