ดอกเบี้ยขาขึ้นอาจสิ้นสุดแล้ว ธนาคารกลางมีท่าทีอ่อนลงต่อนโยบายการเงิน

ธนาคารกลางใหญ่ ๆ ทั่วโลกเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องในสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้อัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวอ่อนตัวลงแล้วก็ตาม อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางต่าง ๆ เริ่มมีการปรับท่าทีอย่างระมัดระวังต่อการดำเนินมาตรการทางการเงินในอนาคต

ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่ารอบการขึ้นดอกเบี้ยทั่วโลกที่ดำเนินมาหนึ่งปีอาจมาถึงจุดสิ้นสุดแล้ว
ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา หรือ เฟด และธนาคารกลางยุโรปประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ในความคาดการณ์ของตลาด พร้อมกันนั้นยังเปิดโอกาสให้สามารถขึ้นดอกเบี้ยได้อีกหากอัตราเงินเฟ้อไม่ลดลงต่อเนื่อง หลังจากที่ก่อนหน้านี้เริ่มเห็นการปรับตัวลงที่เร็วกว่าคาดทั้งในส่วนของอเมริกา และฝั่งยุโรป
ขณะนี้ อัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ อยู่ที่ 5.25%-5.50% ส่วนธนาคารกลางยุโรปอยู่ที่ 3.75%
ตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางอังกฤษจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในสัปดาห์นี้ หลังจากที่เห็นสัญญาณเชิงบวกในอัตราดอกเบี้ยทั่วไปที่ขยายตัวน้อยกว่าคาด โดยอยู่ที่ 7.9% ในเดือนมิถุนายน ต่ำกว่าคาดการณ์ของรอยเตอร์โพลที่มองไว้ 8.2% ซึ่งเป็นการลดลงจากระดับเงินเฟ้อที่สูงสุดในรอบ 41 ปี ที่ 11.1% เมื่อเดือนตุลาคม 2565 นอกจากนั้นแล้วอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานก็เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดเช่นกัน โดยอยู่ที่ 6.9% จากแบบสำรวจที่คาดว่าจะขยายตัว 7.1% ทั้งนี้ ธนาคารกลางอังกฤษวางเป้าหมายเงินเฟ้อทั่วไปไว้ที่ 2%
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา แม้ธนาคารกลางญี่ปุ่นจะประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำสุดในวันนี้ แต่ก็สร้างความประหลาดใจให้กับตลาดอย่างมากหลังมีการปรับนโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (YCC) ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อผ่อนคลายความกังวลสำหรับผลกระทบข้างเคียงที่เพิ่มขึ้นจากการคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำมานาน
ในการประชุมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ธนาคารกลางญี่ปุ่นมีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ -0.1% และตรึงเป้าหมายผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีที่ราวระดับ 0% อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางประกาศให้พันธบัตรอายุ 10 ปี ยังคงสามารถปรับตัวขึ้นหรือลงได้ 0.5% จากระดับเป้าหมายที่ 0% และยังเสนอซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปีที่อัตราดอกเบี้ย 1% แทนการเสนอซื้อที่อัตราดอกเบี้ยเดิมที่ระดับ 0.5% ซึ่งแสดงให้เห็นถึงช่วงของการปรับขึ้นได้อีก 0.50%
ทั้งนี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่นมีการปรับค่าเฉลี่ยเงินเฟ้อในปีนี้ขึ้นเป็น 2.5% จากเดิมที่คาดไว้ 1.8% เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมานี้เริ่มเห็นการปรับตัวลดลงของอัตราเงินเฟ้อทั้งในยุโรปและสหรัฐฯ โดยที่อัตราการจ้างงาน และการเติบโตทางเศรษฐกิจยังสามารถค่อย ๆ เติบโตได้อย่างช้า ๆ และสิ่งนี้เป็นจุดสำคัญสำหรับธนาคารกลางที่พร่ำบอกมากว่าหนึ่งปีว่าต้องการเห็นการลดลงอย่างแน่ชัด เพื่อให้เห็นว่าการปรับนโยบายทางการเงินนั้นได้ผลจริง
นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟด กล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันุธที่ผ่านมาหลังจากที่ธนาคารกลางเพิ่งปรับขึ้นดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 11 จากการประชุมทั้งหมด 12 ครั้ง ล่าสุด ในอัตราอีก 0.25% โดยระบุว่า เมื่อดูจากการปรับขึ้นที่ผ่านมา สหรัฐฯ สามารถใจเย็นลงได้บ้าง และปล่อยให้สถานการณ์ที่เป็นอยู่ตอนนี้ดำเนินด้วยตัวของมันเอง
ด้านนางคริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรป ระบุว่า ถ้อยคำแถลงที่เปลี่ยนไปจากเดิมเพียงเล็กน้อยนั้นมีความหมายที่สำคัญ ซึ่งหมายถึงการที่ธนาคารกลางกำลังส่งสัญญาณว่าหลังจากที่ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นมาแล้วถึงเก้าครั้งติดต่อกัน อาจมีการหารือเพื่อหยุดการขึ้นชั่วคราวได้ในการประชุมครั้งถัดไปในเดือนกันยายน
Source: ข่าวหุ้น
เพิ่มเติม
- Endgame for Fed's tightening cycle challenged by easing financial conditions:

Cr.Bank’s Scholarship Students

-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"