จากสงครามการค้า สู่สงครามไอที

จีนนั้นมีนโยบายก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจโลกทางด้านเทคโนโลยีภายในเวลา 30 ปี อีกทั้งยังมียุทธศาสตร์ Made in China 2025 มุ่งเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคการผลิตที่อาศัยเทคโนโลยีเป็นหัวจักรขับเคลื่อน

โดยกำหนด 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย อาทิ อุตสาหกรรมสารสนเทศ อุตสาหกรรมการผลิตหุ่นยนต์ อากาศยาน ยานยนต์พลังงานใหม่ ฯลฯ จีนกำลังมุ่งหน้าสู่การเป็นผู้ส่งออกนวัตกรรมและสินค้าเทคโนโลยี แต่เป้าหมายดังกล่าวก็กาลังถูกท้าทายจากสถานการณ์สงครามการค้าที่เกิดขึ้นแล้วอย่างเต็มรูปแบบกับสหรัฐอเมริกา และนี่อาจเป็นสิ่งที่ทำให้รัฐบาลจีนต้องตระหนักแล้วว่า จำเป็นจะต้องเร่งปฏิรูปการผลิตภายในประเทศและพึ่งพาตนเองทางด้านเทคโนโลยีให้ได้เร็วขึ้น อย่างน้อยคือน่าจะต้องเร็วกว่าแผนที่วางไว้

เพราะบทเรียนจากกรณีที่บริษัท แซดทีอีฯ ที่เป็นทั้งผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือและผู้วางระบบเครือข่ายโทรคมนาคมรายใหญ่อันดับ 2 ของจีน(เป็นรองเพียงหัวเว่ย เทคโนโลยีส์) ถูกสหรัฐ อเมริกาคว่าบาตรห้ามบริษัทอเมริกัน ค้าขายด้วยเมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา ก็ทำเอาบริษัทซวนเซถึงขนาดต้องปิดโรงงานผลิต เพราะผลิตภัณฑ์ของแซดทีอียังต้องพึ่งพาชิ้นส่วนประกอบที่สำคัญจากสหรัฐฯอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นชิป โพรเซสเซอร์ หรือโมเด็ม

ข่าวระบุว่าสินค้าแต่ละชิ้นของแซด ทีอีอาจจะมีชิ้นส่วนจากซัพพลาย เออร์สหรัฐฯเป็นส่วนประกอบอยู่ถึง 25-30% ดังนั้น เพียงแค่ถูกคาสั่งแบนการค้าขายกับซัพพลายเออร์ บริษัทก็แทบจะไปไม่เป็นจากผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว แม้ว่าไม่กี่เดือนที่ผ่านมา สหรัฐฯจะยอมยกเลิกบทลงโทษนี้ทำให้แซดทีอีหายใจหายคอได้โล่งขึ้น แต่เมื่อวันที่ 13 สิงหาคมที่ผ่านมา คลื่นใหญ่ลูกใหม่ก็ซัดเข้าหาแซดทีอีและบริษัทด้านไอทีของจีนอีกครั้ง เป็นการตอกย้าว่า จีนต้องเร่งเครื่องยกระดับเทคโนโลยีด้วยศักยภาพของตัวเองอย่างจริงๆจังๆ อย่าได้หวังพึ่งเทคโนโลยีนำเข้าให้มากนัก

ที่กล่าวเช่นนี้เพราะล่าสุด นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้ลงนามในร่างกฎหมายที่เป็นส่วนหนึ่งของพระราชบัญญัติด้านกลาโหม (Defense Authorization Act) จำกัดการเข้าถึงตลาดสหรัฐฯ ของบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสารของจีนหลายบริษัท ซึ่งรวมถึง 2 รายใหญ่อย่าง หัวเว่ย (HUAWEI) และ แซดทีอี (ZTE) ที่มียอดขายอันดับ 14 และ 4 ในสหรัฐฯตามลำดับ ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง

กฎหมายดังกล่าวซึ่งจะมีผลบังคับใช้ภายใน 2 ปีข้างหน้า ห้ามหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ เจ้าหน้าที่ ผู้รับเหมา หรือองค์กรธุรกิจ ที่ต้องการทำงานร่วมกับหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ ใช้ชิ้นส่วนประกอบเทคโนโลยีในระบบสื่อสาร หรือบริการจากบริษัทสัญชาติจีนเหล่านี้ รวมทั้งเทคโนโลยีที่ใช้ในการรับส่งสัญญาณการสื่อสารและการเข้าดูข้อมูลของผู้ใช้

นอกจากหัวเว่ยและแซดทีอีแล้ว กฎหมายฉบับนี้ยังครอบคลุมถึงอุปกรณ์กล้องวงจรปิด และอุปกรณ์การสื่อสารโทรคมนาคมที่ผลิตโดยบริษัทสัญชาติจีนราย อื่นๆ ได้แก่ บริษัท ไฮเทอรา คอม มิวนิเคชั่นส์ฯ บริษัท หังโจว ฮิควิชั่น ดิจิตอล เทคโนโลยี คอมปานีฯ และ บริษัท ต้าหัว เทคโนโลยี คอมปานีฯ

แม้ว่าจะเป็นข่าวร้ายสำหรับบริษัทด้านอุปกรณ์การสื่อสารของจีน แต่ก็ยังไม่ร้ายหมดเสียทีเดียวเพราะกฎหมายนี้ห้ามเฉพาะหน่วยงานภาครัฐและผู้ที่ต้องทำงานเกี่ยวเนื่องกับหน่วยงานภาครัฐของสหรัฐฯเท่านั้น หมายความว่าผู้บริโภคหรือคนทั่วไปก็ยังคงซื้อขายหรือใช้ผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ของบริษัทเหล่านี้ได้ และกว่าที่กฎหมายฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ก็ภายในปีสองปีข้างหน้า

จากคำสั่งห้ามดังกล่าว ทำให้รัฐบาลสหรัฐฯมอบหมายคณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการ สื่อสาร (Federal Communications Commission : FCC) หรือเอฟซีซี ให้เป็นผู้จัดสรรงบช่วยเหลือ องค์กรหรือภาคธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบจากกฎหมายฉบับนี้ เช่น งบในการเปลี่ยนอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนที่เคยใช้ของหัวเว่ยและแซดทีอี ไปใช้ของแบรนด์อื่น เป็นต้น

นักวิเคราะห์กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวของสหรัฐฯในครั้งนี้อาจส่งผลกระทบต่อแซดทีอีมากกว่าหัวเว่ย เนื่องจากหัวเว่ยไม่จำ เป็นต้องพึ่งพายอดขายจากตลาดสหรัฐฯ ก็สามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้ผลิตอันดับ 3 ของโลกได้ รองแต่เพียงซัมซุงและแอปเปิล

ทั้งหัวเว่ยและแซดทีอีนั้น เป็นหัวจักรสำคัญของจีนในการพัฒนาระบบ 5 จี ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคตที่กำลังจะเป็นจริงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า การถูกเตะสกัดโดยสหรัฐฯในครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกและเชื่อว่าไม่ใช่ครั้งสุดท้ายอย่างแน่นอน สงครามการค้าที่ว่าร้อนระอุแล้ว เจอสหรัฐฯเปิดแนวรบใหม่เป็นสงครามไอทีขึ้นมาอีก ยิ่งต้องจับตามองและระวังผล กระทบกันให้ดี

ไทม์ไลน์มะกัน-จีนงัดข้อ

มกราคม 2561 รัฐบาลสหรัฐฯสั่งแบนไม่ให้เครือข่ายมือถือในสหรัฐฯ ขายสมาร์ทโฟน หัวเว่ยรุ่น Mate 10 Pro ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง

เมษายน 2561 กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ประกาศยุติการขายและสั่งเก็บสินค้าของหัวเว่ยและแซดทีอีจากร้านค้าของฐานทัพสหรัฐฯทั่วโลก ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง และกังวลว่าทางการจีนอาจจะสอดแนมข้อมูลจากสหรัฐฯ ผ่านการเก็บข้อมูลจากอุปกรณ์ที่ส่งออกมาจากจีน ขณะที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้สั่งห้ามไม่ให้บริษัทสัญชาติอเมริกัน ขายผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนประกอบให้บริษัท แซดทีอีฯ เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา หลังพบว่า แซดทีอีละเมิดมติการคว่าบาตรประเทศเกาหลีเหนือและอิหร่าน

มิถุนายน 2561 กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯทำความตกลงกับแซดทีอี ยอมยกเลิกคำสั่งที่ห้ามบริษัทอเมริกันขายผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนประกอบให้บริษัท แซดทีอีฯ แม้ว่าหลายฝ่ายในรัฐสภาสหรัฐฯยังคัดค้านเรื่องนี้และมองว่า แซดทีอีคือภัยคุกคามความมั่นคง

เบื้องหลังกรณีลงดาบแซดทีอี

ในปี 2560 แซดทีอีละเมิดมติการคว่าบาตรประเทศเกาหลีเหนือและอิหร่าน ด้วยการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่มีชิ้นส่วนประกอบจากสหรัฐฯ เข้าไปขายให้กับ 2 ประเทศดังกล่าว แม้ว่าในกระบวนการเจรจาประนีประนอม ฝ่ายแซดทีอีจะยอมจ่ายค่าปรับไปแล้ว แต่ต่อมาสหรัฐฯตรวจสอบพบว่า บริษัทจีนรายนี้ได้ให้ข้อมูลเท็จหลายครั้ง ทำให้สหรัฐฯต้องออกคำสั่งห้ามบริษัทอเมริกันค้าขายกับแซดทีอีเป็นเวลา 7 ปี เริ่มจากปีนี้จนถึงปีค.ศ. 2025 หรือพ.ศ. 2568 แต่ต่อมาก็มีการเจรจากันและในเดือนมิถุนายน กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ทำความตกลงกับแซดทีอี ยอมยกเลิกคำสั่งที่ห้ามบริษัทอเมริกันขายผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนประกอบให้บริษัท แซดทีอีฯ โดยบริษัทจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข เพื่อแลกกับการที่สหรัฐฯ ยกเลิกมาตรการลงโทษ และจะต้องจ่ายค่าปรับ 1 พันล้านดอลลาร์ พร้อมกับวางเงินมัดจำ 400 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเงินดังกล่าวจะถูกริบหากพบว่าบริษัทได้กระทำความผิดอีกในอนาคต

คอลัมน์ รายงาน: โต๊ะข่าวต่างประเทศ

Source: ฐานเศรษฐกิจ

เพิ่มเติม
- “ออสเตรเลีย” แบนหัวเว่ย-ZTE ไม่ให้เข้าร่วมโครงการพัฒนาเครือข่าย 5G หวั่นกระทบความมั่นคง:
https://www.prachachat.net/world-news/news-208956 

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

บทความสนับสนุนโดย FXPro
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"