forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ไทยไม่เสี่ยงพิษวิกฤตค่าเงิน

ไทยติด 8 ชาติกลุ่มเสี่ยงต่ำสุดจากวิกฤตตลาดเกิดใหม่ ค่าเงินบาทยังแข็ง-เกินดุลบัญชีเดินสะพัด นายโรเบิร์ต ซับบาราแมน นักวิเคราะห์เศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ของบริษัท โนมูระ โฮลดิ้งส์ เปิดเผยว่า ไทยเป็น 1 ใน 8 ชาติที่เผชิญความเสี่ยงต่ำที่สุด

จากวิกฤตค่าเงินของตลาดเกิดใหม่ ร่วมกับบราซิล บัลแกเรีย อินโดนีเซีย คาซัคสถาน เปรู ฟิลิปปินส์ และรัสเซีย

ขณะที่ตลาดเกิดใหม่ที่อยู่ในกลุ่ม เผชิญความเสี่ยงสูง ได้แก่ ศรีลังกา แอฟริกาใต้ อาร์เจนตินา ปากีสถาน อียิปต์ ตุรกี และยูเครน โดย 5 ใน 7 ชาตินี้กำลังประสบภาวะวิกฤตค่าเงิน หรือกำลังขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ยกเว้นแอฟริกาใต้และปากีสถาน

ทั้งนี้ ผลการศึกษาของโนมูระวัด จากปัจจัยต่างๆ เช่น อัตราทุนสำรองระหว่างประเทศ ระดับหนี้ อัตราดอกเบี้ย และการนำเข้า

บลูมเบิร์ก รายงานว่า สถานการณ์ของไทยซึ่งเคยเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตการเงินเมื่อ 20 ปีที่แล้ว กลับกลายเป็นชาติที่ไม่ได้รับความเสี่ยงจากวิกฤตตลาดเกิดใหม่ในปีนี้ โดยค่าเงินบาทยังแข็งค่ามากกว่าเมื่อเทียบกับค่าเงินของชาติกำลังพัฒนาหลายชาติที่ได้รับผลกระทบจากอาร์เจนตินาและตุรกี

นายเอ็ดวิน กูเตียร์เรซ นักวิเคราะห์ของบริษัท อเบอร์ดีน สแตนดาร์ด อินเวสต์เมนต์ส ระบุว่า จะต้องเกิดวิกฤตการณ์ที่เป็นรูปธรรมและในระดับที่รุนแรงกว่านี้มากจึงจะเกิดการเทขายค่าเงินบาท แต่ปัจจุบันต่างชาติถือบาทสัดส่วนน้อย จึงมีการขายที่น้อยตาม ขณะที่ไทยยังมีความเสี่ยงน้อยเพราะมีสถานะเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและทุนสำรองระหว่างประเทศสูง

นอกจากนี้ ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้น 0.43% มาอยู่ที่ 2.77% ในปีนี้ ซึ่งนับว่าต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับการปรับขึ้นในระดับสูงสุดของอินเดียและอินโดนีเซีย ซึ่งทำให้เกิดภาวะการเทขายสินทรัพย์ในเอเชีย

สำหรับสถานการณ์ฟิลิปปินส์ ซึ่งค่าเงินอ่อนค่าสุดรอบ 13 ปี นายแอนดรูว์ คาโนบี จากกองทุนแฟรงค์ลิน เทมเพิลตัน ระบุว่า การขาดดุลแฝด หรือขาดดุลทั้งดุล บัญชีเดินสะพัดและดุลการคลังเป็นสถาน การณ์ที่น่ากังวล เนื่องจากภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นทำให้ยากต่อการดึงดูดเงินทุน

Source: Posttoday

- Seven EM Countries at Risk of Exchange-Rate Crisis, Nomura Says:
คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

บทความสนับสนุนโดย FXPro
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"