ของรัฐบาลสหรัฐฯ อาจจะกำลังเปิดทางให้การรุกคืบของจีนที่จะให้เงินสกุลหยวนขยับเป็น “เงินสกุลนานาชาติ” ได้อีกก้าวหนึ่ง เพราะเมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา ขณะที่นักลงทุนทั่วโลกกำลังลุ้นว่าทำเนียบขาวกับสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐฯ จะสามารถหาข้อตกลงเพื่อประนีประนอมประเด็นเพดานหนี้
31.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐของสหรัฐฯ
กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คริสทาลินา จอร์จีวา ก็ออกมาแสดงความเห็นในลักษณะที่มองหาทางออกที่อาจไม่ต้องให้โลกพึ่งพาเงินดอลลาร์แต่เพียงเจ้าเดียว
เธอบอกว่า “โลกกำลังจับตามอง” ความเคลื่อนไหวในสหรัฐฯ เพื่อถามหาความเชื่อมั่นต่อระบบการเงินของมหาอำนาจเบอร์ 1 ของโลก
ในช่วงใกล้ๆ เส้นตายวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมานั้น รัฐบาลกลางของสหรัฐฯ ทำท่าว่าจะเข้าสู่ภาวะ “ถังแตก” อย่างเห็นได้ชัด
นั่นคือสถานการณ์ที่จะทำให้การจัดลำดับความน่าเชื่อถือ หรือ credit ratings ของอเมริกาถูกลดลงทันที
มีผลกระทบต่อเนื่องคือทำให้ความเชื่อมั่นทั่วโลกต่อเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงอย่างมาก
หลายคนมองว่าวิกฤตของดอลลาร์หรือโอกาสของหยวน
ผู้อำนวยการ IMF จำเป็นต้องให้ทีมงานประเมินสถานภาพด้านเศรษฐกิจและระบบการเงินของสหรัฐฯ อย่างตรงไปตรงมา เพราะจำเป็นต้องทำหน้าที่แบบมืออาชีพโดยไม่เกรงใจสหรัฐฯ ในฐานะพี่เบิ้มของโลกตะวันตก
เธอบอกว่า “เราคิดว่าตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ เป็นจุดยึดของระบบการเงินโลก และสมอนี้จำเป็นต้องมีหลักยึดที่มั่นคง”
IMF คือกองทุนการเงินระหว่างประเทศที่มีสมาชิก 190 ประเทศ และเป็นกลไกสำคัญของระบบการเงินโลกที่นำโดยสหรัฐฯ
แต่เมื่อระบบการเงินของสหรัฐฯ เกิดปัญหาบ่อยและถี่ขึ้น สมาชิกจำนวนไม่น้อยก็เริ่มหันไปทางตะวันออกมากขึ้นเรื่อยๆ
ในเดือนมีนาคม จอร์จีวากล่าวชื่นชมจีนที่อาจมีส่วนสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกถึง 30 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้
ซึ่งเป็นสิ่งที่จีนทำมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินโลกในปี 2550-51
ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสหรัฐอเมริกาไม่ใช่ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ในระบบนี้
คล้ายกับวิกฤตครั้งนั้น ซึ่งกระตุ้นความพยายามในการทำให้เงินหยวนของปักกิ่งเริ่มเข้าสู่ระบบสากลในปี 2552
นักวิเคราะห์เชื่อว่าปัญหาเพดานหนี้ของสหรัฐฯ ที่ยืดเยื้อหลายเดือน ประกอบกับการขู่ว่าจะเกิดการ “แยกขั้ว” (decoupling) เศรษฐกิจสหรัฐฯ จากตะวันออก ซ้ำเติมด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง อาจเป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับสกุลเงินของจีน
กูรูหลายสำนักก็เริ่มจะมองแนวโน้มไปทางนั้น
จีนกำลังได้เปรียบสหรัฐฯ ในแง่มีเสถียรภาพทางการเงินระหว่างประเทศของจีน
จึงเกิดคำถามว่า จำเป็นหรือไม่ที่โลกจะต้องให้สหรัฐฯ เป็นผู้นำในกลไกการเงินของโลกตลอดไป
เพราะนักวิพากษ์สหรัฐฯ ได้ยืนยันด้วยเสียงดังขึ้นเรื่อยๆ ว่า เหตุการณ์หลายครั้งได้พิสูจน์แล้วว่าสหรัฐฯ ไม่ใช่ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ในระบบนี้
อัตราดอกเบี้ยที่รุนแรงโดยธนาคารกลางสหรัฐฯ รวม 500 จุดในช่วง 14 เดือนที่ผ่านมา เป็นเสมือนดาบที่แขวนอยู่และเป็นเงาหลอกหลอนตลาดเกิดใหม่หลายแห่ง
และที่กลายเป็นยาขมหม้อใหญ่ก็คือ เมื่อเกิดวิกฤตสหรัฐฯ อย่างนี้ ทุกประเทศก็ต้องแย่งชิงกันเพื่อเพิ่มทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเพื่อเสริมฐานรากทางเศรษฐกิจเพื่อเอาตัวรอดจากการที่วอชิงตันต้องทำศึกอย่างรุนแรงและต่อเนื่องกับปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น
ส่วนจีนนั้นดูดีกว่าอเมริกาในหลายๆ ด้าน
ปักกิ่งกำลังฟื้นตัวจากผลกระทบทางเศรษฐกิจของการระบาดใหญ่ของโควิด-19 และเศรษฐกิจก็ทำท่าจะกำลังเด้งกลับ
อีกทั้งจีนมีเครื่องมือหลายอย่างในการประคับประคองให้เศรษฐกิจกลับมาโตอย่างมีพลัง
นั่นรวมถึงการลงทุนด้วยเงินหยวนในโครงการ Belt and Road Initiative
หรือการชำระหยวนกับคู่ค้ารายใหญ่
ตามมาด้วยการส่งเสริมเงินหยวนดิจิทัล และการกระจายทุนสำรองที่ไม่ใช่ดอลลาร์
ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อยอดคำสั่งซื้อทางการเงินโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐแบบที่ผ่านมา
เศรษฐกิจจีน ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก กำลังเคลื่อนตัวออกจากรูปแบบที่พึ่งพาการส่งออกไปสู่โมเดลที่มุ่งเน้นการบริโภคภายในประเทศและการพึ่งพาการนำเข้าสินค้า อย่างเช่น น้ำมันและอาหาร
นั่นจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากกลไกการเงินที่มีสหรัฐฯ เป็นศูนย์กลาง
เพราะนั่นแปลว่าจีนดึงดูดการลงทุนในโรงงานที่เน้นการส่งออกด้วยเงินดอลลาร์
และเมื่อได้เงินดอลลาร์ที่ได้รับมาลงทุนในตั๋วเงินคลังสหรัฐฯ ที่ให้ผลตอบแทนต่ำ
จีนมองว่าระบบปัจจุบันที่นำโดยสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจของเงินดอลลาร์สหรัฐและกฎเกณฑ์ต่างๆ นั้นเป็นการขัดต่อผลประโยชน์ของจีน
ดังนั้นเป้าหมายของจีนจึงคือการค่อยๆ บ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ และหาทางปรับแก้ระบบที่เป็นผลประโยชน์ระยะยาวของจีนมากขึ้น
แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ทำได้ชั่วข้ามคืน
อุปสรรคใหญ่ที่สุดของการบรรลุเป้าหมายนั้นไม่ใช่แค่ระบบปัจจุบันที่ยังยึดติดเงินดอลลาร์สหรัฐของตลาดโลกส่วนใหญ่เท่านั้น แต่ที่สำคัญคือความไม่เต็มใจของปักกิ่งที่จะละมือจากระบบการเงินของตน
เป็นที่มาของข้อสรุปของนักวิเคราะห์ไม่น้อยว่าหยวนไม่สามารถแทนที่ดอลลาร์สหรัฐได้ “ในอนาคตอันใกล้”
ถ้าเช่นนั้น ปักกิ่งต้องทำอะไรเพื่อ “ค่อยๆ ขยับเข้าใกล้เป้าหมาย”
คำตอบคือการผ่อนคลายกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการควบคุมบัญชีเงินทุนของปักกิ่ง
ซึ่งทุกวันนี้ยังจำกัดความคล่องตัวในการแปลงสกุลเงินหยวนเป็นสกุลอื่นให้สะดวกเหมือนที่ทำกับดอลลาร์ได้
Mansfield Center ที่มหาวิทยาลัยมอนทานา จนกว่าจะทำเช่นนั้น – การเคลื่อนไหวซึ่งตามคำนิยามหมายถึงการลดการควบคุมของฝ่ายต่างๆ ที่มีต่อเศรษฐกิจ และปล่อยให้ธนาคารอิสระตัดสินใจว่าจะให้กู้ยืมที่ใด และนั่นอาจนำไปสู่การหนีทุน – ประเทศอื่นๆ จะไม่เต็มใจที่จะถือเงินสำรองหยวนจำนวนมาก”
รัฐบาลจีนกำลังใช้ท่าทีอนุรักษนิยมในการปฏิรูประบบการเงิน ซึ่งจะทำให้เงินหยวนมีความยืดหยุ่นในการใช้งานระหว่างประเทศมากขึ้น
รัฐบาลจีนได้เน้นย้ำอยู่เสมอถึงการส่งเสริมการทำให้หยวนเป็นสากล
และยอมรับว่าจะไม่พยายามเข้ามาแทนที่เงินดอลลาร์สหรัฐในระยะสั้น
และจะระมัดระวังมากขึ้นเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เกิดจากการเปิดตลาดการเงินอย่างรวดเร็วเกินไป
ถึงวันนี้ปักกิ่งยังไม่มี “โรดแมป” หรือ “แผนที่เส้นทางเดินทาง” หรือตารางเวลาสำหรับการบรรลุเป้าหมายนั้น
สิ่งที่จะเป็นไปได้ในระยะสั้นมากกว่าคือ การที่จีนพยายามให้เงินหยวนถูกใช้ในตลาดสากลเพื่อสะท้อนถึงส่วนแบ่งตลาด 18% ของ GDP ของโลก
แต่สัญญาณต่างๆ ชี้ไปว่าเงินหยวนจะสยายปีกกว้างขึ้นเรื่อยๆ...และดอลลาร์อยู่ใน “ขาลง” ค่อนข้างชัดเจนเช่นกัน.
Source :Thaipost
Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you