วิกฤตพลังงาน ไต้หวัน ภาคเซมิคอนดักเตอร์เผชิญความเสี่ยง เมื่ออุปทานไฟฟ้าไม่เพียงพอ

ไต้หวัน กำลังเผชิญกับ วิกฤตด้านพลังงาน และเผชิญกับปัญหาไฟฟ้าดับบ่อยครั้ง ซึ่งส่งผลกระทบไปทั่วทุกภาคส่วน ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา ไต้หวันประสบปัญหาไฟฟ้าดับครั้งใหญ่ 3 ครั้งและไฟฟ้าดับเล็ก ๆ น้อย ๆ หลายครั้ง

โดยเหตุไฟฟ้าดับครั้งใหญ่ในปี 2560 ส่งผลกระทบต่อประชาชนเกือบ 7 ล้านครัวเรือน และในปี 2565 เกิดไฟฟ้าดับไปมากถึง 313 ครั้ง ซึ่งเหตุไฟฟ้าขัดข้องครั้งใหญ่ครั้งหนึ่ง สร้างความเดือดร้อนต่อประชาชนมากกว่า 5 ล้านครัวเรือน
ล่าสุดในเดือนเม.ย. 2567 เพียงเดือนเดียว ทางตอนเหนือของไต้หวันประสบปัญหาขาดแคลนพลังงานหลายครั้งในช่วง 3 วัน โดยปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ได้กลายเป็นข้อกังวลระดับชาติ เนื่องจากไต้หวันเป็นผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ของโลก ซึ่งการผลิตชิปจำเป็นต้องใช้พลังงานจำนวนมาก การขาดแคลนไฟฟ้านั้นส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่ออุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ และการผลิตหยุดชะงักลงได้
รัฐบาลจึงกำลังดิ้นรนเพื่อจัดหาพลังงานให้เพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการในอุตสาหกรรมที่นับเป็นเสาหลักของเศรษฐกิจบนเกาะแห่งนี้
อุตสาหกรรมทรงพลังที่ต้องขับเคลื่อนด้วยพลังงาน
นายโจเซฟ เว็บสเตอร์ นักวิจัยอาวุโสจากศูนย์พลังงานระดับโลกของสภาแอตแลนติก กล่าวว่า ภาคอุตสาหกรรมของไต้หวันบริโภคไฟฟ้าในอัตราส่วน 55% ของการใช้ไฟฟ้าทั่วเกาะในปี 2566 โดยส่วนใหญ่คือบริษัทผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งต้องการพลังงานไฟฟ้าที่สม่ำเสมอ และมีเสถียรภาพ ยิ่งไปกว่านั้น ภาคส่วนนี้จะใช้ปริมาณไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 236% ในช่วงปี 2564 จนถึงปี 2573
อุตสาหกรรมผู้ผลิตไฟฟ้าทั่วโลกคาดไม่ถึงว่าศูนย์ข้อมูลปัญญาประดิษฐ์และภาคส่วนชิปจะมีความต้องการไฟฟ้าพุ่งสูงขึ้นมากและรวดเร็ว นอกจากนี้แล้ว รายงานของ Greenpeace ระบุว่า อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกคาดว่าจะเติบโตเป็น 2 เท่าภายในปี 2573 และคาดว่าจะใช้ไฟฟ้าราคา 237 เทราวัตต์ต่อชั่วโมงในกระบวนการผลิต
อุปสงค์และค่าไฟฟ้าสวนทางกับอุปทานที่มี
แหล่งพลังงานส่วนใหญ่ของไต้หวันมาจากถ่านหินและก๊าซ ซึ่งมีสัดส่วนการนำเข้าสูงมากถึง 97% และด้วยการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศในระดับสูง ส่งผลมีความเปราะบางอย่างมากและมีความเสี่ยงมากกว่าชาติอื่น ๆ ในกรณีที่เกิดการหยุดชะงักของอุปทานพลังงาน โดยนายเว็บสเตอร์กล่าวว่า ไต้หวันมีทั้งปัญหาการขาดแคลนพลังงาน และที่แย่ไปกว่านั้นคือการขาดแคลนไฟฟ้า
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า แม้ว่าปัญหาไฟฟ้าดับบางส่วนเกิดจากโครงข่ายไฟฟ้าที่มีอายุการใช้งานมานานและเสื่อมสภาพ แต่สาเหตุหลักมาจากค่าไฟฟ้าที่ถูก ส่งผลให้อุปสงค์พุ่งสูงขึ้นสวนทางกับอุปทานที่มี โดยกระทรวงเศรษฐกิจไต้หวันกล่าวว่า แม้ว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกจะพุ่งสูงขึ้น แต่อัตราค่าไฟฟ้าในปัจจุบันนั้นต่ำกว่าเมื่อ 20 ปีที่แล้ว
ค่าไฟฟ้ากระทบภาคเซมิคอนดักเตอร์ และกระทบต่อไปยังผู้บริโภค
แม้ว่าไต้หวันจะปรับขึ้นค่าไฟฟ้า 15% เมื่อเร็ว ๆ นี้ แต่ก็คิดเฉพาะผู้ใช้งานในภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เท่านั้น ส่วนผู้ใช้ในครัวเรือนทั่วไปยังคงจ่ายในอัตราเดิม ซึ่งอัตราค่าไฟฟ้าที่อยู่ในระดับต่ำส่งผลให้ไต้หวัน พาวเวอร์ คอมปานี (Taiwan Power Company) หรือ Taipower บริษัทไฟฟ้าของรัฐผู้ทำหน้าที่แจกจ่ายไฟฟ้าไปทั่วเกาะ ต้องเผชิญกับการขาดทุนมาหลายปี และในปี 2566 Taipower ขาดทุนมากถึง 6.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
นางมิเชลล์ โบรฟี ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ AlphaSense กล่าวว่า การขาดทุนนี้ก่อให้เกิดความกังวลว่าอุปทานสำหรับทั้งอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และเศรษฐกิจโดยรวมของไต้หวันอาจเกิดการหยุดชะงักลงได้ เนื่องจากบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ต้นทุนจึงเพิ่มสูงขึ้นด้วย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคไปเป็นทอด ๆ
หากไต้หวันจำเป็นต้องใช้มาตรการแบ่งสรรปันส่วนไฟฟ้าในอนาคต เนื่องจากอุปทานมีจำกัด ภาคการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ก็จะได้รับผลกระทบ ซึ่งจะนำไปสู่การผลิตที่ช้าลง และอาจทำให้ราคาชิปทั่วโลกพุ่งสูงขึ้น เช่นกรณีของ ไต้หวัน เซมิคอนดักเตอร์ แมนูแฟคเจอริง โค (Taiwan Semiconductor Manufacturing Company) หรือ TSMC ครองส่วนแบ่งรายได้ประมาณ 60% ของการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก และเป็นผู้บริโภคไฟฟ้ารายใหญ่ของไต้หวัน ที่กล่าวว่าจะปรับขึ้นราคาสินค้าเพื่อชดเชยกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากค่าไฟฟ้า เพื่อรักษาอัตราผลกำไรของบริษัท
ปัญหาที่ยากจะหาทางรับมือ
รัฐบาลไต้หวันได้ประกาศความร่วมมือกับเวียดนามเมื่อต้นปีที่ผ่านมา เพื่อพัฒนาโครงการพลังงานเซมิคอนดักเตอร์และโครงการพลังงานหมุนเวียน โดยมีแผนขยายการฐานการผลิตไปยังเวียดนาม และมุ่งเป้าใช้พลังงานสีเขียวเป็นหลัก
ด้าน TSMC ซึ่งครองส่วนแบ่งรายได้ประมาณ 60% ของการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก และเป็นผู้บริโภคไฟฟ้ารายใหญ่ของไต้หวัน ประกาศเมื่อปลายปี 2566 ว่าตั้งเป้าจะเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ภายในปี 2583 แต่นั่นก็ต้องใช้เวลาและเม็ดเงินในการลงทุน
อย่างไรก็ตาม การบรรลุเป้าหมายโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานในไต้หวันเป็นเรื่องยาก เนื่องด้วยข้อจำกัดด้านพื้นที่ นโยบายที่เข้มงวดและทะเยอทะยานมากไป รวมถึงการขาดความเข้าใจและความสามารถในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงาน ส่งผลให้ภาคธุรกิจมีความกังวลถึงความน่าเชื่อถือของไต้หวันในด้านการจัดหาพลังงานเพื่อป้อนเข้าสู่บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ในอนาคต

คลิก

Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"