ในช่วง "สงครามโลกครั้งที่ 1" นั้น เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของประเทศ "เยอรมัน" ที่มีผลกระทบมากจนถึงปัจจุับน เช่น เยอรมัน ยังอยู่ภายใต้อุ้ทเท้าอิทธิพลของ อังกฤษ อเมริกา โงหัวไม่ขึ้น ไม่มีโอกาศกลับมาเป็นประเทศมหาอำนาจเหมือนเดิมอีกต่อไป
"สาเหตุสงครามโลกครั้งที่ 1" นั้น มีหลายสาเหตุเช่น ตอนนั้นเป็นยุค "ปฏิวัติอุสาหกรรม" ที่ประเทศในยุโรปต้องการขยายอาณาเขตดินแดนแหล่งวัตถุดิบและตลาด เยอรมันตอนนั้นเป็นประเทศอุตสาหกรรมระดับสองของยุโรปรองจากอังกฤษ จึงอยากเป็นใหญ่เหมือนอังกฤษและฝรั่งเศส ที่มีอาณานิคมมากมายไปทั่วโลกบ้าง ... นอกจากนั้นแล้ว ยังเป็นเรื่องของการขยายอาณานิคมแข่งกันของ "จักรวรรดินิยม" ตะวันตกยุโรป ตามมาด้วย "ชาตินิยม" เกิดการแบ่งปันดินแดนเป็นหลักเป็นเกณท์มากขึ้น และเริ่มมีการปะทะกันเรื่องปัยหาดินแดนตามมา ส่วนเรื่องลอยสังหารมกุฏราชกุมารของออตเตรียนั้นเป็นแค่เหตุการณ์ปลายเหตุ
ส่วนสาเหตุอื่นๆก็คือ "เยอรมัน" ค้นพบและมีการเจรจาจะเจาะ "น้ำมัน" ในดินแดน "อิรัก" ปัจจุบัน ที่ตอนนั้นเป็นของ "อาณาจักรอ๊อตโตมัน" ของชาวเติร์ก ที่กำลังอ่อนแอ ช่วงเปลี่ยนถ่ายผู้นำ มีปัญหาการแย่งราชสมบัติภายใน ที่ตอนนั้น "อังกฤษ" พยายามจะทำลาย อ็อตโตมัน มานาน ทั้งส่งให้นักการศาสนา อับดุล วาฮาบ ไปตั้งนิกายใหม่แยกอิสลามออกเป็นส่วนย่อย รวมทั้งหนุนชาวเผ่าในคาบอาระเบีย ที่มีความหวังมักใหญ่ใฝ่สูง เช่นตระกูลซาอุด ของเผ่านัดถ์ เพื่อจะทำสงครามกบฏกับ ผู้นำอ๊้อตโตมัน จนในที่สุด ตระกูลซาอุดก็ได้ดินแดนและเมือง "เมกกะ" และ "เมดินา" ที่ศักดิสิทธิ์ของอิสลามมาในครอบครอง หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยความช่วยเหลือของ "อังกฤษ" เป็นการตอบแทนซึ่งกันและกัน ( เหมือนที่กำลังกับทำมะกลาย ในไทย ) ทั้งพยายามจะยึดเอาดินแดนพันธสัญญาในปาเลสไตน์ แต่อ็อตโตมันไม่ยอม และไปร่วมมือเป็นมิตรกับเยอรมัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ในที่สุด
ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 นั้น “เยอรมัน” ใช้การเงินแบบอิงทองคำ หรือ Gold Standard แต่ก็มาหยุดใช้ในช่วงสงครามเกิด โดยไม่มีทองคำเพียงพอที่จะมาหนุนการผลิตเงินมาสร้างกองทัพ จนต้อง "กู้เงินมาสงคราม" เป็นการสร้างหนี้ใหญ่ก้อนแรก และเป็นสาเหตุสำคัญของเงินเฟ้อครั้งประวัติศาสตร์ด้วย เพราะเยอรมันคิดว่าไม่เป็นไร เพราะว่าถ้าสงครามชนะก็เอาเงินค่าปฏิกรรมสงครามประเทศที่ตัวเองจะชนะ และยึดเอาดินแดนประเทผู้แพ้สงครามเหล่านั้นมาหาวัตถุดิบมาขายมาเป็นเพื่อจ่ายหนี้ที่กู้มาทำสงครามก็ได้ ...เป็นแนวคิดที่ประมาทมากเกินไป
... พอช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่เริ่มเมื่อปี 1914 พอไม่มี “ทองคำ” อิงในการผลิตพิพม์เงินมาร์คออกมา ทำให้เงินมาร์คเริ่มที่จะอ่อนค่าลงเรื่อยๆ ขณะที่สินค้าก็แพงขึ้นสวนทางไปทุกวัน ไม่มีใครต้องการถือเงินมาร์คในครอบครอง และสถานการณ์ก็เลวร้ายลงเรื่อยๆ หลังสงครามจบ เงินมาร์คจาก ปี 1919 ที่แลกเงินดอลล่าร์อเมริกาได้ 48 มาร์คต่อหนึ่งดอลล่าร์ ก็ลดลงมาที่ 90 มาร์คต่อหนึ่งดอลล่าร์ในต้นปี 1921 และในปลายปี 1921 ก็ตกมาที่ 330 มาร์คต่อดอลล่าร์ ประชาชนเดือดร้อนทุกย่อมหญ้าไม่มีใครต้องการเงินมาร์คของตัวเอง นอกจากเงินสกุลต่างชาติและทองคำเท่านั้น และค่าเงินตกหนักสุดในปี 1922 ที่ 7,400 มาร์คต่อหนึ่งดอลล่าร์ ค่าครองชีพแพงมโหฬารปั่นป่วนทั้งประเทศ
The meetings produced no workable solution and so inflation changed to hyperinflation, and the mark fell to 7,400 marks per US dollar by December 1922.[5] The cost-of-living index was 41 in June 1922 and 685 in December, a 15-fold increase.
และหลังการแพ้ “สงครามโลกครั้งที่ 1 “ ยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง เพราะว่าต้องหาเงินมาใช้หนี้ที่กู้มาทำสงคราม และต้องมาเสียค่าปฏิกรรมสงครามในถานะผู้แพ้อีก จากการประชุมที่แวร์ซายด์อีกมหาศาล จะเอาเงินมาจากไหน รัฐบาลเยอรมันเลยพิมพ์เงินออกมาใช้หนี้ แต่เศรษฐกิจในประเทศไม่มีผลผลิตใดๆมารองรับเงินมหาศาลที่พิมพ์ออกมานั้น เลยทำให้เงินมาร์คเฟ้อหนักเข้าไปอีก จนกลายเป็นปัญหาสังคมและการเมืองภายในประเทศในที่สุด
“อังกฤษ” นั้นขอค่าปฏิกรรมสงครามเป็น “ทองคำ” และเงินสกุลต่างประเทศ ไม่เอาเงินมาร์คที่แสนจะเฟ้อและไร้ค่า ยิ่งทำให้เยอรมันหมดทางไป ต้องกู้เงินมาใช้หนี้
และ “เยอรมัน” ต้องหาทางเอาวัตถุดิบต่างๆของประเทศเช่นถ่านหิน มาจ่ายเป็นค่าปฏิกรรมสงคราม เพราะไม่มีปัญญาหาทองคำและเอาเงินต่างประเทศมาจ่ายหนี้สงคราม จนจ่ายหนี้ไม่ทัน “ฝรั่งเศส” และ “เบลเยี่ยม” ผู้ชนะสงคราม ในเดือนพฤศจิกายน ปี 1923 เลยทำการยึดเขต Ruhr ที่เป็นเขตอุสาหกรรมของเยอรมันเอาไว้เป็นของตัวเองเป็นมัดจำ ที่ทำให้คนเยอรมันไม่พอใจฝรั่งเศสมาก แต่รัฐบาลก็ไม่หยุดพิมพ์เงิน จนค่าเงินมาร์คมาอยู่ที่ 4,210,500,000,000 มาร์ค ต่อหนึ่งดอลล่าร์
ที่จนสุดท้ายทำให้ “อดอล์ฟ ฮิตเล่อร์” เอาสถานการณ์นี้มาสร้างคะแนนเสียงทางการเมือง ที่บอกว่าต้องการสร้างอาณาจักรเยอรมันห็กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง
"สถาณการณ์และวิกฤติอาจจะสร้างทั้งวีรบุรุษและนักฉวยโอกาสก็ได้" ถ้าเราไม่ดูให้ดี ก็อาจจะได้นักฉวยโอกาศแทนวีรบุรุษ แต่ตอนนั้นคนเยอรมันมองไม่เห็นใครนอกจากฮิตเล่อร์ ( จริงๆแล้วนั้นฮิตเล่อร์ เขาตั้งใจทำเพื่อประชาชนและประเทศชาติเยอรมันเขามากกว่านักการเมืองของไทยเราแบบไม่เห็นฝุ่นและเทียบกันไม่ได้เลย ) จนฮิตเล่อร์สุดท้ายก็ต้องกู้เงินจากธนาคารแห่งอังกฤษมาใช้จ่ายด้วยในภายหลัง และ กลับมาใช้เงินอิงทองคำหรือ Gold Standard อีกครั้งหนึ่งและห้ามประชาชนถือครองทองคำ เพื่อจะดึงค่าเงินให้สูงขึ้นอีกครั้ง
บทเรียนแสนแพงในการสร้างหนี้แบบผิดในครั้งนั้น ยังส่งผลถึงชะตาชีวิตของประเทศและชาวเยอรมันจนถึงปัจจุบัน ที่ยังต้องเป็นเบี้ยล่างของ “อเมริกา” ตลอดไป และเหมือนของเราในวิกฤติปี 2540 ต้มยำกุ้ง ที่เขาวางยาให้เปิดเสรีทางการเงิน BIBF โดยเอาตัวละครอย่างพวกนักการเงิน สถาบันการเงินที่โลภมาก เป็นสะพานเชื่อม โดยกู้เอาเงินต่างชาติที่ไม่มีทองคำค้ำมาปล่อยเพื่อกินส่วนต่างดอกเบี้ยในประเทศไทย จนฟองสบู่แตกและต้องถูกบีบรัฐให้แปลงเป็นหนี้สาธารณะ ต่อสายดินให้ชาวบ้านเดือดร้อน และต้องขายสมบัติชาติกิน ภายใต้คำสวยหรูว่า “แปรรูปรัฐวิสาหกิจ” แบบที่ “กรีซ” ก็กำลังจะทำเพื่อขายมาเองมาใช้หนี้ ไม่งั้นไม่ได้เงินกู้จาก ไอเอ็มเอฟ มาจ่ายหนี้
บทเรียนจากเยอรมันในครั้งนั้น เป็นการสอนทุกประเทศทั่วโลกในเรื่องของ "การสร้างหนี้" เพื่อพัฒนาประเทศนั้นต้องทำอย่างพอดี ไม่เสี่ยง โลภมาก จนเกินไป จนเดือดร้อนกับคนหมู่มากและคนรุ่นหลักค้องมาเดือดร้อนใช้น้ำมันแพง ของแพง จนอีกเป็นร้อยๆปีในที่สุด
Jeerachart Jongsomchai
https://en.wikipedia.org/wiki/Hyperinflation_in_the_Weimar_Republic
https://th.wikipedia.org/wiki/สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman