ญี่ปุ่น'จากเศรษฐกิจดอกเบี้ยติดลบ สู่ยุคตลาดหุ้นออลไทม์ไฮอีกครั้ง

"ญี่ปุ่น" เคยเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจซบเซา และดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจแบบ "ดอกเบี้ยติดลบ" ยาวนานกว่า 8 ปี ตั้งแต่ 2559 แต่ปัจจุบันญี่ปุ่นกลับมาสู่ยุครุ่งเรืองอีกครั้ง จากสัญญาณว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) อาจยุติการใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบ (Negative rates)

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ทำออลไทม์ไฮอีกครั้ง ดัชนี Nikkei 225 ขึ้นทะลุ 40,000 จุดเป็นครั้งแรกในรอบ 31 ปี เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2567 ปิดตลาดที่ 40,085.43 จุด
รวมทั้งรัฐบาลญี่ปุ่นกำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาเพื่อประกาศยุติ "ภาวะเงินฝืด" เนื่องจากตัวเลขเงินเฟ้อที่กำลังปรับตัวสูงขึ้นและไม่ได้ติดลบมาสักระยะแล้ว ซึ่งการประกาศยุติภาวะเงินฝืดครั้งนี้ถือเป็น "ก้าวสำคัญ" สำหรับเศรษฐกิจญี่ปุ่น
ย้อนไปเมื่อปี 2544 รัฐบาลยอมรับว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นอยู่ในภาวะเงินฝืดเป็นครั้งแรก ทำให้เป็นเวลากว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา ญี่ปุ่นต้องดิ้นรนเพื่อทำลายวงจรอันเลวร้ายของผลกำไรของบริษัทที่ลดลง ค่าจ้างที่ตกต่ำ และการบริโภคภาคเอกชนที่อ่อนแอ
อะไรคือกลไกสำคัญที่ขับเคลื่อนการฟื้นตัวครั้งนี้?
นโยบายการเงิน
ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมาเป็นเวลา 20 ปีที่ผ่านมา เป้าหมายหลักคือเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2%
ที่ผ่านมา BoJ กำหนดให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นอยู่ที่ -0.1% และอัตราดอกเบี้ยระยะยาวอยู่ที่ประมาณ 0%
รวมถึงการซื้อพันธบัตร ซึ่ง BoJ ซื้อ พันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น จำนวนมาก เพื่อควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (yield curve) และ กระตุ้นเศรษฐกิจ
ญี่ปุ่นใช้การ QE มาอย่างยาวนานเพื่อต่อสู้กับภาวะเงินฝืด โดย BoJ เลือกเพิ่มสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจ ด้วยการดำเนินการทำ QE เช่นการซื้อสินทรัพย์ต่างๆ อย่าง หุ้น กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (REITs) และสินเชื่อ
อาเบะโนมิกส์
หนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญของญี่ปุ่นคือ “อาเบะโนมิกส์” ผสมผสาน 3 นโยบายหลัก เป็นยุทธศาสตร์หลักทางเศรษฐกิจของอดีตนายกฯ ญี่ปุ่น “ชินโซ อาเบะ” โดยมุ่งเน้นฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ซบเซาของญี่ปุ่นมากกว่า 10 ปี
ด้วยกลยุทธ์ 3 ลูกศร ได้แก่
- นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เพื่อเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ ช่วยแก้ไขปัญหาเงินฝืดโดยธนาคารกลางเพิ่มปริมาณเงินเข้าระบบเศรษฐกิจจำนวนมากผ่านการซื้อพันธบัตรรัฐบาลคืน เพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัว และให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นถึง 2% ทำให้รัฐบาลถือสินทรัพย์มากที่สุดในโลกร้อยละ 70 ของ GDP เมื่อเทียบกับสหรัฐ และสหภาพยุโรป
- นโยบายการคลังขยายตัว รัฐบาลญี่ปุ่นเพิ่มการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ พร้อมกับการลดภาษีเพื่อกระตุ้นการบริโภค โดยตั้งวงเงินไว้ถึง 2 แสนล้านดอลลาร์เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม เช่น อุโมงค์ สะพาน และถนนที่ทนทานต่อแผ่นดินไหว
- การปฏิรูประบบการทำงาน กลยุทธ์การเติบโตที่ส่งเสริมการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศ
ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตอย่างช้าๆ กลยุทธ์นี้มีผลลัพธ์ทั้งด้านบวกและด้านลบ ช่วยลดค่าเงินเยน กระตุ้นการส่งออก และดึงดูดนักลงทุนต่างชาติกว่า 19 ล้านคนในปี 2558 ซึ่งมากกว่าปี 2555 ที่มีนักท่องเที่ยวประมาณ 8 ล้านคน
แต่ทว่าจุดอ่อนของนโยบายคือ รัฐบาลก่อหนี้สินเพิ่มจำนวนมาก ในช่วงแรกที่ดำเนินนโยบายสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจขึ้นมาได้แค่ระยะสั้นเท่านั้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมาย 2% ของ BoJ
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง
ญี่ปุ่นพยายามใส่ใจนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ช่วยให้ญี่ปุ่นสามารถแข่งขันในเศรษฐกิจโลก รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้หญิงใน workforce มากขึ้นนั้น ช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโต
และที่สำคัญคือรัฐบาลสนับสนุนการแปลงสู่ระบบดิจิทัล โดยมีเป้าหมายเป็น "สังคมดิจิทัลที่ก้าวหน้าที่สุด" รัฐบาลญี่ปุ่นมีแผนลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เช่น 5G และคลาวด์คอมพิวติ้ง ญี่ปุ่นมี "Super City" ซึ่งเป็นเขตพิเศษที่ได้รับอนุญาตให้ทดลองนโยบายใหม่ ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล
เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว
เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวจาก COVID-19 ขณะที่ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะเติบโต 3.6% ในปี 2567 ซึ่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกช่วยกระตุ้นความต้องการสินค้าและบริการ
โดยสินค้าญี่ปุ่นเป็นที่นิยมในต่างประเทศ เช่น รถยนต์อิเล็กทรอนิกส์ อาหาร และสินค้าแฟชั่น
จากข้อมูลการส่งออกในเดือนธ.ค.สะท้อนให้เห็นถึงอุปสงค์ที่แข็งแกร่งของความต้องการสินค้าญี่ปุ่นในสหรัฐ โดยยอดส่งออกไปยังสหรัฐพุ่งขึ้น 20.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี ขณะที่ยอดส่งออกไปยังยุโรปเพิ่มขึ้น 10.3% และยอดส่งออกไปยังจีนเพิ่มขึ้น 9.6%
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น ช่วยเพิ่มการจ้างงานและรายได้ รวมทั้งภาครัฐมีรายได้จากภาษีเพิ่มขึ้น
ทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะเติบโต 1.9% ในปี 2567
ความท้าทายของญี่ปุ่น
นอกนี้เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตจนตลาดหุ้นญี่ปุ่นทำออลไทม์ไฮ อัตราการว่างงานลดลง แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีความท้าทายอยู่ เพราะหนี้สาธารณะยังอยู่ในระดับสูง กับปัญหาประชากรสูงอายุที่รัฐบาลต้องรับมือ พร้อมกับปัญหาการว่างงานของวัยหนุ่มสาว
กลายเป็นบทเรียนครั้งสำคัญของโลก ว่านโยบายการเงินและการคลังที่เหมาะสม มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจสู่ระบบดิจิทัลและนวัตกรรมถือเป็นกุญแจสำคัญ
การเดิมพันครั้งใหญ่ของนักลงทุนสถาบัน
แน่นอนว่าการตัดสินใจของ BOJ จะส่งผลกระทบต่อการลงทุนในตลาดหุ้น พันธบัตร และค่าเงินเยน ท่ามกลางความสนใจของนักลงทุนว่า หุ้นญี่ปุ่นที่ขึ้นไปแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (All-time high) เมื่อต้นเดือน มี.ค.นี้ จะยังมีแรงไปต่อหลังการขึ้นดอกเบี้ยได้หรือไม่ และสินทรัพย์อื่นๆ จะยังมีโอกาสทำกำไรได้มากแค่ไหน
กลุ่มบลจ.ที่มองเห็นโอกาสทำกำไรในตลาดหุ้นญี่ปุ่น เมื่อเศรษฐกิจกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง
BlackRock และ Man Group Plc. มองว่า หุ้นญี่ปุ่นยังมีโอกาสเติบโต
RBC BlueBay Asset Management สวมชอร์ต (เดิมพันว่าราคาจะลดลง) พันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปี
Abrdn plc (อเบอร์ดีน) และ Robeco คาดการณ์ว่า เงินเยนจะแข็งค่าขึ้น
BlackRock มองว่า การปรับขึ้นดอกเบี้ยจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งส่งผลดีต่อตลาดหุ้นและปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีความหลากหลาย มั่นคง
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

คลิก

Cr.Bank’s Scholarship Students

-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"