ยังคงส่งผลต่อนักลงทุนและผู้เสียหายต่อเนื่อง แม้รักษาการประธานของ STARK จะเข้าชี้แจงต่อ DSI และ ปอศ. แต่รายละเอียดที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ และอยู่เหนือการควบคุมของสมาคม บลจ. มาย้อนดูปัญหานี้กัน บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสายไฟและสายเคเบิล จากเดิมบริษัทมีมูลค่า 31,000 ล้านบาท แต่หลังเจอผลกระทบทำให้บริษัทมีมูลค่าลดลงเหลือเพียง 2,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ รายได้หลักมาจากการทำสายไฟ สายเคเบิล และโอกาสเติบโตจากเทรนด์สถานีชาร์จรถไฟฟ้า (EV) ที่กำลังขยายตัวในไทย ยิ่งสถานีชาร์จอีวีเติบโตขึ้นเท่าไหร่ โอกาสความต้องการสายไฟของ STARK ก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วย
ดังนั้น บริษัทจึงมองเรื่องการขยายตัวไปยังเวียดนามเพื่อรองรับการเติบโตนี้ด้วย
จุดเริ่มต้นของหุ้น STARK มีแนวโน้มความเสี่ยงตั้งแต่ปี 2561 ที่มีผลกำไรดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ปี 2562 รายได้ 11,607 ล้านบาท กำไรสุทธิ 123 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 16,917 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,608 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 27,129 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,783 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 21,877 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,216 ล้านบาท (9 เดือนแรก)
จากราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 4.90 บาท ในระยะเวลาเพียง 1 ปี ก่อนที่จะร่วงลงมาจนถึง 0.11 บาท ในปัจจุบัน
สัญญาณความเสียหายมาจากช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2565 ที่สตาร์ค มีจดหมายแจ้งตลาดหลักทรัพย์ว่า จะมีการเพิ่มทุนขายหุ้นให้แก่บุคคลในวงจำกัด หรือ Private Placement ที่ราคาหุ้นละ 3.72 บาท ให้แก่นักลงทุนสถาบัน 11 ราย คิดเป็นเม็ดเงิน 1,500 ล้านบาท
สัดส่วนที่ 11.19% เพื่อนำเงินไปรองรับการซื้อหุ้นของ LEONI Kabel GmbH และ LEONISCHE Holding ผู้ผลิตสายไฟของรถยนต์อีวีและสายไฟที่ใช้ในสถานีชาร์จแบตเตอรี่รถอีวีในเยอรมนีและสหรัฐ มูลค่าไม่เกิน 20,572 ล้านบาท
แต่แผนการซื้อกิจการนี้ถูกยกเลิก เนื่องจากความกังวลถึงสถานการณ์สงครามรัสเซีย ยูเครน ที่ไม่คุ้มค่าแก่การลงทุน จึงเก็บเงินทุนส่วนนี้ไว้สำหรับโครงการอื่นๆ แต่เงินส่วนนี้ไม่ได้ชี้แจงว่านำไปทำประโยชน์อะไรต่อ
จนกระทั่งซีอีโอ นายมงคล ตั้งใจพิทักษ์ ประกาศลาออกกะทันหัน และให้นายปกรณ์ เมฆจำเริญ เข้าดำรงตำแหน่งควบซีอีโอแทน และส่งผลให้บริษัทผิดนัดส่งงบการเงินครั้งที่ 1 ด้วย
จากนั้นมีการแต่งตั้งซีอีโอแทน เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2566 และเลื่อนการส่งงบการเงินครั้งที่ 2 และปรับบอร์ดอีกในวันที่ 19 เมษายน 2566 และเลื่อนการส่งงบออกเป็นครั้งที่ 3
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของการไม่เคยจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ซึ่ง STARK ถือว่าเป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการจากเงินส่วนหนี้ที่สูงมาก มากกว่าส่วนของผู้ถือหุ้นด้วย
ปี 2562 ส่วนของผู้ถือหุ้น 2,267 ล้านบาท หนี้สินรวม 10,341 ล้านบาท
ปี 2563 ส่วนของผู้ถือหุ้น 3,708 ล้านบาท หนี้สินรวม 23,552 ล้านบาท
ปี 2564 ส่วนของผู้ถือหุ้น 6,504 ล้านบาท หนี้สินรวม 32,550 ล้านบาท
ปี 2565 ส่วนของผู้ถือหุ้น 8,631 ล้านบาท หนี้สินรวม 38,362 ล้านบาท (ระยะเวลา 9 เดือน)
ดังนั้น นี่จึงเป็นสัญญาณที่บอกให้ทราบว่าการลงทุนจะดูแค่เพียงรายได้และกำไรเพียงอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องดูกระแสเงินสดด้วยว่าบริษัทมีรายได้เป็นเงินสดจริงและควบคุมหนี้สินอย่างไร
นอกจากนี้ ปัญหาเรื่องของความไม่โปร่งใสภายในองค์กรก็ถูกจับตามองด้วย
ดังนั้น เมื่อมีการเปิดซื้อขายหุ้น STARK เพื่อพยุงเหตุการณ์นี้ ก็ทำให้มีการเทขายหุ้นจนร่วงถึงจุดต่ำสุดกว่า 90% ภายในวันเดียว
เมื่อไม่มีเงินทุน STARK ได้กู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินอีก 8,600 ล้านบาท ทำให้เป็นหนี้แล้วกว่า 17,800 ล้านบาท ซึ่งยังต้องหากระแสเงินสดมาใช้คืน
ทั้งนี้ รักษาการซีอีโอคนปัจจุบันออกมายอมรับว่ามีปัญหาทางงบการเงินจริงและยืนยันจะส่งงบการเงินภายใน 16 มิถุนายนนี้
ขณะนี้ ยังตรวจพบร่องรอยการทุจริตภายในองค์กรและร้องทุกข์ต่อ DSI เพื่อให้สืบสวนดำเนินคดีต่อการทุจริตครั้งนี้
ต้องติดตามมหากาพย์นี้กันต่อว่าจะมีการเปิดเผยงบการเงินออกมาอย่างไรและจะแก้ปัญหาครั้งนี้ได้หรือไม่ ที่แน่นอนคือมีผู้เสียหายจากกรณีนี้เป็นมูลค่ามหาศาล
Source: Springnews
เพิ่มเติม
- 2 บริษัทเยอรมนี ยื่นฟ้อง STARK เรียกค่าเสียหาย 2.2 หมื่นล้าน หลังล้มดีลซื้อขายหุ้น:
Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you