"กองทุนน้ำมัน ทางทฤษฎีกับปฏิบัติ ต่างกันราวนรกกับสวรรค์"

ทางทฤษฎีนั้นสวยหรูมากเพื่อสร้างกองทุนเอาเงินมารักษาเสถียรภาพทางราคาขายน้ำมันแก๊สภายในประเทศให้นิ่งไม่ผันผวนแปรผัน ตามช่วงที่ราคาน้ำมันตลาดโลกผันผวนขึ้นลง, เหมือนสร้างฝายน้ำตัวกลางระหว่างแม่น้ำใหญ่กับระดับน้ำในนาข้าวเรา

เมื่อระดับน้ำในแม่น้ำสูงก็ยังมีฝายตัวนี้กั้นอยู่ ในวงจรการตั้งกำหนดราคาน้ำมันและแก๊ส ภายในประเทศก่อนจะขายปลีกให้ชาวบ้านร้านตลาด จะต้องบวกค่าที่ต้องจ่ายให้ "กองทุนน้ำมัน" นี้ทุกครั้ง คล้ายๆภาษีอย่างหนึ่ง

... เช่น ช่วงราคาน้ำมันตลาดโลกขึ้น รัฐต้องเอาเงินจากตรงนี้มาชดเชย จ่ายออกไปก่อน จะไม่ขึ้นราคาขายปลีกภายในประเทศวันต่อวัน ทันทีเป็นเงาตลาดโลกแบบที่เราเห็นอยู่ , และเมื่อราคาโลกต่ำลงก็สามารถไปเก็บมากขึ้นในภายหลัง โดยการไม่ลดราคาขายน้ำมัน แก๊ส ปลีกลงตามทันทีในช่วงเวลาหนึ่ง

... แต่ความเป็นจริง ไม่เป็นแบบนั้น

... เพราะว่าน้ำมันแก๊สที่เราใช้กันภายในประเทศนั้น มีส่วนหลักสามส่วน สามพี่น้อง คือ ภาคการผลิต( ทั้งอุตสาหกรรมทั่วไป ใหญ่เล็ก ส่วนใหญ่ เครือปตทรพี. ใช้แก๊สตรงนี้มาก ), ภาคการขนส่ง( ก็ทั้งขนส่งของที่เกี่ยวกับชาวบ้าน รถบขส. เกี่ยวกับภาคอุตสาหกรรม ปตทรพี. ก็มี) และ ภาคครัวเรือน เช่นน้ำมันเติมมอเตอร์ไซค์ เติมรถยนตร์ เติมแก๊สหุงข้าว )

... ปัญหาคือ เงินที่เก็บจากพี่น้องสามคน สามภาคนี้ พี่คนโตอย่างภาคอุตสาหกรรมใช้้เงินเยอะสุด พ่อแม่กระทรวงพลังงานเอาไปปรนเปรอภาคนี้เยอะสุด กระเป๋าเดียวกัน สามพี่น้องหยอดกระปุกออมสินเท่ากัน แต่จ่ายให้พี่น้องไม่เท่ากัน

... เคยมีการเสนอให้แยกกระเป๋ากองทุนน้ำมันเป็นสามส่วนชัดเจนไปเลย เพื่อกันการรักลูกไม่เท่ากัน กันการรั่วไหลของเงินกองทุนที่มาจากภาคครัวเรือนไหลไปอุ้มอุตสาหกรรมคนรวย แต่ก็ไร้ผล เพราะกระทรวงพลังงานชอบคบคนรวย เนรคุณคนจนมาทุกสมัย

... และภาคอุตสาหกรรมหลายส่วนที่ต้องใช้แก๊สเฉพาะที่ต้องนำเข้า ต้องเป็นภาระให้ประชาชนคนจนไทยอุ้มคนรวยมาโดยตลอด

... และอีกอย่างสมัยนี้มีการซื้อน้ำมันล่วงหน้าหลายเดือน การจะขึ้นราคาน้ำมันทันทีเป็นเงาวันต่อวัน จึงไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องและโกงกินได้ เพราะแม้ราคาโลกจะแปรปรวนแค่ไม่กี่วัน กี่สัปดาห์ คุณก็ได้ราคาเดิมอยู่แล้ว

... เปรียบเสมือนนายทุนเหมาซื้อทุเรียนกับเจ้าของสวนตอนก่อนน้ำท่วมที่ กิโลกรัมละ 80 เป็นเวลาสามปี , แล้วพอน้ำท่วมทุเรียนแพงขึ้นเป็น กิโลละ 140 บาท พ่อค้าคนกลางก็อ้างว่าน้ำท่วมสวนทุเรียน เลยต้องขึ้นราคาตามตลาดทุเรียน แต่ตัวเองซื้อมาแค่ 80 แปลว่าส่วนต่างตอนน้ำมันขึ้น พวกเขาก็ได้กำไรไปอีกเท่าแสนเท่าตัวอีกสามปี

... ดังนั้นการขึ้นราคาตามตลาดโลกแบบวันต่อวัน​เป็นเงารีลไทม์​จึงเป็นการคดโกงประชาชนผู้บริโภคออย่างโหดร้ายและไร้คุณธรรมมาก

... เหมือนปล่อยให้โจรต่างชาติต่างบ้าน เข้ามาข่มขืนลูกสาวตัวเองในบ้าน โดยที่ไม่ช่วยเหลืออะไรเลย เอาแต่นั่งยิ้มนับเงินจากโจร

... และตามซ้ำเติมด้วย การขึ้นราคาทันทีตามตลาดโลกในจำนวนสัดส่วนที่มากกว่า แต่ไม่ลดลงราคาตามตลาดโลกทันที ช้ารีรออยู่หลายวันและน้อยกว่าสัดส่วนที่ตลาดโลกลดลงจริง เป็นการโกงกินและปล้นคนจนอย่างหนึ่ง อุ้มคนรวย

... เราถูกผู้ผลิตขายน้ำมันโกงเรามาตลอด โดยการรับรู้จากผู้ใหญ่ในกระทรวงพลังงานทุกยุคทุกสมัย

... ยังไม่นับการเอาเงินไปซื้อกองทุนประกันความเสี่ยงในตลาดฟิวเจอร์อีก พวกเขาไม่ขาดทุนแน่นอน

... ดังนั้น "กองทุนน้ำมัน" ทางตัวอักษรจึงสวยหรู แต่ตามความจริงมันคือความแสนเจ็บปวด และเป็นการปล้นเงินคนจนไปอุ้มคนรวยโดยผ่านผู้ปกครองทุกยุคทุกสมัย เป็นบ่อน้ำฝายแห่งการคดโกง

... ทางแก้ปัญหาคือ แยกกองทุนให้ชัดเจนเป็นสามกอง ถ้าทำไม่ได้ก็ยุบดีกว่า แล้วหาทางรักษาเสถียรภาพอย่างอื่น อย่าปล้นคนจนไปบำเรอคนรวยอีกเลย สงสารเราเถอะ

Jeerachart Jongsomchai / หมี CNN

บทความสนับสนุนโดย FXPro
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"