ดาวโจนส์ทะยานกว่า 400 จุด ขานรับ PCE ต่ำคาด/ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสูงกว่าคาด

ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดเพิ่มขึ้นกว่า 400 จุด สะท้อนถึงการที่นักลงทุนเริ่มคลายความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ ภายหลังการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ที่ออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์ ซึ่งบ่งชี้ว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้ออาจจะเริ่มผ่อนคลายลง

 

นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงหนุนจากการเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่สูงกว่าคาด ส่งผลให้นักลงทุนมีมุมมองเชิงบวกมากขึ้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจในอนาคต

ณ เวลา 22.22 น. ตามเวลาในประเทศไทย ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์อยู่ที่ระดับ 42,581.78 จุด เพิ่มขึ้น 406.67 จุด หรือ 0.96%

ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 70.1 ในเดือนกันยายน ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 69.3 และปรับเพิ่มจากระดับ 69.0 ในเดือนสิงหาคม แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจมากขึ้น

นักลงทุนได้ปรับคาดการณ์เกี่ยวกับนโยบายดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) โดยคาดว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% ในการประชุมเดือนพฤศจิกายน หลังจากการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ที่ต่ำกว่าคาด

ล่าสุดข้อมูลจาก FedWatch Tool ของ CME Group ระบุว่านักลงทุนให้น้ำหนัก 54.1% ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับ 4.25-4.50% ในการประชุมเดือนพฤศจิกายน เพิ่มขึ้นจาก 49.3% ในวันก่อนหน้า

นอกจากการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดแล้ว นักลงทุนยังให้น้ำหนัก 45.9% ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 4.50-4.75% ในการประชุมเดือนพฤศจิกายน ซึ่งลดลงจาก 50.7% ในวันก่อนหน้า

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลทั่วไป (Headline PCE) ในเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้น 2.2% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ 2.3% และลดลงจาก 2.5% ในเดือนกรกฎาคม นอกจากนี้ เมื่อเทียบแบบรายเดือน ดัชนี PCE ทั่วไปเพิ่มขึ้นเพียง 0.1% ในเดือนสิงหาคม ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 0.2%

ส่วนดัชนี PCE พื้นฐาน (Core PCE) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นตัวชี้วัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ ปรับขึ้น 2.7% เมื่อเทียบรายปี สอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ และเพิ่มขึ้นจาก 2.6% ในเดือนกรกฎาคม อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบแบบรายเดือน ดัชนี PCE พื้นฐานปรับขึ้นเพียง 0.1% ต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ 0.2%

ดัชนี PCE ถือเป็นตัวชี้วัดเงินเฟ้อที่เฟดใช้ในการประเมินสถานการณ์เงินเฟ้อ เพราะสามารถสะท้อนการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคและครอบคลุมราคาสินค้าและบริการที่หลากหลายกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)

คลิก

Cr.สำนักข่าวอินโฟเควสท์

----------------------------------------------------------

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4yo

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"