ธนาคารกลางใหญ่ ๆ หลายแห่งของโลกกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่จำเป็นที่จะต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อคาดหวังที่จะปราบอัตราเงินเฟ้อ แต่จุดสิ้นสุดยังคงไม่ชัดเจน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นนั้นแสดงให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่ยากที่จะชะลอตัวลงอย่างที่ตลาดคาดการณ์
และนักวิเคราะห์เตือนว่าตลาดการเงินยังคงต้องพยายามฝ่าฟันให้ผ่านไปให้ได้
ธนาคารกลางสหรัฐ, ธนาคารกลางยุโรป, และธนาคารกลางอังกฤษ ยังคงต้องเดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ย และผู้กำหนดนโยบายต่างยังคงเปิดกว้างเกี่ยวกับความไม่แน่นอนที่ยังมีอยู่มากมายที่แวดล้อมอยู่ท่ามกลางการประมาณการและความเสี่ยงที่ธนาคารกลางเหล่านั้นอาจต้องดำเนินการมากกว่าที่คาดการณ์
แต่ธนาคารกลางทั้ง 3 แห่งนี้ยังคงรู้สึกว่าใกล้ถึงจุดสูงสุดของอัตราดอกเบี้ยในการคุมเข้มนโยบายการเงินในรอบนี้ ขณะที่ยังคงยึดถือการปรับตัวที่ไวต่อประมาณการว่าอัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวลงอย่างแน่นอนในปีหน้าหรืออีก 2 ปีข้างหน้า โดยที่ต้องไม่มีผลกระทบอย่างหนักต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจใด ๆ เกิดขึ้น
โดยมุมมองนี้ได้รับการตอบสนองที่เป็นข้อสงสัยหรือข้อกังขาจากบรรดาผู้กำหนดนโยบายระดับโลกและนักวิเคราะห์ซึ่งมองว่าโลกยังมีการขาดแคลนแรงงานอย่างต่อเนื่อง, ความแตกแยกของอุปทานทั่วโลก และตลาดการเงินที่ขาดเสถียรภาพอาจจะบีบบังคับให้ต้องเลือกระหว่างอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นและต่อเนื่องยาวนาน หรือภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างมากเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาได้
นางกีตา โกปินาธ รองกรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวระหว่างการประชุมฤดูใบไม้ผลิ ของ IMF และธนาคารโลก (World Bank) ที่กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ในเศรษฐกิจโลกที่แตกกระจายมากขึ้นจากปัญหาโรคระบาดครั้งใหญ่ โควิด-19 ทำให้โลกได้รับการกระทบกระเทือนจากปัญหาของอุปทานที่เผชิญภาวะผิดปรกติมากขึ้น และนโยบายการเงินที่ต้องเผชิญกับการต้องแลกเปลี่ยนที่จะมีได้และมีเสียที่มากขึ้นและรุนแรงขึ้น
เจ้าหน้าที่จากธนาคารกลางสำคัญของโลกแสดงความเห็นด้วยต่อเรื่องดังกล่าว โดยสะท้อนว่าการแก้ปัญหาเงินเฟ้อที่ค่อนข้างจะไม่มีต้นทุนนั้นเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปได้ยากมาก
ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว หรือภาวะเศรษฐกิจถดถอย? การโต้เถียงถึงประเด็นดังกล่าวในครั้งนี้จะแตกต่างออกไป ยิ่งไปกว่านั้น ตั้งอยู่บนความหวังร่วมกันที่ว่า อัตราเงินเฟ้อในโลกหลังการระบาดครั้งใหญ่จะสูงขึ้นกว่าที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ หรืออาจกล่าวได้ว่ามีความจำเป็นที่เล็กน้อยในการผลิตที่ต่ำกว่ามาตรฐาน หรือเพิ่มอัตราการว่างงานเพื่อที่จะควบคุมเงินเฟ้อ
สังเกตได้ว่า หลังจากที่เกิดหนึ่งในปัญหาที่รุนแรงที่สุดต่อเศรษฐกิจโลก ความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และสงครามที่ยังไม่จบสิ้นในยุโรป ประมาณการค่ากลางมัธยฐานของอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะยาวของเจ้าหน้าที่เฟด (ธนาคารกลางสหรัฐ) จะทรงตัวเท่ากับอัตราเงินเฟ้อที่ 2.5% ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกันกับที่เคยเกิดขึ้นเมื่อเดือน มิ.ย.ปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงที่สูงที่สุดของยุคที่โลกส่วนใหญ่เผชิญกับภาวะเงินฝืด
ทั้งนี้ ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) เป็นธนาคารกลางหลักแห่งเดียวที่คาดการณ์ว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยแบบอ่อน ๆ มีความจำเป็นที่จะต้องเกิดขึ้นเพื่อทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) คาดหวังที่จะชนะศึกเงินเฟ้อ ด้วยการไม่เปลี่ยนแปลงอัตราการว่างงาน ส่วนเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีความเห็นที่แตกต่างกัน โดยคาดการณ์ว่า อัตราการว่างงานในปีนี้จะสูงขึ้นเล็กน้อยเพียงแค่ 1% จากระดับใกล้ต่ำสุดในประวัติการณ์ที่ 3.5% และจะชะลอตัวลง แต่การเติบโตทางเศรษฐกิจจะดำเนินได้ต่อไป
Source: ข่าวหุ้น
เพิ่มเติม
- Central banks have yet to script final act of inflation fight as risks rise :
Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you