อินโดฯ ขึ้น Top 4 แหล่ง IPO: ความสำเร็จที่พร้อมไปต่อจากแหล่งแร่ EV

อินโดนีเซียเป็นที่รู้จักในสายตาชาวโลกอยู่พอสมควร โดยผู้หลงใหลประวัติศาสตร์จดจำประเทศนี้ในฐานะหมู่เกาะเครื่องเทศ และดินแดนโพ้นทะเลของเนเธอร์แลนด์ยุคล่าอาณานิคม ส่วนในทางกีฬานี่คือประเทศที่แบดมินตันคือกีฬายอดฮิต และส่งนักแบดฯ ไปคว้าแชมป์มาได้อย่างต่อเนื่อง

ขณะที่ด้านการท่องเที่ยว นี่คือประเทศที่เกาะบาหลีตั้งอยู่ และทำเงินเข้าประเทศได้มหาศาลในแต่ละปี
แต่มาปีนี้เรื่องที่ทำให้อินโดนีเซียถูกจับตามองเป็นความโดดเด่นด้านเศรษฐกิจ-การลงทุน อันเชื่อมโยงกับทรัพยากรธรรมชาติซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากจากทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์และแวดวงพลังงานสะอาด
Dealogic บริษัทเก็บรวบรวมข้อมูลด้านการลงทุนของสิงคโปร์ที่มีสาขาอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก เผยว่า อินโดนีเซียขึ้นมาเป็นประเทศที่มีการเสนอขายหุ้นต่อสาธารณะ (IPO) มากเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากจีน สหรัฐฯ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
พร้อมแซงฮ่องกง อินเดีย เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น โดยตามข้อมูลของ Dealogic ระบุว่า มูลค่า IPO ในอินโดนีเซียปีนี้ สูงถึง 2,100 ล้านดอลลาร์ (ราว 72,900 ล้านบาท)
และน่าจะแซงมูลค่า 2,200 ล้านดอลลาร์ (ราว 76,400 ล้านบาท) ของปี 2022 ได้อย่างแน่นอน เพราะมี IPO ของอีก 5 บริษัทใหญ่กำลังจะตามมา
ความคึกคักในตลาดเงินตลาดทุนดังกล่าวนี้มีที่มาโดยเริ่มจากนโยบายปฏิรูปอุตสาหกรรมเหมืองของประธานาธิบดี Joko Widodo หลังชนะเลือกตั้งในปี 2014
แม้มีทั้งแร่นิกเกิล ทองแดง และโคบอลต์ อยู่มากมาย แต่อุตสาหกรรมเหมืองในอินโดนีเซียก็ยังล้าหลัง และปี 2013 ธนาคารโลกก็จัดให้เป็นประเทศที่กฎระเบียบซับซ้อนยุ่งยาก จนยากต่อการตั้งธุรกิจ
หลังเข้ารับตำแหน่งในปี 2014 ประธานาธิบดี Joko Widodo ก็ปรับแก้กฎดังกล่าว และสั่งงดการส่งออกแร่ เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ พร้อมกระตุ้นการพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองของบริษัทในประเทศไปด้วยในตัว
ข้ามมาปี 2022 แนวทางดังกล่าวก็ผลิดอกออกผล โดยตัวเลขการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) สูงถึง 44,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 1.5 ล้านล้านบาท) เพิ่ม 44% จากปี 2021 และส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมเหมืองและธุรกิจด้านโลหะ
ท่ามกลางข่าวการตั้งโรงงานผลิตรถ EV และแบตเตอรี่รถ EV ของบริษัทต่างชาติ เช่น จากจีน และเกาหลีใต้ ในอินโดนีเซียที่มีออกมาอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่ประธานาธิบดี Joko Widodo ก็เคยเรียกเสียงฮือฮาโดยการไปเข้าพบกับ Elon Musk ซีอีโอมหาเศรษฐีของ Tesla ระหว่างไปสหรัฐฯ ให้เข้ามาตั้งโรงงานในอินโดนีเซีย
ในอนาคตข่าวค่ายรถและบริษัทแบตฯ เปิดดีลสร้างโรงงานในอินโดนีเซียคงมีออกมาอีกอย่างต่อเนื่อง เพราะ นิกเกิล ทองแดง และโคบอลต์ที่อินโดนีเซียมีนั้นสำคัญต่อการผลิตรถ EV และมีอยู่มากติดอันดับโลก
โดยเฉพาะนิกเกิลที่อินโดนีเซียมีก็คิดเป็นเกือบ 1 ใน 4 ของโลก และมีเพียงออสเตรเลียเท่านั้นที่มีอยู่มากระดับในเดียวกัน
การเติบโตของอุตสาหกรรมเหมืองในอินโดนีเซียยังยืนได้จาก IPO มูลค่า 660 ล้านดอลลาร์ (ราว 22,900 ล้านบาท) ซึ่งใหญ่สุดของปีนี้ในตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย เป็นของ Harita Nickel บริษัทเหมืองนิกเกิล และหลัง IPO เมื่อเมษายน หุ้นของบริษัทนี้ก็ยังเนื้อหอม โดยราคาขึ้นมาถึง 29%
การเติบโตของอุตสาหกรรมเหมืองอินโดนีเซียที่ทำให้ติด Top 4 ประเทศที่มี IPO สูงสุด ยังมีประเด็นแตกออกมาที่น่าสนใจ
ประเด็นแรกคือ อุตสาหกรรมเหมืองจะเป็นกำลังสำคัญในการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของอินโดนีเซียโตได้อีก หลังตลอด 10 ปีที่ผ่านมาโดยเฉลี่ยปีละ 4.3%
ประเด็นต่อมาคือ อินโดนีเซียคงจะเดินหน้าจัดตั้งกลุ่มประเทศผู้ส่งออกนิกเกิล แบบเดียวกับกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) โดยที่ตนเองเป็นแกนนำ เพื่อให้สามารถกำหนดราคาแร่ดังกล่าวที่จะยิ่งทวีความสำคัญ แบบเดียวกับน้ำมันที่สำคัญต่อแวดวงพลังงานและยานยนต์ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา
ส่วนประเด็นสุดท้าย คือ อุตสาหกรรมเหมืองจะทำให้อินโดนีเซียมีแต้มต่อในการเป็นประเทศฐานการผลิตรถยนต์แห่งใหม่ฝั่งเอเชีย โดยเน้นไปที่รถ EV อย่างครบวงจร
แบบเดียวกับที่ไทยเคยได้ชื่อว่า Detroit of Asia ในตลาดรถน้ำมัน ซึ่งเรียกตามชื่อเมือง Detroit ศูนย์กลางผลิตรถยนต์ในสหรัฐฯ
การแซงไทยขึ้นเป็น Detroit of Asia แห่งใหม่ของอินโดนีเซียในยุคโลกมุ่งสู่รถ EV มีความเป็นไปได้ เพราะ แม้ไทยได้ฉายา Detroit of Asia มาตั้งแต่ยุค 60 จากการเข้ามาตั้งโรงงานของค่ายรถญี่ปุ่นอย่าง Toyota และให้ไทยเป็นฐานส่งออกรถที่ผลิตได้ไปตะวันออกกลาง แอฟริกา และออสเตรเลีย
แต่น้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 10 ปีก่อน และการไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ก็ทำให้ค่ายรถทยอยถอนตัวออกไปหรือหันไปสร้างโรงงานในประเทศอื่นเพื่อกระจายความเสี่ยง จนทำให้ยอดการผลิตลดลงต่อเนื่อง โดยจากจุดสูงสุดที่ 2.45 ล้านคัน เมื่อปี 2013 ลดลงมา 23% มาอยู่ที่ 1.88 ล้านคันในปี 2022
แต่น้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 10 ปีก่อน และการไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ก็ทำให้ค่ายรถทยอยถอนตัวออกไปหรือหันไปสร้างโรงงานในประเทศอื่นเพื่อกระจายความเสี่ยง จนทำให้ยอดการผลิตลดลงต่อเนื่อง โดยจากจุดสูงสุดที่ 2.45 ล้านคัน เมื่อปี 2013 ลดลงมา 23% มาอยู่ที่ 1.88 ล้านคันในปี 2022
Source:marketeeronline

 

คลิก

Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"