ฟ้าอยู่ค้ำคน คนไม่อยู่ค้ำฟ้า : เกิดชาติหนึ่งพึ่งรู้ใครจะอยู่ค้ำฟ้า ถ้าไม่ใช่อเมริกา

US Unveils New Maritime Security Initiatives at ASEAN Defense Meeting

● นึกไม่ถึงเลยว่า แผนยุทธศาสตร์การทหารใหม่ของสหรัฐ กับการขยายบทบาทในการรักษาความมั่นคงและความมั่งคั่งของระบบทุนนิยมในยุคประธานาธิบดี Donald Trump จะทำให้แนวโน้มโลกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงสูง คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอกเจมส์ แมททิส (James Norman "Jim" Mattis) ได้หยิบเอานโยบายระหว่างประเทศของนายแอชตัน คาร์เตอร์ (Ashton Baldwin Carter) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมาทั้งหมด กับนโยบายปักหมุดเอเชีย (Pivot to Asia) เพียงแค่ปรับเปลี่ยนชื่อเท่านั้น

● การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาเซียน - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา อย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN-US Defense Informal Meeting) ระหว่างวันที่ 29 กันยายน - 1 ตุลาคม ค.ศ. 2016 ณ มลรัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา

● นายแอชตัน บัลด์วิน คาร์เตอร์ (Ashton Baldwin Carter) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาได้กล่าวสุนทรพจน์ประกาศนโยบายทหารของสหรัฐอเมริกาต่อเอเชียล่าสุดที่ The Council on Foreign Relations (CFR) ผมเห็นว่าสุนทรพจน์ดังกล่าว มีความสำคัญจึงจะนำมาวิเคราะห์ (Analyze) และสังเคราะห์ (Synthesis)

● ภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ

นาย Ash Carter ได้กล่าวในตอนต้นของสุนทรพจน์ว่า มีสิ่งท้าทายหรือภัยคุกคามสหรัฐอเมริกาอยู่ 5 ประการด้วยกัน

1. การต่อต้านความก้าวร้าวของรัสเชีย โดยเฉพาะความขัดแย้งในยุโรปที่รัสเชียรุกรานวางยุทธวิธีแทรกซึมผนวกคาบสมุทรไครเมียและประกาศแสนยานุภาพทางทหาร

2. การจัดการกับการเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์ในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผงาดขึ้นมาของจีน และพฤติกรรมของจีนในทะเลจีนใต้ ก่อให้เกิดความกังวลใจเป็นอย่างมาก

3. การจัดกองกำลังเพื่อป้องปรามและป้องกันความก้าวร้าวของเกาหลีเหนือ

4. การสกัดกั้นความก้าวร้าวของอิหร่าน ที่จะพยายามขยายอิทธิพลในตะวันออกกลาง

5. การเอาชนะต่อขบวนการก่อการร้าย ซึ่งเป็นภัยคุกคามไร้พรมแดน เพราะไม่มีพื้นที่ใดในโลกจะปลอดภัย

● กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาจะต้องเผชิญกับภัยคุกคามทั้ง 5 ด้วยการกำหนดยุทธศาสตร์ใหม่ จัดกองทัพใหม่ และลงทุนเพิ่มศักยภาพทางทหารของสหรัฐอเมริกา

● สำหรับยุทธศาสตร์ต่อเอเชียนั้น ขณะนี้สหรัฐอเมริกาเน้นการสร้างเครือข่ายความมั่นคงกับพันธมิตร ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี พฤติกรรมของจีนในทะเลจีนใต้ ได้ก่อให้เกิดความตึงเครียดในภูมิภาค ประเทศต่าง ๆ ได้แสดงความวิตกกังวล และประเทศเหล่านี้ได้ขอให้สหรัฐอเมริกาเพิ่มบทบาท (เพื่อเข้ามาถ่วงดุลจีน) ประธานาธิบดี Barack Obama ก็ได้ริเริ่มยุทธศาสตร์ใหม่ต่อเอเชีย ที่เรียกว่ายุทธศาสตร์ *Rebalance*

● กองทัพบกสหรัฐอเมริกา

กระทรวงกลาโหมขณะนี้กำลังแปลงยุทธศาสตร์ *Rebalance* ไปสู่การปฎิบัติ โดยการเพิ่มบทบาททางทหารของสหรัฐอเมริกาทั่วภูมิภาค โดยเฉพาะการเสริมสร้างความมั่นคงทางทะเล จำนวนทหารสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคเพิ่มขึ้นจาก 100,000 นาย มาเป็น 365,000 นาย ในปัจจุบัน และมียุทธภัณฑ์อาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีความทันสมัยที่สุด

นอกจากนี้ ได้มีการเสริมกองกำลังทหารสหรัฐอเมริกาเข้าไปในฐานทัพใหม่ ๆ โดยเฉพาะฐานทัพทางเหนือของออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

● การรักษาดุลยภาพอำนาจทางทหาร

สำหรับยุทธศาสตร์ทหารที่สำคัญที่สุดของสหรัฐอเมริกาคือ การกระชับความสัมพันธ์กับพันธมิตรต่าง ๆ ดังนี้

1. ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ : ได้มีการเสริมสร้างกองกำลังทหารของตัวเอง ขณะเดียวกัน สหรัฐอเมริกาได้ช่วยเสริมสร้างกองทัพของทั้ง 2 ประเทศ ให้มีสมรรถภาพที่ดีที่สุดและทันสมัยที่สุด

2. สำหรับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สหรัฐอเมริกาได้กระชับความสัมพันธ์ทางทหารกับ เวียดนาม มาเลเชีย อินโดนีเชีย และสหรัฐก็มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดเป็นอย่างมากกับสิงคโปร์

3. ได้มีการซ้อมรบกับประเทศเหล่านี้ ที่สำคัญที่สุดคือ Exercise RIMPAC : The Rim of the Pacific Exercise ซึ่งมีประเทศเข้าร่วมกว่า 12 ประเทศ

4. สำหรับความสัมพันธ์ทางทหารกับอินเดีย ก็กำลังจะกลายเป็นความสัมพันธ์ที่สำคัญที่สุดต่อสหรัฐอเมริกาในศตวรรษที่ 21 โดย Carter ได้เรียกความสัมพันธ์ใหม่นี้ว่า Strategic Handshake โดยสหรัฐอเมริกามียุทธศาสตร์มุ่งทางตะวันตก สำหรับอินเดียก็มียุทธศาสตร์มุ่งตะวันออก ที่เรียกว่า *Act East Policy* ซึ่งจะทำให้อินเดียมีบทบาทมากขึ้นในมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก

โดยเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2016 ได้มีการจัดทำ *Joint Strategic Vision Statement* และจัดทำกรอบความร่วมมือทางทหารระหว่างสหรัฐอเมริกากับอินเดีย นอกจากนี้ อินเดียได้เข้าร่วม ในการซ้อมรบร่วมในหลายกรอบ ได้แก่ การซ้อมรบ Red Flag การซ้อมรบ Exercise RIMPAC และการซ้อมรบ Malabar (Naval Exercise) ระหว่างญี่ปุ่น อินเดีย สหรัฐอเมริกา

5. สำหรับฟิลิปปินส์ ก็กำลังจะเป็นพันธมิตรหลักของสหรัฐอเมริกา โดยได้มีการจัดทำ *U.S.- Philippines Enhanced Defense Cooperation Agreement* และ *U.S. Southeast Asia Maritime Security Initiative* ซึ่งมีวงเงิน 425 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นเงินช่วยเหลือทางทหารให้กับประเทศอาเซียน ซึ่งฟิลิปปินส์ได้รับการจัดสรรเงินช่วยเหลือดังกล่าวเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ มีการซ้อมรบร่วมสหรัฐอเมริกากับฟิลิปปินส์เรียกว่า Balikatan Exercise 2016 โดยมีทหารเข้าร่วมกว่า 7 พันคน

● การผลิใบ *เครือข่ายพหุภาคี*

ภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิกไม่เหมือนยุโรป ที่มีพันธมิตร NATO อย่างไรก็ตามสหรัฐอเมริกาได้พยายามสร้างเครือข่ายพหุภาคีแบบไม่เป็นทางการ โดยองค์ประกอบของเครือข่ายพหุภาคีพันธมิตรดังกล่าว มีอยู่ 3 ส่วน

1. กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาได้เน้นการจัดตั้งกลไกไตรภาคี ตัวอย่างเช่น พันธมิตรไตรภาคี ระหว่างสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี ซึ่งได้มีบทบาทอย่างสำคัญในการต่อต้านความก้าวร้าวของเกาหลีเหนือ นอกจากนี้มีความสัมพันธ์ไตรภาคี สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และความสัมพันธ์ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อินเดีย ด้วย

2. พันธมิตรของสหรัฐอเมริกาได้จัดทำความสัมพันธ์ไตรภาคีระหว่างกันด้วย ได้แก่ ความสัมพันธ์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย

3. คือการเสริมสร้างสถาปัตยกรรมความมั่นคงในภูมิภาค โดยการปฎิสัมพันธ์กับเวทีพหุภาคีในภูมิภาค โดยเฉพาะกับอาเซียน และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกาได้ชื่นชมสิงคโปร์ ในการมีบทบาทนำในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างสหรัฐอเมริกากับอาเซียน

ในตอนท้ายของสุนทรพจน์ นาย Ash Carter ได้สรุปว่า ยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น จะทำให้สหรัฐอเมริกาคงบทบาทการเป็นผู้นำในภูมิเอเชีย - แปซิฟิกไปได้อีกหลาย 10 ปี

● วิเคราะห์องค์รวมและสรุป :

● จากการวิเคราะห์สุนทรพจน์ดังกล่าวข้างต้น ผมมองว่า ยุทธศาตร์ของสหรัฐอเมริกาต่อภูมิภาคยังไม่เปลี่ยนแปลง โดยมี 3 ยุทธศาตร์หลักที่ นาย Ash Carter ไม่ได้ประกาศออกมา แต่เป็นวาระซ่อนเร้น คือ ยุทธศาสตร์การครองความป็นเจ้าโลก ยุทธศาสตร์การปิดล้อมจีน และยุทธศาสตร์การป้องกันไม่ให้ประเทศในเอเชียรวมกลุ่มกันโดยไม่มีสหรัฐอเมริกา

● จากสุนทรพจน์ดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่า ยุทธศาสตร์ทหารของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน ได้หันไปให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางทะเล ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลก ถ้าเรามองว่ายุทธศาสตร์หลักของสหรัฐอเมริกาคือ การปิดล้อมจีน และยุทธศาสตร์ที่ดีที่สุดในการปิดล้อมจีนคือ ยุทธศาสตร์การป้องกันการขยายอิทธิพลของจีนทางทะเล โดยเฉพาะทะเลจีนตะวันออก ซึ่งจีนมีปัญหาความขัดแย้งกับญี่ปุ่น และทะเลจีนใต้ ซึ่งมีจีนมีปัญหาขัดแย้งกับประเทศอาเซียน จะเห็นได้ว่าพันธมิตรที่ นาย Ash Carter พูดถึงในสุนทรพจน์ เป็นประเทศที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ทางทะเลทั้งหมด ไล่มาตั้งแต่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเชีย สิงคโปร์ อินโดนีเชีย และออสเตรเลีย

● ยุทธศาสตร์หลักของสหรัฐอเมริกา มีลักษณะที่ผมเคยวิเคราะห์ไปแล้วคือ ยุทธศาสตร์ Hub and Spokes โดยมีสหรัฐอเมริกาเป็น Hub หรือเป็นดุมล้อ และพันธมิตร เป็น Spokes หรือเป็นซี่ล้อ เป็นยุทธศาสตรที่เน้นทวิภาคี แต่ก็เสริมด้วยยุทธศาสตร์พหุภาคี

● สำหรับประเทศไทย ก็เป็นเรื่องที่ผมได้ตั้งข้อสังเกตุมาแล้วว่า ในสุนทรพจน์ของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐอเมริกา ในช่วงปีที่ผ่านมา จะไม่พูดถึงประเทศไทยเลย สุนทรพจน์ของนาย Ash Carter ในครั้งนี้ก็ไม่พูดถึงประเทศไทยเลยเช่นเดียวกัน ก็เป็นที่พอจะเดากันได้ว่า เป็นผลมาจากปฏิวัติรัฐประหาร ปี ค.ศ. 2014

● ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาเสื่อมโทรมลงมาก สุนทรพจน์นี้ก็ตอกย้ำความพยายามของสหรัฐอเมริกาที่จะลดความสำคัญของไทย โดยไม่กล่าวถึงไทยเลย ทั้ง ๆ ที่ในอดีต สุนทรพจน์ของสหรัฐอเมริกาจะต้องกล่าวถึงไทยทุกครั้ง เพราะไทยเป็น 5 พันธมิตรหลักของสหรัฐอเมริกาในเอเชียมาโดยตลอด

● ประเด็นสำคัญที่รัฐบาลจะต้องวิเคราะห์กันต่อคือ พฤติกรรมของสหรัฐอเมริกาดังกล่าว ถือเป็น Tactical Move หรือเป็น Strategic Move ถ้าเป็น Tactical Move ก็หมายความว่าการที่สหรัฐอเมริกาไม่ให้ความสำคัญต่อไทย ก็เป็นเพียง Tactic ชั่วคราว ที่ต้องการกดดันไทยให้เดินหน้าสู่ประชาธิปไตยโดยเร็ว แต่ถ้าเป็น Strategic Move ก็หมายความว่า สหรัฐอเมริกาได้ปรับนโยบายอย่างถาวรในการลดความสำคัญของไทย และไทยก็จะไม่ได้เป็นพันธมิตรของสหรัฐอเมริกาอีกต่อไป

● ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องพินิจพิเคราะห์อย่างละเอียดและกำหนดยุทธศาสตร์ว่า ไทยจะเอาอย่างไร จะปรับความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาใหม่ หรือจะสร้างดุลยภาพความสัมพันธ์ใหม่หรือไม่ หรือเราจะเอียงเข้าหาจีนและรัสเชียอย่างถาวร

Richard Whitt

http://thediplomat.com/2016/10/us-unveils-new-maritime-security-initiatives-in-us-asean-defense-meeting/ 

http://thediplomat.com/2016/10/philippines-singapore-discuss-defense-relations-amid-us-asean-meeting/ 

http://thediplomat.com/2016/10/us-asean-defense-ministers-meeting-kicks-off-in-hawaii/ 

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"