เอสเอ็มอี' แห่ขอสินเชื่อ

ธปท.เปิดผลสำรวจแนวโน้มสินเชื่อไตรมาสแรก ปี 66 พบดีมานด์สินเชื่อ"เอสเอ็มอี"โค้งแรกทะยาน จากภาพรวมเศรษฐกิจฟื้น "ธนาคารกรุงเทพ" ชี้ เอสเอ็มอี แห่ขอกู้เพื่อใช้เป็นเงินหมุนเวียน -ลงทุนเพิ่ม อานิสงส์ท่องเที่ยวฟื้นพยุงหลายอุตสาหกรรม

ฟื้นตาม ด้านกสิกรไทย คาดไตรมาสแรก สินเชื่อโต4-5%
ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) คาดการณ์เศรษฐกิจในเดือนม.ค.2566 มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามามากขึ้น ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญทำให้ เศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ ภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจกล้าจับจ่ายใช้สอย และลงทุนมากขึ้น
สอดคล้องกับผลสำรวจของ ธปท.เกี่ยวกับภาวะและแนวโน้มสินเชื่อที่ได้สำรวจผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงิน และผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) 25 แห่ง นอนแบงก์ 24 แห่ง ครอบคลุมสินเชื่อ 98% พบว่าไตรมาสแรก ปี 2566 ธุรกิจทุกขนาดและสาขาธุรกิจ ยังมีแนวโน้มต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้น ต่อเนื่อง โดยเฉพาะเอสเอ็มอี ที่ยังต้องการสินเชื่อเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน สำหรับดำเนินกิจการและผลิตสินค้าคงคลัง ขณะที่ความต้องการสินเชื่อของธุรกิจขนาดใหญ่ อาจขยายตัว ชะลอลงบ้าง เนื่องจากได้เร่งระดมทุน ไปมากแล้วในช่วงก่อนหน้า แต่ยังมี ความต้องการสินเชื่อเพื่อการควบรวม และซื้อกิจการ (M&A) ต่อเนื่อง
ส่วนมาตรการการให้สินเชื่อ คาดสถาบันการเงินยังเข้มงวดต่อเนื่อง โดยเฉพาะเอสเอ็มอีที่สถาบันการเงิน มีแนวโน้มระมัดระวังมากขึ้น จากคุณภาพสินเชื่อที่ยังไม่ปรับดีขึ้น รวมถึงมุมมองต่อภาวะเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอน
อีกทั้งพบว่า สถาบันการเงินบางแห่ง เพิ่มความระมัดระวังในการให้สินเชื่อ ภาคเกษตรมากขึ้น จากการเผชิญ ภาวะต้นทุนที่สูงต่อเนื่อง ขณะที่ บางแห่งพิจารณาปรับเงื่อนไขสินเชื่อ ให้เข้มงวดขึ้น เช่น ปรับเพิ่ม margin สำหรับลูกค้ากลุ่มเสี่ยง อย่างไรก็ดี สถาบันการเงิน ยังมีความต้องการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในทุกขนาดและทุกสาขาธุรกิจ
นายศิริเดช เอื้องอุดมสิน รอง ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ (BBL) กล่าวว่า แนวโน้มความต้องการ สินเชื่อเอสเอ็มอีของธนาคารปรับตัว ดีขึ้น เพราะต้องการสินเชื่อเพื่อนำไป ขยายธุรกิจ และใช้เป็นทุนหมุนเวียน เพิ่มขึ้น หลักๆ มาจากท่องเที่ยวฟื้นตัว ที่เป็นตัวหนุนให้อุตสาหกรรมต่างๆ ฟื้นตัวตามด้วย ดังนั้นเชื่อว่า สินเชื่อ เอสเอ็มอีในไตรมาสแรก น่าจะเติบโต ดีขึ้นหากเทียบกับไตรมาส 4 และ ไตรมาสแรก ปีก่อน
สำหรับลูกหนี้เอสเอ็มอีที่อยู่ภายใต้ มาตรการช่วยเหลือของธปท. ฟื้นตัว และออกจากมาตรการได้มากขึ้น แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ยังต้องประคองและช่วยเหลือต่อเนื่อง เพื่อให้ธุรกิจกลับมาอย่างยั่งยืน
นายชัยยศ ตันพิสุทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย (KBANK)กล่าวว่า แม้แนวโน้มความต้องการสินเชื่อเอสเอ็มอี ของธนาคารกสิกรไทยจะปรับตัว ดีขึ้น แต่หลักๆมาจากความต้องการสินเชื่อ เพื่อใช้เป็นเงินหมุนเวียน เพื่อใช้ในการซื้อ สินค้า และเป็นสภาพคล่อง เพราะต้นทุนราคาสินค้า ที่ปรับเพิ่มขึ้นจากเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ต่อเนื่อง ประกอบกับต้นทุนดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น มีผลทำให้ภาระเอสเอ็มอีต่างๆปรับตัวเพิ่มขึ้น ต่างกับการขอสินเชื่อเพื่อ การลงทุน และใช้สำหรับการขยายธุรกิจ ที่ยังมี ไม่มากนัก ซึ่งต้องดูความชัดเจนอีกสักระยะ
ดังนั้นคาดว่า จากดีมานด์สินเชื่อที่ดีขึ้น ต่อเนื่อง จะหนุนให้สินเชื่อเอสเอ็มอี ไตรมาสแรก เติบโตได้ดีระดับ 4-5% หากเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนได้ และเติบโตต่อเนื่อง หากเทียบกับไตรมาส 4 ที่ผ่านมา
ส่วนการอนุมัติสินเชื่อ ธนาคารยอมรับว่า ยังเข้มในการปล่อยสินเชื่อ ภายใต้ ความเปราะบางที่ยังคงมีอยู่ และเน้นดูคุณภาพลูกค้าเป็นหลัก
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
เพิ่มเติม
- รายงานผลการสํารวจภาวะและแนวโน้มสินเชื่อ (Senior Loan Officer Survey) ไตรมาส 4/2565 ของ ธปท. :

 

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"