หนี้โลกทำนิวไฮ! ทุบสถิติใหม่ที่ 307 ล้านล้านดอลลาร์

สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IIF) เปิดเผยว่าปริมาณหนี้สินทั่วโลกทำสถิติใหม่ที่ 307 ล้านล้านดอลลาร์ ในไตรมาส 2 ของปีนี้ ทาง IIF เผยรายงานในวันอังคารว่า การปรับขึ้นของระดับหนี้โลก ได้ทำให้สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกันที่ระดับ 336%

จากที่ก่อนหน้านี้ระดับหนี้ต่อจีดีพีลดลงมา 7 ไตรมาสรวด
ทางหน่วยงาน IIF คาดว่าระดับหนี้ต่อจีดีพีจะทะยานทะลุ 337% ภายในช่วงปลายปีนี้
เมื่อมองเป็นรายประเทศ จะพบว่ามากกว่า 80% ของระดับหนี้มาจากประเทศพัฒนาแล้ว อย่างสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อังกฤษ และฝรั่งเศส ที่มีระดับหนี้เพิ่มขึ้นสูงสุด ส่วนจีน อินเดีย และบราซิล นำทีมประเทศในกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่มีก่อหนี้เพิ่มขึ้นสูงสุด
ในรายงานดังกล่าวยังไม่ได้คำนวณผลกระทบจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของระบบธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด ที่อาจเกิดขึ้น
โดยนักวิเคราะห์คาดว่าเฟดอาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในกรอบ 5.25%-5.5% ต่อไปอย่างน้อยจนถึงเดือนพฤษภาคมปีหน้า และอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะยังคงอยู่ในระดับสูงไปอีกนานสำหรับสหรัฐฯ
วันพุธนี้ ต้องจับตาการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของระบบธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ซึ่งคาดกันว่าเฟดจะคงดอกเบี้ยเอาไว้ในการประชุมครั้งนี้ แต่อาจมีการส่งสัญญาณเรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ยในอนาคต
Source: VOA Thai

คลิก

Cr.Bank’s Scholarship Students

-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"