JD.COM VS ALIBABA

E-commerce ถือเป็นอีก 1 หัวใจหลักที่ผลักดันเศรษฐกิจจีนให้เติบโต ซึ่ง E-commerce ที่โด่งดังของจีนที่กำลังแข่งขันกันดุเดือด คือ Alibaba ที่นำโดย Jack Ma และอีกบริษัทที่กำลังมาแรงแต่ยังไม่แซงทางโค้งคือ JD.com ของ Richard Liu

ซึ่งทั้ง 2 บริษัท ล้วน เป็น E-commerce รุ่นใหญ่ที่บุกเบิกมาในเวลาใกล้เคียงกัน แต่อะไรที่ทำให้ทั้ง 2 บริษัทนี้ต่างกัน คงจะเป็น Business Model ของแต่ละบริษัท Alibaba จะมี business model คล้าย E-bay คือ เป็นเพียงหน้าร้านขายของที่นำผู้ซื้อและผู้ขายมาเจอกัน โดยมีรายได้ส่วนใหญ่มาจากค่าธรรมเนียมในการซื้อขายสินค้าโดยเรียกเก็บเงินจากผู้ขายและค่าธรรมเนียมโฆษณา ผ่านร้านค้าหลักๆ คือ Alibaba.com, Tmall.com , Taobao.com และ Alibaba ไม่มีสินค้าคงคลัง ไม่มีโกดังเก็บของ ไม่มีบริษัทขนส่งที่เข้าไปบริหารจัดการเอง เพียงแต่ใช้บริการขนส่งผ่านบริษัทไช่เหนี่ยว ทำให้ต้นทุนด้านการการบริหารสินค้าคงคลัง และการลงทุนใน logistic ต่ำ ในขณะที่ JD.com จะมี Business Model คล้ายกับ Amazon คือเป็นรายได้ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินค้ามาขายจากโรงงานโดยตรง ส่วนรายได้จากการเปิดหน้าร้านให้สำหรับ C2C มีแค่ 6% เท่านั้น นอกจากนี้ JD.com ยังเน้นลงทุนไปทางด้าน logistic สูงมาก เพราะเล็งเห็นว่า หัวใจสำคัญของ e-commerce คือ Logistic ที่แม่นยำและรวดเร็ว ด้วยการลงทุนดังกล่าวเป็นเหตุผลให้กำไรของ JD.com ก็ยังคงติดลบจนถึงปีปัจจุบันนี้ แต่ทั้งนี้ Richard Liu ก็ไม่ได้ผิดหวังกับผลประกอบการเหมือนผู้ถือหุ้นซักเท่าไรนัก Richard Liu เคยให้สัมภาษณ์ว่าเค้ามองกำไรในระยะยาวอีก 5 -10 ปี มากกว่า 

 

 

กลยุทธ์ที่ JD.com พยายามเอาชนะ Alibaba คือการ สร้าง Brand Loyalty ด้านคุณภาพของสินค้า จากการนำเข้าสินค้า Brand ต่างๆ ที่มาจากโรงงานโดยตรง พยายามสร้างพันธมิตรกับ Brand Hi-end มากขึ้น เพื่อจับกลุ่มตลาดที่สูงขึ้น ซึ่งกลุ่มลูกค้านี้มักจะซื้อสินค้าที่มั่นใจในคุณภาพเท่านั้น ต่างจาก Alibaba ที่มักโดนโจมตีในเรื่องการมีสินค้าปลอมมาขายจากผู้ขายที่มาตั้งร้าน แต่ทั้งนี้ Alibaba ก็มีความพยายามแก้ไขปัญหาโดยการติดต่อกับเจ้าของ Brand ต่างๆ โดยตรงเช่นกัน และเสนอให้เข้ามาขายสินค้าใน T-mall และมีการใช้ QR Code เข้ามาเพื่อให้ผู้ซื้อตรวจสอบแหล่งที่มาของสินค้านั้นๆ ได้ แต่ก็ยังรักษา concept ที่ไม่มี warehouse อยู่ดี

 

การแข่งขันของ สองบริษัทเป็นไปด้วยความดุเดือดแบบแลกกันหมัดต่อหมัดเลยทีเดียว เช่นในขณะที่ Alibaba มี platform Alipay ที่ทำให้การซื้อของออนไลน์ของ Alibaba เป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว JD.com ก็ได้พี่ใหญ่อย่าง Tencent เข้ามาถือหุ้น 15% ในปี 2014และ Support ใน เรื่องของ Wechat pay และด้วย Social Media Platform ขนาดใหญ่ของ Tencent สร้างประโยชน์ให้กับ JD.com เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ตลาดของสดและของชำ (Fresh food and grocery market) จัดเป็น next battleground ที่ทั้ง 2 บริษัทกำลังแข่งขันกันแย่งส่วนแบ่งตลาดกันอย่างเมามัน ทันทีที่ Alibaba ได้ประกาศ JV Suning ร้านค้าขายปลีกที่ใหญ่ที่สุดในจีน ที่มีสาขา 1600 แห่งทั่วประเทศ วันถัดมา JD.com ก็ประกาศจับมือกับ Wal-Mart ทันที โดย Wal-Mart ได้ขายร้านค้าปลีกออนไลน์ Yihaodian ที่จีนให้กับ JD.com และเข้ามาถือหุ้นใน JD.com 5% การขยายฐานลูกค้าไปยังต่างประเทศ Alibaba เข้ามาขยายตลาดออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยการซื้อ Lazada ของอินโดนีเซีย JD.com ก็เข้ามา JV กับ Central Group ของไทย

 

 

หากมองในแง่ของรายได้จาก E-commerce JD.com จัดว่ามีรายได้ที่สูงกว่า Alibaba มาก ซึ่ง JD.com มีรายได้ $34 billion ในขณะที่ Alibaba มีรายได้เพียง $18 billion เท่านั้น (ปี 2016) แต่กำไรของ JD.com ยังคงติดลบมาหลายปีจากต้นทุนการจัดการสินค้าที่สูง(ด้าน Warehouse และ Logistic) ข่าวดีก็คือกำไรมีแนวโน้มที่จะติดลบน้อยลงเรื่อยๆ จนปีล่าสุดอาจมีความหวังว่าจะพลิกขึ้นมาเป็นบวกได้ ในขณะที่พี่ Jack Ma ฟันกำไรไปแล้วเหนาะ ๆ มาหลายปี จนราคาหุ้นพุ่งฉุดไม่อยู่ หากมองด้านราคาหุ้น BABA (Alibaba) ที่มี P/E สูงถึง 59 เท่า กล่าวคือราคานี้คือการใส่ค่า premium เข้าไปแล้ว ส่วนราคาหุ้นของ JD.com ยังคง Discount อยู่ และหากพิจารณาจากการวางโครงสร้าง e-commerce ทั้งหมด ของ JD.com แล้วลองคิดเล่นๆ ดูถ้า JD.com สามารถบริหารต้นทุนให้ลดลงได้ หุ้นตัวนี้ก็คงจะน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว

 

ไดโนล้านปี DinoTech5.0

 

https://en.wikipedia.org/wiki/Alibaba_Group 

https://en.wikipedia.org/wiki/JD.com 
https://www.caixinglobal.com/2017-01-26/101003203.html 
http://www.chinatravelnews.com/article/94781 

 

 

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"