forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

Economics Crisis Trigger : Dollar

มีคำกล่าวสุดคลาสสิคคำหนึ่งกล่าวไว้ว่า ‘เงินก็เหมือนกับน้ำ สูบน้ำเข้า ปลาก็ร่าเริง สูบน้ำออก ปลาก็ตาย’ นี่เป็นคำกล่าวที่ไม่ได้เกินจริงแต่อย่างไรในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม หลักฐานที่เห็นได้ชัดและใกล้ตัวคนไทยมากที่สุดคือการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ

ปี 2540 ที่ต่างชาติพากันสูบเงินจากประเทศไทยออกไปอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งต้องปล่อยค่าเงินลอยตัวและภาคธุรกิจค่อยๆ ล้มหายตายจากไปมากมายในช่วงนั้น 

.

ส่วนดอลล่าร์ บางคนอาจเห็นมันเป็นเพียงค่าเงินสกุลหนึ่งบนโลกนี้ที่มีความสำคัญมากกว่าค่าเงินอื่นๆ อยู่นิดหน่อยเพราะเป็นค่าเงินของประเทศมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุด แต่ความเป็นจริงคือ ในโลกที่เปรียบเงินเสมือนกับสายน้ำนั้น ดอลล่าร์ก็คือสายน้ำสายหลักที่เมื่อพัดไปในทางใด ทางนั้นก็จะเต็มไปด้วยปลาที่เริงร่า ในขณะที่เมื่อสายน้ำที่เรียกว่าดอลล่าร์เหือดหาย เมื่อนั้นเหล่าปลาก็จะมีอาการขาดอากาศหายใจและล้มตายกันไปทีละตัว ดังนั้น ดอลล่าร์จึงเป็นหนึ่งปัจจัยที่มีความสำคัญมากในวงจรของการลงทุน หากเข้าใจดอลล่าร์ จะสามารถเข้าใจเศรษฐกิจภาพใหญ่ได้ชัดเจนมากขึ้น รวมทั้งเห็นโอกาสและความเสี่ยงที่มากับดอลล่าร์ด้วย
.

ประเด็นสำคัญที่สุดที่นักลงทุนควรเข้าใจคือ เมื่อเงินทุนบนโลกใบนี้กำเนิดมาจาก ‘ดอลล่าร์’
.

ดอลล่าร์ เป็นค่าเงินที่มีสิทธิพิเศษหลายอย่าง และหนึ่งในสิทธิพิเศษนั้นคือ สิทธิ์ของการเป็น ‘เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ’
.

แล้วสิทธิ์นี้มันสำคัญไฉน ??
.

ก่อนจะรู้ว่าสิทธิ์ของการเป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมันสำคัญอย่างไร เราต้องมาเข้าใจหลักการการสร้าง Supply ของเงินในระบบ หรือพูดให้ง่ายเข้า Supply ของเงินในระบบก็คือสภาพคล่องของเงินที่ถูกสร้าง หรือพิมพ์ เข้ามาในระบบ ให้พวกเราได้ใช้กัน
.

เรื่องนี้ แม้มันอาจจะรู้สึกเหมือนสลับซับซ้อน แต่ความจริงแล้วมันไม่ได้ซับซ้อนอะไรมาก หากจะพูดเรื่องการสร้างสภาพคล่องของเงินในระบบ (Money Supply) มันก็คือการที่ธนาคารกลางในแต่ละประเทศ ไปซื้อทรัพย์สินที่มีความสามารถในการเป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งหลักๆ ก็คือ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ หรือดอลล่าร์ เข้ามาวางเป็นเหมือนหลักทรัพย์ค้ำประกัน จากนั้นค่อยพิมพ์เงินสกุลท้องถิ่นออกมาตามปริมาณเงินทุนสำรอง ในกระบวนการนี้ เราเรียกปริมาณเงินก้อนนี้ว่า M0 (M Zero)
.

จาก M0 ซึ่งเป็น Supply เงินก้อนแรก เมื่อไหลเข้ามาสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านธนาคารพาณิชย์ ไหลมายังบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ จวบจนกระทั่งถึงมือรายย่อยซึ่งเป็นประชาชนทั่วไป การที่เงินเปลี่ยนมือจากสถาบันหนึ่งไปอีกสถาบันหนึ่ง จากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกบุคคลหนึ่ง กระบวนการนี้ในระบบเศรษฐกิจเรียกว่าการหมุนของเงิน ยิ่งเงินมีการเปลี่ยนมือ มีการหมุนเร็วเท่าไหร่ มันยิ่งทำให้สภาพคล่องทางการเงิน หรือ Supply ของเงิน ใหญ่โตมากขึ้น และทำให้เศรษฐกิจประเทศโดยรวมเติบโตได้มากขึ้นผ่านสภาพคล่องทางการเงินที่ใหญ่ขึ้น
.

เรื่องนี้กำลังบอกอะไรเรา ??
.

จากกระบวนการการสร้างสกุลเงินท้องถิ่นที่เล่ามาข้างบน แปลว่า หากต้องการพิมพ์เงินสกุลท้องถิ่นขึ้นมา คุณต้องมีดอลล่าร์มาหนุนอยู่ข้างหลัง ถ้าไม่มีดอลล่าร์ จะไม่เกิด M0 ไม่เกิด M0 แปลว่าไม่เกิดเงินสกุลท้องถิ่น ถ้าเปรียบกับสมัยก่อน เงินสกุลท้องถิ่นใช้ทองคำเป็นสินทรัพย์หนุนหลัง แต่ปัจจุบัน ดอลล่าร์กลับกลายเป็นสินทรัพย์หนุนหลังที่ได้รับความนิยมมากที่สุด จากสาเหตุนี้นี่เอง หากจะพูดว่า เงินสกุลท้องถิ่นบนโลกนี้ถือกำเนิดจากดอลล่าร์ก็คงจะไม่ผิดนัก
.

นอกจากนี้ Supply หรือสภาพคล่องของดอลล่าร์ เมื่อถูกผูกติดกับสภาพคล่องของเงินสกุลท้องถิ่นประเทศต่างๆ บนโลก จึงกลายเป็นว่า หากสภาพคล่องดอลล่าร์สูง สภาพคล่องเงินท้องถิ่นก็ย่อมสูงตามไปด้วย ในทางกลับกัน เมื่อสภาพคล่องดอลล่าร์ต่ำลง สภาพคล่องเงินท้องถิ่นก็ย่อมต้องตกต่ำลง
.

อีกทั้งสภาพคล่องของดอลล่าร์ยังส่งผลต่อค่าเงินสกุลท้องถิ่นต่างๆ บนโลกอย่างหลบเลี่ยงไม่ได้ เพราะเมื่อสภาพคล่องดอลล่าร์ต่ำลง ดอลล่าร์ที่อยู่ภายนอกสหรัฐก็ย่อมต้องถูกโยกย้ายกลับบ้านเพื่อมาทดแทนเม็ดเงินที่หายไป ดอลล่าร์หายากขึ้นและมีราคาแพงขึ้น ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ที่อยู่บน Dollar Ecosystem ยังคงต้องการใช้ดอลล่าร์เพื่อเป็นเงินทุนสำรอง รวมทั้งใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ การที่ดอลล่าร์แพงขึ้นจึงกระทบกับการเติบโตของประเทศอื่นๆ ทันที ด้วยปัจจัยพื้นฐานเพียงเท่านี้ก็ทำให้ราคาค่าเงินประเทศอื่นๆ อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลล่าร์ได้แล้ว
.

หรือหากจะเปรียบให้เห็นภาพชัดๆ ก็อาจจะเปรียบได้ว่า เมื่อประเทศสหรัฐเป็นผู้ส่งออกดอลล่าร์ไปสร้างความเติบโตให้ประเทศอื่นๆ ในทางกลับกัน ยามที่สหรัฐทวงดอลล่าร์คืน ก็ย่อมเป็นช่วงเวลาที่ประเทศอื่นๆ ต้องประสบกับการถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างช่วยไม่ได้นั่นเอง
.

เมื่อเราเข้าใจถึงความสำคัญของความมีอยู่และสภาพคล่องของดอลล่าร์แล้ว สิ่งที่เราควรจะรู้เพิ่มเติมต่อไปก็คือ แล้วมีปัจจัยอะไรบ้าง ที่จะส่งผลต่อปริมาณดอลล่าร์ นักลงทุนหลายสำนักใช้เงื่อนไขสภาพคล่องของดอลล่าร์ในการกำหนดยุทธศาสตร์การลงทุน คนไทยมักได้ยินคำว่า ‘Fund Flow’ หรือ เงินลงทุนจากต่างชาติ เงินเหล่านี้คือเงินร้อนที่พร้อมจะมาและพร้อมจะไปบนการหากำไรจากตลาดเงินตลาดทุนในประเทศต่างๆ แน่นอนว่าการแข็งค่าและการอ่อนตัวของดอลล่าร์เป็นปัจจัยหนึ่งในขนเงินเข้าและขนเงินออก ซึ่งมีผลโดยตรงกับราคาทรัพย์สินในตลาดเงินและตลาดทุน
.

ปัจจัยแรกที่ส่งผลต่อสภาพคล่องดอลล่าร์คืออัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือทางการเงินสำหรับเพิ่มและลดสภาพคล่องในระบบอยู่แล้ว ยามที่เศรษฐกิจดี มีความร้อนแรงมากเกินไป รัฐบาลควรยับยั้งความร้อนแรงนั้นๆ เพราะหากเศรษฐกิจร้อนแรงเกินไปอาจนำมาซึ่งความชะล่าใจและการก่อหนี้ไม่มีที่สิ้นสุด การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยทำให้ค่าใช้จ่ายทางการเงินเพิ่มขึ้นทันที และคนเริ่มหันมาให้ความสนใจพันธบัตรรัฐบาลที่มีดอกเบี้ยสูงขึ้น การที่บริษัทมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นก็ดี หรือคนทั่วไปหันมาเก็บเงินในพันธบัตรมากขึ้นก็ดี เหล่านี้ล้วนเป็นการดูดเงินออกมาจากกระเป๋าตังค์ภาคส่วนต่างๆ ทำให้สภาพคล่องในระบบมีขนาดลดลง เป็นการลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจได้ ดังนั้น เมื่อธนาคารกลางสหรัฐออกนโยบายขึ้นอัตราดอกเบี้ย จึงแปลความหมายได้ว่าสภาพคล่องกำลังถูกดูดออกจากระบบ และดอลล่าร์ควรจะค่อยๆ มีความตึงตัวมากขึ้น
.

อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา แม้สหรัฐจะใช้นโยบายขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่ดอลล่าร์ในระบบกลับไม่ได้ตึงตัวอย่างที่ควรจะเป็น สาเหตุเพราะหลังจากสหรัฐประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย ยุโรปก็ประกาศต่อว่าจะเป็นผู้ทำ QE และกำหนดนโยบายดอกเบี้ยติดลบ ด้วยเหตุนี้ เงินลงทุนจากยุโรปจึงหันไปหาพันธบัตรสหรัฐอเมริกาอย่างพร้อมเพรียง เพราะสุดท้าย การลงทุนก็ย่อมต้องหวังผลตอบแทน การที่ยุโรปพิมพ์เงินและใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบเป็นการผลักเงินลงทุนจำนวนมากในยุโรปไปยังสหรัฐทันที ความท้าทายคือ โปรแกรมการพิมพ์เงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) กำลังจะสิ้นสุดลงในปีนี้ ถ้าดอลล่าร์ยังคงแข็งค่าอย่างต่อเนื่องและมีความตึงตัวเพิ่มมากขึ้น กลุ่มประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะในกลุ่ม Emerging Market (กลุ่มประเทศเกิดใหม่ - EM) จะทนรับมือการไหลออกของดอลล่าร์ได้ถึงขนาดไหน
.

นอกจากนั้น ปัจจัยที่จะเพิ่มและลดสภาพคล่องของดอลล่าร์ ก็มีเรื่องของนโยบายการเพิ่ม หรือลด ขนาดของงบบัญชีธนาคารกลาง หรือที่เราได้ยินบ่อยๆ ในข่าวเกี่ยวกับการลดบาลานซ์ชีท (Balance Sheet) ก่อนหน้านี้ งบบัญชีธนาคารกลางบวมขึ้นอย่างรวดเร็วเพราะนโยบายการทำ QE หรือ การพิมพ์เงินเพิ่ม เพื่ออัดฉีดสภาพคล่องในระบบ ในช่วงเวลานั้นเราจะเห็นได้ชัดว่า สินทรัพย์ทั่วโลกมีราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เศรษฐกิจทั่วโลกเจริญเติบโต เพราะดอลล่าร์จำนวนมหาศาลที่ธนาคารกลางสหรัฐพิมพ์ใส่เข้ามา ทำให้เหล่าปลาทั้งหลายมีความร่าเริงเป็นอันมาก ตลาดหุ้นทั่วโลกร้อนแรงขึ้นทันตาเห็น
.

แต่เมื่อในขณะนี้ ธนาคารกลางกลับจะลดขนาดของงบบัญชี แปลได้ว่าธนาคารกลางจะไม่เติมเงินกลับเข้าไปในระบบอีก แม้พันธบัตรรัฐบาลและเอกชนที่อยู่ในมือธนาคารกลางสหรัฐจะหมดอายุ แต่ธนาคารกลางจะไม่กลับเข้าไปซื้อใหม่ ทำให้ขนาดของทรัพย์สินที่ธนาคารกลางสหรัฐถือไว้ค่อยๆ เล็กลงเรื่อยๆ และการที่เจ้าของพันธบัตรต้องหาผู้ซื้อรายใหม่มาทดแทน ก็เป็นการดูดสภาพคล่องของเงินในระบบออกไปอย่างแนบเนียน
.

อีกหนึ่งปัจจัยที่น่าสนใจคือการดำเนินนโยบายขาดดุลการค้าของสหรัฐอเมริกา นี่เป็นวิธีในการส่งออกดอลล่าร์วิธีหนึ่ง หากสหรัฐดำเนินนโยบายขาดดุลการค้า แปลว่าประเทศอื่นย่อมได้กระแสดอลล่าร์กลับไปสร้างเศรษฐกิจให้เติบโต ขับดันตัวเลข GDP ในประเทศนอกสหรัฐให้สูงขึ้น พลอยทำให้ตลาดเงินตลาดทุนภายนอกสหรัฐมีความคึกคักและเติบโตขึ้น เรียกให้นักลงทุนไปลงทุนในประเทศอื่นๆ ที่ไม่ใช่สหรัฐ
.

ในทางกลับกัน เมื่อสหรัฐมีความต้องการดำเนินนโยบายเกินดุลการค้า แปลว่ากระแสของดอลล่าร์ถูกดูดให้กลับประเทศผ่านการค้าที่เกินดุล เป็นการดูดสภาพคล่องจากกลุ่มประเทศภายนอกสหรัฐ พลอยทำให้นักลงทุนพากันย้ายเงินลงทุนจากประเทศอื่นๆ กลับสู่ประเทศสหรัฐอเมริกาไปด้วย
.

บน Dollar Ecosystem ที่โลกของเราใช้กันมานานถึง 100 ปี โลกเราเกิดวิกฤติเศรษฐกิจกันมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นลูกเล็กหรือลูกใหญ่ แต่สิ่งที่เกิดซ้ำไปซ้ำมาตลอดเวลาคือ ทุกครั้งที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ มันคือช่วงเวลาที่ดอลล่าร์ไหลออกจากประเทศใดประเทศหนึ่งอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าสาเหตุของการไหลออกของดอลล่าร์มันคืออะไร แต่การไหลออกของดอลล่าร์ย่อมแปลได้ว่าความมั่งคั่งที่อยู่ในตลาดเงินตลาดทุน และความมั่งคั่งของรัฐบาล รวมไปถึงภาคเอกชน ถูกรีดออกไปในนามของดอลล่าร์ เพราะเหตุนี้ ทุกครั้งที่เกิดวิกฤติ การกลับของเศรษฐกิจมักขึ้นอยู่กับการปรับโครงสร้างหนี้ หรือการขายสินทรัพย์ภายในประเทศ เพื่อแลกกับเงินใหม่ สภาพคล่องใหม่ ที่จะกลับมาเติมให้กับระบบ ซึ่งทุกครั้งมักมาในรูปของการช่วยเหลือผ่าน IMF ที่มีเงื่อนไขต่างๆ มากมาย
.

และเหตุการณ์เหล่านี้ก็เกิดขึ้นวนไป ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เหมือนเข็มนาฬิกาที่เดินวนเป็นวงกลมซ้ำๆ อยู่ที่เดิม
.

Mei

.

#Dinotech #Dollar #MacroEconomics #Crisis

บทความสนับสนุนโดย FXPro
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"