บรรดานักเศรษฐศาสตร์เอเชียยังคงคาดการณ์ว่าการเติบโตสำหรับเศรษฐกิจของประเทศตนจะยังมีเสถียรภาพในปีนี้และปีต่อไป แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในบรรยากาศธุรกิจ ซึ่งรวมถึงความตึงเครียดทางการค้าที่เพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐกับจีน
และกระแสวิตกจากตลาดในเศรษฐกิจเกิดใหม่บางแห่ง อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์ได้เปลี่ยนตัวเลขคาดการณ์เกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน และดอกเบี้ย เนื่องจากค่าเงินที่อ่อนค่าลงในประเทศอย่างอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และอินเดีย และดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทั่วทั้งภูมิภาค นอกจากนั้น ผลสำรวจยังพบว่าบรรดานักเศรษฐศาสตร์มีความกังวลเพิ่มขึ้นอย่างมากเกี่ยวกับลัทธิกีดกันการค้าที่ขยายวงมากขึ้น และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการที่สหรัฐปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจญี่ปุ่น (เจซีอีอาร์) และเว็บไซต์นิคเกอิ เอเชียน รีวิว จัดทำ ผลสำรวจรายไตรมาสระหว่างวันที่ 8-28 มิ.ย. ที่ผ่านมา โดยสอบถามจากนักเศรษฐศาสตร์และนักวิเคราะห์ 40 คนใน 5 ประเทศสมาชิกรายใหญ่ที่สุดของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย และอินเดีย
การคาดการณ์การเติบโตสำหรับประเทศอาเซียนสำคัญ เช่นเดียวกับอินเดีย ยังคงมี เสถียรภาพ สำหรับในปีนี้ กลุ่มอาเซียน 5 น่าจะ เติบโต 5% ไม่เปลี่ยนแปลงจากผลสำรวจครั้งก่อนในเดือนมี.ค. แนวโน้มของไทยดีขึ้น 0.3% หลังได้แรงหนุนจากการส่งออกที่แข็งแกร่งและความต้องการภายในประเทศ
"การเติบโตดูแข็งแกร่งขึ้น อานิสงส์จาก ความต้องการทั้งภายนอกและภายในประเทศ" ธรรมรัตน์ กิตติสิริพัฒน์ นักวิเคราะห์จาก บริษัทเคที ซีมิโก้ ซีเคียวริตีส์ในไทย เผยความเสี่ยงที่เกี่ยวกับตลาดเป็นตัวแปรหลัก ของความกังวล ค่าเงินที่อ่อนค่าลงถือเป็นความเสี่ยงใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซียและอินเดีย และเป็นความเสี่ยงใหญ่อันดับ 2 ในฟิลิปปินส์ ขณะที่อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และ อินเดีย มองว่าผลพวงจากนโยบายการเงินของ สหรัฐเป็นเป็นความเสี่ยงใหญ่อันดับ 2 และฟิลิปปินส์มองว่า เป็นความเสี่ยงใหญ่อันดับ 3
อย่างไรก็ตาม บรรดานักเศรษฐศาสตร์ เอเชียมองว่า การขยายวงของลัทธิกีดกันการค้า มีความรุนแรงที่สุด และถือเป็นความเสี่ยง ใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย
ในระบบให้คะแนนของเจซีอีอาร์ซึ่ง 60 คะแนนขึ้นไปหมายถึงนักเศรษฐศาสตร์ทุกคน มองว่าเรื่องนั้นเป็น 1 ใน 3 ความเสี่ยงใหญ่ที่สุด ให้คะแนนเรื่องลัทธิกีดกันการค้าที่ขยายวง อยู่ที่ 70 คะแนนใน 3 ประเทศดังกล่าว สะท้อนว่า เป็นความเสี่ยงที่อยู่ในระดับน่ากังวลอย่างมาก
ขณะที่อินเดียและอินโดนีเซียมองว่า ลัทธิกีดกันการค้าเป็นความเสี่ยงใหญ่สุดอันดับ 2 และ 3 ตามลำดับ
ผลสำรวจนี้ยังสอบถามบรรดา นักเศรษฐศาสตร์ให้ระบุพัฒนาการที่อาจเกิดขึ้นซึ่งสามารถส่งผลกระทบทั้งแง่บวกและลบต่อเศรษฐกิจเอเชียในภาพรวม โดยพวกเขามองว่าสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ กับจีนและความขัดแย้งทางการค้าที่เกี่ยวข้อง จะมีพัฒนาการเชิงลบมากกว่าเรื่องอื่นๆ
"สงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนจะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานของสินค้าที่ถูกเก็บภาษีนำเข้าทั้งในสหรัฐและจีน" มโนการัน มอตเทน จากธนาคารอัลไลแอนซ์ แบงก์ในมาเลเซีย เตือน
ด้านอมรเทพ จาวะลา ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย กล่าวว่า สงครามการค้าเป็นความเสี่ยงสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลก ความเฟื่องฟูด้านการส่งออกของ ชิปประมวลผลและสินค้าอื่นๆ มีแนวโน้มที่จะอยู่นานกว่าที่คาดไว้ในสิงคโปร์และมาเลเซีย เช่นเดียวกับไทย
"ดูเหมือนว่าแนวโน้มขาขึ้นของการส่งออก ที่แข็งแกร่งจะมีความยั่งยืนในช่วงครึ่งหลังของปีนี้" มานุ ภาสการัน นักวิเคราะห์จากบริษัท เซนเทนเนียล เอเชียในสิงคโปร์ ระบุ
คาดว่าฟิลิปปินส์จะยังเติบโตอย่างแข็งแกร่งต่อไป ผลจากปัจจัยภายในประเทศ ตัวเลขคาดการณ์การเติบโตในปี 2561 อยู่ที่ 6.8% ไม่เปลี่ยนแปลงจากผลสำรวจครั้งก่อน พอลลีน เรวิลลาส นักวิเคราะห์จากธนาคารเพื่อธุรกิจรายย่อย "เมโทรแบงก์" ในอังกฤษ กล่าวว่า การเติบโตจะได้รับแรงหนุนจากการใช้จ่ายในภาคครัวเรือนที่คึกคัก การขยายตัวอย่างยั่งยืนทั้งในภาครัฐและ การใช้จ่ายด้านเงินทุน
ขณะที่เศรษฐกิจของอินเดียน่าจะกลับมา สู่เส้นทางการเติบโตอีกครั้ง ตัวเลขคาดการณ์ ปี 2561/2562 อยู่ที่ 7.4% เพิ่มขึ้น 0.7% จาก 6.7% ในการคาดการณ์เมื่อปี 2560/2561 เมื่อเศรษฐกิจอินเดียชะลอตัวอยู่ช่วงหนึ่ง เนื่องจากเกิดความสับสนก่อนรัฐบาลประกาศเก็บภาษีสินค้าและบริการใหม่เมื่อเดือนก.ค. 2560 และการคาดการณ์ปี 2561/2562 ยังไม่แตกต่างจากผลสำรวจเมื่อเดือนมี.ค. แล้ว
อย่างไรก็ตาม มีความเปลี่ยนสำคัญหลายอย่างในการคาดการณ์อัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและดอกเบี้ย เช่นเดียวกับเงินเฟ้อในหลายประเทศ เอเชีย ในขณะที่การขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐมีโอกาสเกิดขึ้นเร็วขึ้น ก็มีแรงกดดันต่อค่าเงินที่อ่อนค่าลงในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ผลกระทบนี้เห็นได้ชัดเจนในอินโดนีเซีย อินเดีย และฟิลิปปินส์
เงินรูเปี๊ยะห์ของอินโดนีเซีย ลดลงมาอยู่ที่ 14,404 รูเปี๊ยะห์ต่อดอลลาร์นับถึงสิ้นเดือนมิ.ย. หรืออ่อนค่าลงราว 4% ในช่วง 3 เดือน แม้ว่าธนาคารกลางอินโดนีเซียปรับขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว 3 ครั้งในเดือนพ.ค. และมิ.ย. บรรดานักเศรษฐศาสตร์คาดว่า แนวโน้มนี้จะดำเนินต่อไปในปี 2561 และอาจจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกหลายครั้ง
ในฟิลิปปินส์ ผลคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อสำหรับปีนี้ปรับเพิ่มขึ้น 0.3% จากผลสำรวจในเดือนมี.ค. มาอยู่ที่ 4.5% นับว่า สูงกว่าเพดานสูงสุดของเป้าที่ธนาคารกลางตั้งไว้ระหว่าง 2-4% การปรับตัวเลขเพิ่มขึ้นนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการปฏิรูปภาษีเมื่อเดือนม.ค. และอาจมีผลชั่วคราว
"อย่างไรก็ตาม แรงกดดันขาขึ้นอาจ ยังคงอยู่ต่อไป เนื่องจากภาวะผันผวนในราคา น้ำมันโลก" คาร์โล อาซุนชิออน จากธนาคาร ยูเนียนแบงก์ของฟิลิปปินส์ ระบุ
Source: กรุงเทพธุรกิจ
เพิ่มเติม
- Concerns deepen over trade war impact on ASEAN, survey says:
https://asia.nikkei.com/Economy/Concerns-deepen-over-trade-war-impact-on-ASEAN-survey-says
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
บทความสนับสนุนโดย FXPro
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman