นักลงทุนจับตาวิกฤตธนาคาร

นักลงทุนกำลังจับตาสถานการณ์ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ที่จะเกิดความปั่นป่วนในภาคธนาคาร และความกังวลว่าการคุมเข้มของธนาคารกลางสหรัฐจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างไร
ความกังวลของภาคการธนาคารทำให้หุ้นการเงินในสหรัฐฯ

เคลื่อนไหวอย่างรุนแรงตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากการล่มสลายของธนาคาร 2 แห่งของสหรัฐฯ และการที่ธนาคาร USB ตกลงซื้อกิจการคู่แข่งอย่างธนาคารเครดิต สวิส โดยมีรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์คอยให้การช่วยเหลือ
ท่ามกลางความกังวลว่าจะมีเซอร์ไพรส์อื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นอีกหรือไม่ หลังจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วของธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ภาวะการปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกต้องหมดไป และขยายรอยร้าวในระบบเศรษฐกิจให้กว้างขึ้น
เหว่ย ลี่ หัวหน้านักยุทธศาสตร์การลงทุนระดับโลกของ BlackRock ยักษ์ใหญ่ด้านกองทุน กล่าวว่า “ตลาดมีความกระวนกระวายใจอย่างมาก ณ จุดนี้ และนักลงทุนก็กำลังดำเนินการก่อน แล้วค่อยดูความแตกต่างที่เกิดขึ้นในภายหลัง ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจได้เพราะความไม่ชัดเจนที่เกิดขึ้นนั่นเอง”
ขณะนี้ มีนักลงทุนเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่มองว่าเหตุการณ์ในปีนี้เป็นการซ้ำรอยของวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี 2551 ที่ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกล้มเป็นโดมิโน โดยมีสาเหตุมาจากการล่มสลายของธนาคาร เลห์แมน บราเธอร์ส ยักษ์ใหญ่แห่งโลกการเงิน ที่ในขณะนั้นได้เรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือ แต่นักลงทุนจะได้รับการคุ้มครอง โดยมีการจับตามองว่าธนาคารอื่น ๆ อาจประสบปัญหาเช่นกัน หากประชาชนเชื่อว่าหน่วยงานกำกับดูแลของสหรัฐฯ หรือ ยุโรป จะไม่คุ้มครองเงินฝาก
ทางด้าน Tim Murray นักกลยุทธ์ตลาดทุน the Multi-Asset Division ของกองทุน T. Rowe Price ซึ่งเป็นตราสารทุนที่มีน้ำหนักน้อย โดยเน้นที่บัญชีตลาดเงินที่ให้ผลตอบแทนเทียบเท่ากับคลัง กล่าวว่า “มันเกือบจะเหมือนกับภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ซึ่งถ้าทุกคนตกลงว่าจะไม่ถอนเงินประกัน ทุกอย่างก็น่าจะโอเค แต่ถ้ามีเพียงคนเดียวที่ตัดสินใจว่ากำลังจะถอนออกไป ปัญหาก็จะใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ”
ทั้งนี้ความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับความตั้งใจของเฟด กำลังสร้างความลังเลของนักลงทุนในหุ้นและจุดประกายให้ราคาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ แกว่งตัวอย่างมาก จากการที่เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 จุดในวันพุธ แต่ระบุว่าใกล้จะหยุดการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกชั่วคราว ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปี ตกลงมาอยู่ที่ 3.76% ในสัปดาห์นี้ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่กลางเดือนกันยายน
ด้าน Tony Rodriguez หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์ตราสารหนี้ที่ Nuveen บริษัทจัดการกองทุนระดับโลก กล่าวว่า “ความล้มเหลวของอุตสาหกรรมธนาคารนั้น อาจหมายถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น เนื่องจากสภาวะทางการเงินที่อ่อนแอช่วยให้เฟดสามารถต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อได้ง่ายขึ้น” และ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าบ่งชี้ว่าเฟดจะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยภายในสิ้นปีนี้ เขายังกล่าวอีกว่า “อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงจะทำให้หุ้นที่จ่ายเงินปันผลและสินทรัพย์เสี่ยงบางอย่าง เช่น เป็นตราสารหนี้ที่มีคุณภาพต่ำกว่าระดับที่น่าลงทุน” ซึ่ง “ก็สมเหตุสมผลแล้วที่จะเสี่ยงเพื่อใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนที่เราเห็นอยู่ตอนนี้”
ขณะที่ Jason England ผู้จัดการพอร์ตการลงทุนตราสารหนี้ทั่วโลก ของ บริษัท Janus Henderson บริษัทจัดการลงทุนระดับโลก กล่าวว่า สินทรัพย์กลุ่มเสี่ยงค่อนข้างฟื้นตัวแม้จะมีความกังวลในภาคธนาคารก็ตาม โดย S&P 500 เพิ่มขึ้น 3.4% ในปีนี้ แม้ว่าจะห่างไกลจากระดับสูงสุดในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ และเพิ่มขึ้น 1% ในสัปดาห์นี้ โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นเทคโนโลยีที่พุ่งขึ้น
Source: ข่าวหุ้น
เพิ่มเติม
- Analysis: Banking woes, Fed keep U.S. market investors on edge :


Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"