นักวิเคราะห์เชื่อ รัฐบาลสหรัฐฯ มองว่าการที่โอเปกพลัสมีมติลดกำลังการผลิตลงมากกว่า 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็นการแทรกแซงทางการเมือง และเป็นการทำลายโอกาสของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ในการดำเนินนโยบายควบคุมราคาพลังงาน
เพื่อรักษาฐานเสียงของตนก่อนการเลือกตั้งกลางภาคที่จะจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนี้
แดเนียล เยอร์กิน รองประธาน S&P Global กล่าวว่า หลายฝ่ายเชื่อว่าการลดกำลังการผลิตของโอเปกพลัสครั้งนี้เป็นการโจมตีนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ หลังเดินทางไปเยือนซาอุดีอาระเบีย อีกทั้งเป็นการแทรกแซงทางการเมืองสหรัฐฯ ที่กำลังจะจัดเลือกตั้งกลางภาคในเดือนหน้า ถึงแม้การลดกำลังการผลิตจะมีผลบังคับในเดือนพฤศจิกายนก็ตาม
องค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันออก หรือ โอเปก และชาติพันธมิตร ที่ร่วมกลุ่มในนาม โอเปกพลัส มีมติปรับลดกำลังการผลิต 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป เพื่อพยุงราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา แม้จะมีเสียงเรียกร้องจากสหรัฐฯ ให้เพิ่มกำลังการผลิต เพื่อช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
การปรับลดกำลังการผลิตดังกล่าว เป็นการปรับลดกำลังการผลิตครั้งใหญ่ที่สุดของโอเปกพลัสนับตั้งแต่ปี 2563 และเป็นการปรับลดกำลังการผลิตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย โดยเป็นการประชุมแบบพบหน้ากันเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19
นายไบเดน เดินทางเยือนประเทศซาอุดีอาระเบียเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อกดดันชาติผู้ผลิตน้ำมันยักษ์ใหญ่ของโลกให้เพิ่มกำลังการผลิต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามของรัฐบาลสหรัฐฯ ในการควบคุมราคาพลังงานของประเทศตน
ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์หลังโอเปกพลัสประกาศลดกำลังการผลิต สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวชึ้น 1.4% สู่ระดับ 87.76 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมัน BRENT เพิ่มขึ้น 1.7% สู่ระดับ 93.37 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์จากธนาคาร Mizuho กล่าวว่า การลดกำลังการผลิตโดยกลุ่มโอเปกพลัสนั้น อาจเป็นการแสดงออกถึงความไม่เห็นด้วย และประท้วงที่สหภาพยุโรปประกาศกำหนดเพดานราคาน้ำมันรัสเซีย โดยใช้น้ำมันเป็นอาวุธในการตอบโต้
ถึงการลดกำลังการผลิตประมาณ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จะส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นอีกครั้ง แต่จะไม่กระทบต่อความต้องการ อย่างไรก็ดี มตินี้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของการรวมกลุ่มเชิงภูมิรัฐศาสตร์เพื่อต่อรอง โดยไม่คำนึงถึงภาพรวมของเศรษฐกิจโลก
นายเยอร์กิน จาก S&P Global จึงมองว่า มติดังกล่าว “ไม่ใช่ในแง่เศรษฐกิจ” แต่มีลักษณะทางการเมืองมากกว่า และยิ่งชัดเจนว่าเป็นเหตุผลทางการเมือง เมื่อมตินี้เกิดขึ้นหลังจากสหภาพยุโรปประกาศกำหนดเพดานราคาน้ำมันที่นำเข้าจากประเทศรัสเซีย ซึ่งเป็นมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียชุดใหม่ ที่สืบเนื่องจากสงครามระหว่างรัสเซีย และยูเครน
ด้านประธานผู้บริหารของ Skylar Capital Management มองว่านี่คือการต่อสู้เล็ก ๆ ระหว่างทำเนียบขาว และกลุ่มชาติสมาชิกโอเปกพลัส โดยเขาเชื่อว่าท้ายที่สุด โอเปกพลัสจะเป็นผู้ชนะในศึกนี้ และไม่เป็นผลดีต่อทำเนียบขาวสักเท่าไรหากจะเล่นเกมนี้ต่อ
Source: ข่าวหุ้น
เพิ่มเติม
- Explainer-Why are U.S. fuel prices rising again? Will they keep going up?
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you