forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

เฟดยังคงเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป แม้ทรัมป์จะกล่าวหาว่าเฟดเป็นภัยคุกคามใหญ่ที่สุดของเขา

FOMC Minutes ของการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 25–26 ก.ย. ซึ่งคณะกรรมการ FOMC ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 25 bps สู่ร้อยละ 2.00–2.25 ด้วยมติเป็นเอกฉันท์ สรุปสาระสำคัญดังนี้

1. ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ

คณะกรรมการประเมินว่า ข้อมูลทางเศรษฐกิจตั้งแต่การประชุมครั้งก่อนหน้า ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่องในลักษณะ “strong rate” เช่นเดียวกับในภาคการใช้จ่ายผู้บริโภคและภาคการลงทุน โดยคาดว่าผลกระทบจากพายุเฮอริเคน Florence ต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับประเทศมีเพียงเล็กน้อย

ทั้งนี้ “few participants” เห็นว่าข้อมูลทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาบ่งบอกถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนได้เร็วกว่าการคาดการณ์ในช่วงต้นปี 2018 โดยปัจจัยที่สนับสนุนอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้แก่
1) ตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง
2) นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจการคลัง
3) ภาวะทางการเงินแบบผ่อนคลาย
4) ความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจและครัวเรือน และ
5) ฐานะทางการเงินของภาคครัวเรือนที่แข็งแกร่ง นอกจากนี้ “a couple of participants” เห็นว่าการเร่งตัวของ productive capacity อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งเสริมอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

- ภาคการใช้จ่ายผู้บริโภค: ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากรายได้หลังหักภาษีที่ปรับเพิ่มขึ้น ประกอบกับความเชื่อมั่นและฐานะทางการเงินที่ดีขึ้น นอกจากนี้ “few participants” เห็นว่าอัตราการออมที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เป็นผลมาจากฐานะทางการเงินของภาคครัวเรือนที่ดีขึ้น และมีแนวโน้มเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมการใช้จ่ายในระยะต่อไป อย่างไรก็ดี “a couple of participants” เห็นว่า อัตราการออมที่ปรับเพิ่มขึ้นอาจสะท้อนจากปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ซึ่งจะส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภค โดยเฉพาะในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ

- ภาคการลงทุน: ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่อง โดยคาดว่าได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายภาษีในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมโดยรวมมีมุมมองเชิงบวกต่อการทำธุรกิจ อย่างไรก็ดี ปัญหาหลักที่ส่งผลต่อการขยายกำลังการผลิตหรือการลงทุน เกิดจากการขาดแคลนแรงงานและความไม่แน่นอนในนโยบายการค้าระหว่างประเทศ โดยนโยบายภาษีศุลกากรในสินค้ากลุ่มเหล็กและอะลูมิเนียมเป็นปัจจัยกดดันการลงทุนในภาคพลังงาน ขณะที่การตอบโต้ด้านภาษีศุลกากรจากจีนในสินค้ากลุ่มเกษตรกรรม ส่งผลให้ราคาผลผลิตและรายได้ของเกษตรกรปรับลดลง ทั้งนี้ ผู้ประกอบการได้ลดความเสี่ยงในประเด็นดังกล่าวโดยการขยายกลุ่มประเทศคู่ค้า ขณะที่นโยบายช่วยเหลือจากภาครัฐอาจมีส่วนช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นได้

ความเสี่ยงต่อภาพรวมเศรษฐกิจเป็นไปในลักษณะ “roughly balanced” เช่นเดียวกับการประชุมครั้งก่อนหน้า โดย “some participants” เห็นว่าปัจจัยที่กดดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำกว่าคาดการณ์ ได้แก่ 1) นโยบายการค้าระหว่างประเทศ 2) ความแตกต่างในอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และนโยบายการเงินระหว่างสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ ซึ่งส่งผลต่อการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. และ 3) financial stress ในกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ ทั้งนี้ ผลกระทบจากนโยบายการคลังที่เกินกว่าคาดการณ์ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และภาวะทางการเงินแบบผ่อนคลาย ล้วนเป็น upside risk ต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

2. ภาคการจ้างงาน
คณะกรรมการเห็นพ้องว่า ภาวะทางตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่งต่อเนื่องจากการประชุมครั้งก่อน ท่ามกลางอัตราการว่างงานในระดับต่ำ และ job gains ที่แข็งแกร่งโดยเฉลี่ยในช่วงที่ผ่านมา โดยผู้ประกอบการในหลายภูมิภาคปรับตัวจากปัญหาขาดแคลนแรงงานคุณภาพ โดยการเพิ่มค่าจ้าง ค่าตอบแทนอื่นๆ และสวัสดิการในที่ทำงาน รวมถึงเพิ่มโครงการอบรมสำหรับพนักงาน นอกจากนี้ คณะกรรมการเห็นถึงสัญญาณการเร่งตัวของต้นทุนค่าแรง แม้ว่าอัตราการปรับเพิ่มขึ้นของค่าจ้างจะยังคงอยู่ในระดับ moderate ซึ่งได้รับปัจจัยกดดันจาก tepid productivity growth

3. อัตราเงินเฟ้อ
ในภาพรวมคณะกรรมการมองว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในระยะ 12 เดือนข้างหน้า จะเคลื่อนไหวเป็นไปตามการคาดการณ์ ในระดับใกล้เป้าหมายที่ร้อยละ 2 ได้อย่างยั่งยืน ในขณะที่ตัวชี้วัดของเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะยาวโดยรวมยังคง “on balance” ทั้งนี้ “several participants” เห็นว่า อัตราเงินเฟ้ออาจจะอยู่เหนือระดับเป้าหมายร้อยละ 2 ได้อย่าง “modestly” เป็นระยะเวลาหนึ่ง

นอกจากนี้ รายงานจากหลายภูมิภาคชี้ให้เห็นว่ายังคงมีแรงกดดันเงินเฟ้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปรับสูงขึ้นของราคาปัจจัยการผลิตเนื่องจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งและมาตราการการจัดเก็บภาษีนำเข้าของรัฐบาล โดย "several participants” ระบุว่า ผู้ประกอบการหลายรายในภูมิภาคของตนมีความสามารถเพิ่มขึ้นในการส่งผ่านต้นทุนที่ปรับสูงขึ้นไปยังผู้บริโภค ทั้งนี้ คณะกรรมการเห็นว่า resource utilization ในระดับสูง และความสามารถของผู้ผลิตในการปรับราคาสินค้าที่มากขึ้น จะเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้ออยู่สูงกว่าที่คาดการณ์ได้ ขณะเดียวกัน คณะกรรมการบางส่วนได้เน้นย้ำว่า เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อได้อยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายเป็นระยะเวลานานในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ตัวชี้วัดของแนวโน้มเงินเฟ้อหรือเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะยาวยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 2 ซึ่งการปรับสูงขึ้นของการคาดการณ์เงินเฟ้ออย่าง “modest” จะเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อเข้าสู่เป้าหมายได้อย่างยั่งยืน

4. Financial Conditions & Financial Stability
“A number of participants” มองว่า financial conditions ยังคงเป็นไปในลักษณะ accommodative โดยผลของอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ในช่วงที่ผ่านมา ถูกหักล้างด้วยการปรับสูงขึ้นของราคาหุ้น ทั้งนี้ “some participants” เห็นว่า การเติบโตอย่างต่อเนื่องของ leveraged loans การผ่อนคลายมาตราฐานในการปล่อยสินเชื่อ และการขยายตัวของการปล่อยสินเชื่อดังกล่าวในภาค non-bank จะเป็นความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงิน

ในส่วนของเรื่องความชันของ yield curve นั้น “a few participants” เห็นว่า ในขณะที่ inverted yield curve สามารถที่จะบ่งชี้ถึงความเสี่ยงของเศรษฐกิจที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยได้ อย่างไรก็ดี ด้วย risk premium ที่อยู่ในระดับต่ำในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ความน่าเชื่อถือในการใช้ความชันของ yield curve เป็นตัวชี้วัดของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในอนาคตปรับตัวลดลง นอกจากนี้ ด้วยอัตราดอกเบี้ยระยะยาวที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ลดโอกาสที่ yield curve จะ invert ในระยะใกล้

5. Monetary Policy
คณะกรรมการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 25 bps สู่ร้อยละ 2.00–2.25 ด้วยมติเป็นเอกฉันท์ ภายใต้มุมมองต่อเศรษฐกิจ การจ้างงาน และอัตราเงินเฟ้อที่เป็นไปตามคาดการณ์ ทั้งนี้ คณะกรรมการทุกท่านสนับสนุนแนวทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปในระยะข้างหน้า เพื่อ balance ระหว่างความเสี่ยงจากปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วเกินไปจนทำให้เกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจ รวมถึงอัตราเงินเฟ้อปรับลงต่ำกว่าระดับเป้าหมาย กับความเสี่ยงของการปรับขึ้นอัตราเบี้ยช้าเกินไปจนส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อสูงกว่าระดับเป้าหมายและเกิด financial imbalances

สำหรับประเด็นด้านการสื่อสารใน FOMC statement ภายหลังการประชุมนั้น คณะกรรมการเกือบทุกท่านเห็นควรให้นำข้อความ “the stance of monetary policy remains accommodative” ออก โดยส่วนหนึ่งมองว่าข้อความข้างต้นมิได้มีประโยชน์ในเชิง forward guidance ดังเช่นในช่วงต้นของกระบวนการ normalization อีกต่อไป ท่ามกลางความไม่แน่นอนของระดับ neutral policy rate อย่างไรก็ดี คณะกรรมการเน้นย้ำว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมิได้เป็นการส่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงของ path ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแต่อย่างใด โดยเฉพาะเมื่อระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในขณะนี้ยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับ longer-run level ที่ได้ระบุไว้ใน Summary of Economic Projection

นอกจากนี้ คณะกรรมการได้มีการหารือว่าจะ tighten นโยบายการเงินต่อไปมากน้อยเพียงใด เพื่อให้บรรลุ dual mandate ของธนาคารกลางสหรัฐฯ “A few participants” มองว่า stance ของนโยบายทางการเงินควรจะอยู่ในลักษณะ “modestly restrictive” ขณะที่ “a number of participant” เห็นตรงกันว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ มีความจำเป็นที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสู่ระดับเหนือ longer-run level เป็นการชั่วคราว เพื่อลดความเสี่ยงในการปรับสูงขึ้นของอัตราเงินเฟ้อเกินกว่าระดับเป้าหมาย และการเกิด financial imbalances

อย่างไรก็ดี “a couple of participants” ไม่เห็นด้วยกับการดำเนินนโยบายทางการเงินในลักษณะ restrictive หากไม่เห็นสัญญาณที่ชัดเจนของการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างร้อยแรง รวมถึงการปรับสูงขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ

คณะกรรมการมีการพูดถึงกรอบการดำเนินนโยบาย โดย “a couple of participants” สนับสนุนให้มีการประเมินกลยุทธ์ในการดำเนินนโยบาย รวมถึงมีการทบทวนจุดแข็งและจุดอ่อนของกรอบการดำเนินนโยบายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

Source: BOTSS

- Fed indicates it's staying the course on rate hikes despite growing criticism from Trump:
คลิก

- FOMC minutes
คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"