แบงก์ชาติคาดการณ์ เศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวแต่ฟื้นตัวช้า ไม่ฟื้นตัวเท่ากันในทุกภาคส่วน ส่วนนักท่องเที่ยวจีนหายยาว อีก 2 ปีก็ยังมาเที่ยวไทยไม่ถึงระดับเดียวกับช่วงก่อนโควิดระบาด
เปิดประมาณการแนวโน้มเศรษฐกิจไทย
โดยแบงก์ชาติหรือธนาคารแห่งประเทศไทย จากงาน Monetary Policy Forum ครั้งที่ 4/2566 ดังนี้
GDP ปี 2566 ภาพรวมอยู่ในทิศทางฟื้นตัว แต่แรงขับเคลื่อนยังกลับมาไม่ครบ ภาพรวมเศรษฐกิจฟื้นตัวแต่ฟื้นตัวช้าและไม่ฟื้นตัวเท่ากันในทุกภาคส่วน มีทั้งส่วนที่ฟื้นตัวได้ก่อนระดับโควิดและยังมีภาคที่ยังไม่กลับมาอยู่
ในระยะต่อไปคาดว่าจะมีการขยายตัวสมดุลขึ้นทั้งอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศ คาดว่ามาจากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภค และการขยายตัวเป็นบวกของการส่งออกสินค้า แต่ยังมีความเสี่ยงในการฟื้นตัวอยู่ ทั้งการฟื้นตัวจากเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะจากจีนที่จะฟื้นตัวต่อเนื่องและมีเสถียรภาพหรือไม่ รวมทั้งภาคการส่งออกของไทยจะได้รับผลประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยเชิงโครงสร้างของไทยว่ามีขีดความสามารถในการแข่งขันมากเพียงใด
การบริโภคภาคเอกชนมีแรงส่งจากการใช้จ่ายหมวดบริการ มีการเติบโตดี
- จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติฟื้นตัวต่อนื่อง นักท่องเที่ยวไทยเพิ่มขึ้นและกลับมาอยู่ในระดับก่อนโควิด-19 แล้ว อยู่ที่ 112% แต่นักท่องเที่ยวต่างชาติฟื้นตัวเพียง 72% ถ้าเทียบกับช่วงก่อนโควิด ทำให้การฟื้นตัวไม่เท่ากัน
- ภาคการผลิตและการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่
- การฟื้นตัวของภาคบริการส่งผลให้ตลาดแรงงานและรายได้ของลูกจ้างที่เกี่ยวข้องฟื้นตัวต่อเนื่องเมื่อเทียบกับภาคการผลิตยังซบเซา ตั้งแต่ปลายปี 65
- เครื่องชี้ด้านอุปทานสะท้อนการฟื้นตัวที่ชัดเจนของภาคบริการ ซึ่ง SPI (Service Production Index) ฟื้นตัวได้ค่อนข้างดีอยู่ที่ 110% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด ขณะที่ภาคการผลิตฟื้นตัวได้เพียง 94%
การฟื้นตัวของภาคบริการเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก ที่ทำให้ภาคแรงงานส่วนใหญ่กลับมาอยู่ในระดับก่อนโควิด-19
เศรษฐกิจในปี 67 และปี 68
ประเมินว่าจะมีการขยายตัวที่สมดุลมากขึ้น แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ในกรณีที่ไม่รวมเงิน Digital Wallet จะขยายตัวได้ 3.2 และ 3.1 ตามลำดับทั้งในปีหน้าและปีถัดไป โดยมีปัจจัยสนับสนุนคือภาคการท่องเที่ยวน่าจะฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง นักท่องเที่ยวต่างชาติจะฟื้นตัวที่ 34.5 และ 39 ล้านคนในปี 2567 และ 2568
ส่วนแรงขับเคลื่อนอีกปัจจัยมาจากภาคเอกชน จะได้รับแรงสนับสนุนจากการจ้างงานและรายได้แรงงานที่ทยอยปรับดีขึ้นในปีหน้าและปีถัดไป รวมทั้งภาคการส่งออกสินค้าและภาคการผลิตจะกลับมาขยายตัวดีขึ้นตามอุปสงค์โลกและวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์โลก ซึ่งยังมีความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกด้วย
อัตราเงินเฟ้อ ปี 67, 68
ปรับสูงขึ้นที่ 2% ส่วนหนึ่งมาจากราคาอาหารที่จะปรับตัวสูงขึ้นตามปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 1.2 และ 1.3 ซึ่งมีความเสี่ยงเรื่องราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นตามเอลนีโญและราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นจากความไม่แน่นอนของความขัดแย้งจากตะวันออกกลาง
ประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยวต่างชาติมีจำนวนเพิ่มขึ้นแต่ไม่ใช่สัญชาติจีน การฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวจีนช้ากว่าที่คาดการณ์ นักท่องเที่ยวที่เป็นกลุ่ม non-China จะฟื้นตัวจากนโยบายการยกเว้นมาตรการตรวจลงตราวีซ่าที่รัฐบาลยกเว้นให้อินเดีย ไต้หวัน คาซัคสถาน และญี่ปุ่น (นักธุรกิจ) แต่นักท่องเที่ยวจีนไม่กลับมาในแนวโน้มปกติตามที่ผ่านมา
มีเหตุผลสองเรื่องคือนโยบายจีนที่เน้นการกระตุ้นการบริโภคในจีน ส่งเสริมให้บริโภคในจีน และส่งเสริมให้เที่ยวต่างประเทศน้อยลงทั้งไฟลท์บินและความสามารถที่จะรองรับก็น้อยลง รวมทั้งความกังวลด้านความปลอดภัยของคนจีนจากกระแสเชิงลบจากภาพยนตร์และสื่อออนไลน์ที่พูดถึงประเด็นเชิงลบที่จะมาเที่ยวทั้งในประเทศอาเซียนและไทย ทำให้คนจีนออกมาเที่ยวน้อยลง มีการปรับคาดการณ์ลดลง เหลือ 6.2 ล้านคนในปี 67 และ 7.8 ล้านคนในปี 68 การฟื้นตัวอยู่ที่ 55.5% และ 70.1% ตามลำดับ
การส่งออก
มีการปรับประมาณการเศรษฐกิจคู่ค้าดีขึ้นเล็กน้อย ปี 2566 เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวที่ 2.8% แรงส่งช่วงท้ายมาจากภาคบริการ การส่งออกของเอเชียและไทยยังไม่ได้รับผลดี ยังฟื้นตัวช้า ส่วนในปี 67, 68 คาดว่าเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า (สหรัฐฯ, กลุ่มยูโร, ญี่ปุ่น, จีน, เอเชีย) ขยายตัวที่ 2.6% และ 2.7% ตามลำดับ กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะชะลอลงบ้างตามนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้น
การผลิตของประเทศคู่ค้ามีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น สอดคล้องกับมุมมอง IMF โดยปีนี้ ปริมาณการค้าโลกขยายตัว 0.9% แต่ปี 67, 68 จะเป็น 3.5% และ 3.7% ตามลำดับ แต่ถ้ามองในระดับประเทศคู่ค้า ปริมาณการค้าปีนี้ -0.5% ส่วนปีหน้าจะขยายตัวที่ 1.1% และ 1.7% ตามลำดับ มองไปข้างหน้าประเทศคู่ค้ายังมีความเสี่ยงทั้งการส่งผ่านนโยบายการเงินเข้มงวดช่วงที่ผ่านมา การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์
การส่งออกสินค้าของไทยจะฟื้นตัวต้นปี 67 หากภาคการผลิตของประเทศคู่ค้าเพิ่มขึ้น จะส่งผลดีต่อไทยในด้านการส่งออกมากกว่าการฟื้นตัวของภาคบริการ สินค้าที่ได้รับผลบวกอย่างมีนัยสำคัญคือสินค้าเกษตรแปรรูป สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์
ไทยยังมีปัญหาเชิงโครงสร้าง เช่น หมวดอิเล็กทรอนิกส์ แนวโน้มความต้องการ Hard Disk Drive ไทยเป็นฐานการผลิตใหญ่แต่ไม่ได้มีมากขึ้น ซึ่งก็เกิดจากความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของผู้บริโภคในตลาดโลก และปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการพึ่งพา การนำเข้าวัตถุดิบของจีน ซึ่งผลดีนี้ยังเป็นความเสี่ยงอยู่ ขึ้นอยู่กับการปรับตัวของเศรษฐกิจไทยและผู้ประกอบการที่จะไปกับกระแสโลก
ในภาพรวม GDP อยู่ในทิศทางฟื้นตัวต่อเนื่อง ฟื้นตัวช้า ไม่เท่ากัน มีความไม่แน่นอนรออยู่ มีทั้งปัจจัยด้านบวก คืออุปสงค์ที่ขยายตัวสูงกว่าคาด อาจมาจากนโยบายภาครัฐที่เพิ่มขึ้นในระยะหน้า รวมทั้งผลของนโยบาย Digital Wallet ที่อาจมีมากกว่าที่คาดการณ์ไว้
ส่วนความเสี่ยงด้านลบ มีเรื่องเศรษฐกิจโลกชะลอตัวกว่าที่คาด โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนที่เรามีความสัมพันธ์ค่อนข้างสูงและผลกระทบจากความขัดแย้งจากอิสราเอล-ฮามาส ที่แม้ว่าทุกวันนี้ผลกระทบยังจำกัดแต่ไม่อาจนิ่งนอนใจได้
โดย ปาริชาติ โชคเกิด
Source: Braninside
Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you