เรื่อง "วิบากกรรมของภิกษุทั้ง ๗ รูป ที่ถูกขังในถ้ำ"

๐ กรรมแห่งการกักขังสิ่งมีชีวิต ภิกษุ ๗ รูปเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่วิหารเชตวัน กล่าวคือระหว่างทางได้แวะไปพักที่วิหารแห่งหนึ่งในเวลาเย็น พระภิกษุที่อยู่ประจำที่วัดก็จัดที่นอนให้นอนในถ้ำแห่งหนึ่ง ตอนกลางคืนมี ก้อนหินใหญ่ก้อนหนึ่งกลิ้งมาปิดปากถ้ำไว้

เช้าวันรุ่งขึ้นพระภิกษุเจ้าของถิ่นก็มาดูภิกษุอาคันตุกะ ๗ รูปนั้น เห็นก้อนหินปิดปากถ้ำอยู่ จะระดมคนช่วยกันอย่างไรก็ยกก้อนหินนั้นไม่ได้ แม้พระภิกษุที่อยู่ภายในถ้ำจะช่วยก็ไม่สำเร็จ

จนถึงวันที่ ๗ ก้อนหินนั้นก็กลิ้งออกจากปากถ้ำได้เองเป็นที่อัศจรรย์ ภิกษุที่มาพักและติดอยู่ในถ้ำพากันอิดโรยอดอาหารอยู่ถึง ๗ วัน เมื่อออกจากถ้ำแล้วก็คิดว่าจะไปกราบทูลถามถึงกรรมของตน ครั้นเดินทางไปถึงวัดเชตวันแล้วก็กราบทูลเล่าเรื่องนี้ให้ทรงทราบ พร้อมทั้งขอทราบกรรมที่ภิกษุทั้ง๗ได้กระทำไว้

พระผู้มีพระภาคตรัสเล่าว่า ในอดีตกาลภิกษุทั้ง ๗ รูปนี้ได้เกิดเป็นเด็กเลี้ยงโค ๗ คนในเมืองพาราณสี ได้ต้อนโคไปเลี้ยงยังที่ต่างๆ วันหนึ่งพบตัวเงินตัวทองตัวใหญ่ตัวหนึ่งจึงติดตามไป ตัวเงินตัวทองก็หนีเข้าไปในจอมปลวก จอมปลวกนั้นมีช่องอยู่ ๗ ช่อง เด็กทั้ง ๗ คนก็พาไปหากิ่งไม้ใบไม้มาปิดช่องนั้นคนละช่อง คิดว่าพรุ่งนี้จะมาจับเอาไป แต่แล้วก็ลืมเสียได้พาโคไปเลี้ยงยังที่อื่น พอถึงวันที่ ๗ กลับมาที่เก่าพบจอมปลวกนึกขึ้นได้ จึงได้ไปเปิดกิ่งออก ตัวเงินตัวทองนั้นอดอาหารอยู่ ๗ วันซูบผอมแทบสิ้นชีวิต เด็กๆ ก็สงสารบอกกันว่าเราอย่าฆ่ามันเลยปล่อยไปเสียเถอะแล้วก็ปล่อยมันไป

เด็กทั้ง ๗ นั้นไม่ได้ไปตกนรกเพราะว่าตัวเงินตัวทองนั้นไม่ตาย แต่ก็อดอาหารถึง ๗ วันถึง ๑๔ ชาติด้วยกัน นี่เป็นอดีตชาติของภิกษุ ๗ รูปนั้น

ใครทำกรรมอย่างไรย่อมได้รับผลอย่างนั้น ไม่มีใครหนีกรรมที่ตนทำได้พ้น ผลที่ได้รับเกิดจากการกระทำของตนเองทั้งสิ้น สิ่งอื่นๆ และคนอื่นเป็นเพียงเครื่องมือช่วยสนับสนุนให้ผลของกรรมนั้นเกิดขึ้นเท่านั้น ถ้าเราไม่ได้ทำกรรมไว้เหตุต่างๆ ที่จะเป็นเครื่องสนับสนุนให้วิบากคือ ผลของกรรมเกิดขึ้นก็ไม่มี

คนจะอยู่ที่ไหนๆ ก็ไม่พ้นจากกรรมชั่ว
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งทูลพระศาสดาว่า
"ความพ้นย่อมไม่มีแก่สัตว์ที่ทำกรรมเป็นบาปแล้ว ผู้ซึ่งเหาะไปในอากาศก็ดี แล่นไปสู่สมุทรก็ดี เข้าไปสู่ซอกแห่งภูเขาก็ดี หรือ? พระเจ้าข้า"

พระศาสดาตรัสบอกว่า
"อย่างนั้นแหละ ภิกษุทั้งหลาย
แม้ในที่ทั้งหลาย มีอากาศเป็นต้น ประเทศแม้สักส่วนหนึ่งที่บุคคลอยู่แล้ว พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ ไม่มี"

เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม
ตรัสพระคาถานี้ว่า

๑๑. น อนฺตลิกฺเข น สมุทฺทมชฺเฌ
น ปพฺพตานํ วิวรํ ปวีสํ
น วิชฺชตี โส ชคติปฺปเทโส
ยตฺรฏฺฐิโต มุญฺเจยฺย ปาปกมฺมา.

บุคคลที่ทำกรรมชั่วไว้ หนีไปแล้วในอากาศ ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้, หนีไปในท่ามกลางมหาสมุทร ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้, หนีเข้าไปสู่ซอกแห่งภูเขา ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้, เพราะ เขาอยู่แล้วในประเทศแห่งแผ่นดินใด พึงพ้นจากกรรมชั่วได้, ประเทศแห่งแผ่นดินนั้น หามีอยู่ไม่.

ความแห่งพระคาถานั้นว่า :-

"ก็หากว่า คนบางคนคิดว่า ‘เราจักพ้นจากกรรมชั่วด้วยอุบายนี้ พึงนั่งในอากาศก็ดี พึงเข้าไปส่มหาสมุทรอันลึกแปดหมื่นสี่พันโยชน์ก็ดี พึงนั่งในซอกแห่งภูเขาก็ดี เขาไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้เลย ด้วยว่า ในส่วนแห่งแผ่นดินคือภาคแห่งปฐพีมีปุรัตถิมทิศเป็นต้น โอกาสแม้ประมาณเท่าปลายขนทรายที่บุคคลอยู่แล้ว พึงอาจพ้นจากกรรมชั่วได้ หามีไม่."

ในกาลจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้นบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น พระธรรมเทศนาเป็นกถามีประโยชน์ แม้แก่มหาชนผู้ประชุมกันแล้วดังนี้แล

บทความสนับสนุนโดย FXPro
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"