forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

(1) ดอลล่าร์: อาวุธทำลายล้างสูงของ Fed เริ่มแล้ว......2019 คงได้เห็นผล

อาวุธที่ร้ายแรงที่สุดของวอชิงตันทุกวันนี้ไม่ได้อยู่ที่เพนตากอนเหมือนอาวุธอื่นๆ ที่จริงมันเป็นอาวุธเงียบ ถูกวอชิงตันใช้เป็นเครืองมือในการควบคุมปริมาณเงินของโลก แต่เป็นการปฏิบัติการของ Federal Reserve

รวมหัวกับกระทรวงการคลังและกลุ่มสถาบันการเงินวอลล์สตรีท อาวุธนี้พัฒนามานับสิบๆปี..ตั้งแต่เริ่มมีการถอดเงินยูเอสดอลล่าร์ออกจากการผูกค่ากับทองคำโดยนิกสันเมื่อ สิงหาคม 1971

การควบคุมปริมาณดอลล่าร์ในโลกเป็นอาวุธการเงินที่ร้ายแรง ที่ยังไม่มีประเทศไหนมีวิธีที่จะต่อกรกับอาวุธนี้ ....อย่างน้อยก็ ณ วันนี้

เมื่อสิบปีมาแล้ว เดือนกันยายน 2008 รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นอดีตนายแบ้งค์ของวอลล์สตรีท Henry Paulson ถอดปลั๊กระบบการเงินโลกโดยปล่อยให้ Lehman Brothers ธนาคารวานิชธนกิจขนาดกลางแห่งหนึ่งล้มไปอย่างจงใจ

หลังจากนั้น Fed ก็เริ่มใช้เครื่องมือตัวใหม่เรียกว่า Quantitative Easing (QE) ในการเพิ่มเงินกลางอากาศ ช่วยให้ธนาคารขนาดยักษ์ 6 แห่งของวอลล์สตรีท รอดพ้นจากหายนะจากการแปลงทรัพย์สินสารพัดเป็นทุนที่ทำมาก่อนหน้านั้น ..หนึ่งในนั้นคือ Goldman Sachs ของ Paulson เองด้วย

Fed ยังมีการให้ credit lines นับแสนล้านดอลล่าร์แก่ธนาคารกลางของ EU แบบที่ไม่เคยมาก่อน ..เพื่อการแก้ปัญหาการขาดแคลนดอลล่าร์ที่จะทำให้ระบบการเงินของโลกมันแครชได้ ซึ่งตอนนั้นมีธนาคาร 6 แห่งใน Eurozone กำลังมีหนี้ดอลล่าร์เกิน 100% ของ GDP ไปแล้ว

A World Full of Dollars

ตั้งแต่เวลานั้นเป็นต้นมานับเป็นสิบปี ซัพพลายของเงินดอลล่าร์ต้นทุนต่ำเพิ่มเข้าระบบการเงินของโลกก็พุ่งสูงขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ..สถาบัน The Institute of International Finance ในวอชิงตันได้มีการประมาณการ ทั้งหนี้ครัวเรือน หนี้ภาครัฐ เอกชนและภาคการเงินอื่นๆ ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ 30 แห่ง ..เพิ่มขึ้นถึง 211% ของ GDP เมื่อช่วงต้นปีนี้ ..ในขณะที่เมื่อสิ้นปี 2008 เท่ากับ 143%

ข้อมูลเพิ่มเติมจากสถาบัน IIF ยังชี้ว่าขนาดของกับดักหนี้ยังอยู่ในช่วงแรกเท่านั้นที่จะจุดชนวนไปยังกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาอื่นๆในอเมริกาใต้ไปจนถึงเตอรกีและเอเซีย

กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่มีหนี้รวมกันทุกสกุล เพิ่มขึ้นเท่าตัวจาก $15 ล้านล้านเมื่อปี 2007 เป็น $27 ล้านล้าน เมื่อสิ้นปี 2017 ยังไม่รวมจีน .....เฉพาะจีนเองในช่วงเวลาเดียวกัน เพิ่มจาก $6 ล้านล้านเป็น $36 ล้านล้าน

ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ทั้งหมด หนี้ที่เป็นยูเอสดอลล่าร์เพิ่มเป็น $6.4 ล้านล้านจาก $2.8 ล้านล้านเมื่อปี 2007 บริษัทเอกชนเตอรกีเองก็มีถึง $300,000 ล้าน ...ซึ่งเกินครึ่งของ GDP อยู่ในรูปดอลล่าร์ ...การเป็นหนี้ดอลล่าร์ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ก็มีเหตุผล

ตราบใดที่ตลาดเกิดใหม่ยังต้องโต รายได้จากการส่งออกเป็นดอลล่าร์ก็จะพุ่งขึ้นสูง หนี้ที่มีอยู่ก็ยังจัดการได้ ..แต่ตอนนี้มันไม่เหมือนเดิมแล้ว เพราะประธานคนใหม่ของ Fed ..Jerome Powell เป็นอดีตสมาชิกของกลุ่ม Carlyle Group (บริษัทลงทุนขนาดยักษ์ของพวกอิลิท นายทักษิณก็เป็นสมาชิกด้วย..ผู้แปล)

Fed เริ่มเปลี่ยนนโยบายสภาพคล่องเงินดอลล่าร์ จากการอ้างว่าเศรษฐกิจของสหรัฐแข็งแรงพอที่จะเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยมาเป็นอัตรา 'ปกติ' ได้แล้ว

Powell รู้ดีว่ากำลังจะทำอะไร ..เขากำลังเตรียมการขันเชนาะสร้างเงื่อนไขให้ดอลล่าร์ เข้ามาสร้างวิกฤติทางการเงินให้ทั่วๆต่อเหล่ากลุ่มตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะกลุ่ม Eurozone เช่นอิหร่าน เตอรกี รัสเซียและจีน

ถึงแม้ว่ารัสเซีย จีน อิหร่านและอีกหลายประเทศได้ถอยออกห่างจากการใช้ดอลล่าร์เป็นสื่อกลางการค้าและชำระหนี้ ..ดอลล่าร์ก็ยังคงอยู่ในฐานะของเงินรีเสิร์ฟของธนาคารกลางต่างๆถึง 63% ของเหล่าสมาชิก BIS (ธนาคารเพื่อการชำระหนี้นานาชาติ) ..การค้าระหว่างประเทศทุกวันนี้ก็ยังใช้ดอลล่าร์อยู่ถึง 88% ส่วนใหญ่เป็นน้ำมัน ทองคำและสินค้าโภคภัณท์ เพราะตั้งแต่วิกฤติกรีซเมื่อปี 2011 เงินยูโรก็ไม่สามารถถือเป็นคู่แข่งของดอลล่าร์เลย เป็นรีเสิร์ฟของโลกแค่ 20%

ตั้งแต่วิกฤติ 2008 ดอลล่าร์.. Fed ก็เพิ่มความสำคัญในบทบาทอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนเลย ...มาถึงวันนี้ โลกกำลังจะพบกับการขาดแคลนดอลล่าร์เป็นครั้งแรกตั้งแต่ 2008 หมายความว่าจะต้องพบกับดอลล่าร์ที่มีต้นทุนสูงมากขึ้นในการหามาใช้คืนหรือทำ refinance หนี้เดิมในรูปของดอลล่าร์

จุดพีคของมันจะอยู่ที่กลุ่มตลาดเกิดใหม่จะมีหนี้ดอลล่าร์ครบกำหนดในปี 2019 ถึง $1.3 ล้านล้าน แล้วจะหาดอลล่าร์มายังไง.....อีกเรื่องใหญ่ก็คือ ถ้าสหรัฐประสบความสำเร็จในการห้ามอิหร่านขายน้ำมันได้สำเร็จ ราคาน้ำมันจะต้องขึ้นไปเกิน $100 แน่นอน ..เพิ่มปัญหา dollar shortages เข้าไปอีก .....นี่คือสงคราม!!

Fed ไม่เพียงแค่จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ย Fed funds rates อย่างดุเดือดภายในปีนี้เท่านั้น แต่ยังจะลดจำนวนพันธบัตรที่ถือเอาไว้ตั้งแต่วิกฤติปี 2008 ด้วยวิธี Quantitative Tightening (QT) อีกด้วย

(ต่อ).....

F. William Engdahl is strategic risk consultant and lecturer, he holds a degree in politics from Princeton University and is a best-selling author on oil and geopolitics, exclusively for the online magazine “New Eastern Outlook”

http://www.williamengdahl.com/englishNEO20Aug2018.php 

Cr.Sayan Rujiramora

บทความสนับสนุนโดย FXPro
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"