การเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนทำหน้าที่เป็นกลไกราคาที่สำคัญในการช่วยรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจไทย หรือยิ่งทำให้เศรษฐกิจผันผวนขึ้นกันแน่? เพื่อตอบคำถามข้างต้น คณะผู้วิจัยได้ศึกษาที่มาของความผันผวนค่าเงินบาท และผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจและในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา โดยพบว่า
ค่าเงินบาทถูกขับเคลื่อนโดยปัจจัย (shock) ที่ไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (เช่น การเปลี่ยนแปลง risk sentiment ของนักลงทุน) สูงถึง 63% อย่างไรก็ดี shock ดังกล่าวส่งผลต่อความผันผวนของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อน้อยมาก โดยหากเงินบาทแข็งค่าขึ้น 1% จะทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวลดลง 0.11% และเงินเฟ้อปรับลดลงเพียง 0.034% เท่านั้น จึงไม่ได้เป็นต้นตอของความผันผวนต่อเศรษฐกิจไทย
ในขณะที่ shock ที่มาจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ (เช่น การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยอุปสงค์อุปทาน) ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้อไทยในระดับสูง
แต่การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทก็มีส่วนช่วยปรับสมดุลให้กับเศรษฐกิจไทยได้ดีในระดับหนึ่ง เช่น ในยามที่เศรษฐกิจไทยเผชิญกับวิกฤต เงินบาทจะปรับอ่อนค่าลง ซึ่งมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้นได้บ้าง จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้น
ดังนั้น การปล่อยให้ค่าเงินบาทมีความยืดหยุ่นและเคลื่อนไหวได้ตามปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ อาจส่งผลดีต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจมากกว่าการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนให้คงที่
📌 ที่มา: บทความวิจัย aBRIDGEd เรื่อง “ค่าเงินบาทผันผวน: “ตัวปรับสมดุล” หรือ “ตัวป่วน” เศรษฐกิจไทย” โดย ดร.พิม มโนพิโมกษ์, ดร.นุวัต หนูขวัญ และ คุณเจตวัฒน์ ภัทรรังรอง
Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you