ชาวสหรัฐไม่มั่นใจธนาคาร

ผลสำรวจซึ่งจัดทำโดยบริษัทวิจัยแกลลัพ (Gallup) ระบุว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาบั่นทอนความเชื่อมั่นในระบบการเงินของสหรัฐอเมริกา เกือบครึ่งหนึ่งจากจำนวนผู้ทำแบบสำรวจกับแกลลัพทั้งหมด 1,013 คน ระบุว่ามีความกังวลด้านความปลอดภัยต่อเงินฝากของพวกเขาที่อยู่กับธนาคาร

หรือสถาบันการเงินอื่น ๆ โดย 19% มีความกังวลมาก และอีก 29% มีความกังวลปานกลาง ส่วน 20% ระบุว่าไม่มีความกังวลเลย และอีกกว่า 30% ไม่ค่อยกังวล
ระดับความกังวลในแบบสำรวจครั้งนี้ค่อนข้างใกล้เคียงกับตัวเลขที่ทางบริษัทเคยได้รับหลังจากที่เลห์แมน บราเธอร์ส ล่มสลายลงเมื่อเดือนกันยายน 2551 แต่แบบสำรวจที่ทำขึ้นหลังจากนั้นไม่นานแสดงให้เห็นว่าในเดือนธันวาคม 2551 เริ่มเห็นพัฒนาการเชิงบวกที่ปรับตัวขึ้นจากจุดต่ำสุดจากมาตรการต่าง ๆ ที่มีขึ้นเพื่อลดผลกระทบจากวิกฤตการเงินในสหรัฐฯ
แบบสำรวจของแกลลัพที่จัดทำขึ้นในปีนี้อยู่ระหว่างวันที่ 3-25 เมษายน ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังจากที่ซิกเนเจอร์ แบงก์ และซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ ล้มไปแล้ว หลังจากนั้น หน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินการธนาคารในสหรัฐฯ ก็เข้าควบคุม เฟิร์สท์ รีพับลิค แบงก์ และขายสินทรัพย์ให้กับ เจพี มอร์แกน เชส ซึ่งเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ ด้านการเงินการธนาคาร
องค์กรประกันเงินฝากสหรัฐอเมริกา (Federal Deposit Insurance Corporation) หรือ FDIC ที่จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2476 ในช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression) ประกาศให้การคุ้มครองเงินฝากสูงสุด 2.5 แสนดอลลาร์สหรัฐ และสำหรับผู้ที่มีเงินฝากสูงกว่านั้นยังมีอีกหลายขั้นตอนที่จะขยายวงเงินคุ้มครองได้
แกลลัพระบุโดยอ้างอิงจากแบบสำรวจว่า ผู้ที่เอนเอียงไปทางฝั่งรีพับลิกัน หรือกลุ่มคนที่มีรายได้ในระดับกลาง และต่ำ จะมีความกังวลเรื่องเงินฝากมากกว่า ซึ่งรวมถึงชาวอเมริกันที่ไม่จบมหาวิทยาลัยด้วยเช่นกัน
ด้านสำนักข่าวรอยเตอร์รายงานโดยอ้างอิงจากแหล่งข่าวการเงินการธนาคารว่า การที่ภาครัฐเข้ามาควบคุมดูแลทั้ง ซิกเนเจอร์ แบงก์, ซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ และเฟิร์สท์ รีพับลิค แบงก์ เป็นการสร้างวัฏจักรที่เลวร้าย เนื่องจากทำให้ธนาคารต้องประสบปัญหาอย่างหนักจนถึงขั้นที่เกิดความล้มเหลว และมีหน่วยงานกำกับเข้ามาช่วยเหลือก่อนที่บริษัทอื่นจะสามารถเข้าซื้อได้
ตัวอย่างที่เห็นล่าสุดก็คือจากที่ FDIC เลือกเจพี มอร์แกน เป็นผู้ชนะการประมูลเฟิร์สท์ รีพับลิค แบงก์เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากเฟิร์สท์ รีพับลิคพยายามอยู่นานหลายสัปดาห์ แต่ก็ไม่สามารถหาคนเข้ามาซื้อกิจการได้ จนทำให้ FDIC ต้องยื่นมือเข้ามาช่วยโดยการเข้าควบคุมสินทรัพย์ ซึ่งเจพี มอร์แกนก็ระบุว่าจะเข้าซื้อในราคา 1.06 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสัญญาเรื่องการจำกัดผลขาดทุนไว้กับภาครัฐแล้ว และ FDIC ก็จะยังให้เงินทุนกู้ยืมกับเจพี มอร์แกนเป็นเวลาห้าปีโดยไม่ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยเอาไว้
Mayra Rodr?guez Valladares ที่ปรึกษาด้านความเสี่ยงทางการเงินจาก MRV Associates กล่าวว่า หลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเฟิร์สท์ รีพับลิค ทำให้ไม่มีใครอยากเข้าซื้อธนาคารอื่น ๆ ก่อนที่ FDIC จะเข้ามาช่วยเหลือ เนื่องจากได้ทั้งราคาที่ถูกลง ราคาหุ้นก็ร่วงลงด้วยเช่นกัน นอกจากนั้นแล้วยังไม่ต้องมีการต่อรองการทำ M&A ให้ยุ่งยาก
Source - ข่าวหุ้น
เพิ่มเติม
- Americans haven’t been this worried about their bank deposits since the 2008 financial crisis :


Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"