ผู้จัดจำหน่ายแบตเตอรี่รถยนต์รายใหญ่อันดับ 1 ของโลก แบตเตอรี่แบบชาร์จไฟสำหรับรถยนต์เป็นแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนขนาดตั้งแต่กลางถึงใหญ่ ใช้เพื่อจัดหาพลังงานให้กับรถยนต์ไฟฟ้า ลิเธียมไอออนเคลื่อนที่ระหว่าง (+) / (-) ขั้วไฟฟ้า
เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า จากเทคโนโลยีที่ทันสมัยของ บริษัท ,LG Chem ได้เป็นผู้นำตลาดทั่วโลกโดยจัดหาแบตเตอรี่สำหรับยานพาหนะไฟฟ้าให้กับผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลก
โซลูชันที่ดีที่สุดสำหรับการประหยัดพลังงานและพลังงานที่มีคุณภาพสูง ระบบเก็บพลังงาน (Energy Storage System: ESS) เก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้เพื่อใช้ในภายหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานโดยการเพิ่มคุณภาพของพลังงานทดแทนที่ทำให้เกิดเสถียรภาพของระบบจ่ายไฟ LG Chem ให้บริการโซลูชันด้านพลังงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ใช้ โดยใช้คลังเก็บพลังงานสุดล้ำสมัย ระบบที่มีอายุการใช้งานยาวนานและมีคุณภาพสูงสุด
แบตเตอรี่สำหรับยานพาหนะไฟฟ้าต้องการความเสถียรสูง ผลผลิตสูง และความหนาแน่นของพลังงานสูง และด้วยเหตุนี้ผลิตภัณฑ์ของ LG Chem จึงได้รับการยอมรับอย่างเต็มที่สำหรับประสิทธิภาพและคุณภาพของผลิตภัณฑ์
พลังงานไฟฟ้า ลักษณะเฉพาะของการขับขี่ใช้พลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว มลพิษเป็นศูนย์ลักษณะเฉพาะของแบตเตอรี่สิ่งสำคัญคือ การรักษาระยะทางขับรถให้เพียงพอ ดังนั้นความหนาแน่นของพลังงานสูงเป็นคุณลักษณะที่สำคัญที่สุดของแบตเตอรี่
LG Chem จะลงทุนเงินจำนวน 436 พันล้านวอน (387 ล้านเหรียญสหรัฐ) ใน LG Chem Wroclaw Energy sp. z oo เป็นบริษัทในเครือของโปแลนด์ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทอย่างเป็นทางการ นี่คือโรงงานผลิตแบตเตอรี่ซึ่งจะเป็นโรงงานผลิตแบตเตอรี่ EV ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป
เทคโนโลยีที่ทันสมัยพร้อมด้วยความสามารถในการแข่งขันระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรม ในแบตเตอรี่แบบชาร์จไฟได้ แบตเตอรี่ใช้สำหรับอุปกรณ์หลากหลายชนิด เช่น สมาร์ทโฟนและ แล็ปท็อป
ในปี 1999 LG Chem ประสบความสำเร็จในการพัฒนาแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน เป็นครั้งแรกในเกาหลี นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา บริษัทยังคงเพิ่มยอดขายในตลาดแบตเตอรี่ ที่ใช้เทคโนโลยีการแข่งขันและผลิตภัณฑ์นวัตกรรม
LG Chem เตรียมสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ในประเทศโปแลนด์ ในช่วงที่อุตสาหกรรมรถยนต์เริ่มผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจำนวนมากออกสู่ตลาด
โรงงานของแอลจี เคม ตั้งอยู่ในประเทศโปแลนด์ ทางบริษัทยักษ์ใหญ่จากเกาหลีทุ่มเงินลงทุนมหาศาลถึง 1.63 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อก่อสร้างโรงงานและจัดตั้งสายการผลิต โดยจะมีกำลังการผลิตระดับชุดแบตเตอรี่ 100,000 ชิ้นต่อปี และยืนยันว่าจะส่งมอบให้หลายบริษัทรถยนต์
คัง บอม-ชาง รองประธานของแอลจี เคม กล่าวว่า “บริษัทฯ เลือกโปแลนด์ เนื่องจากเป็นประเทศที่มีตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ เพื่อการผลิตแบตเตอรี่สำหรับผู้ผลิตยานยนต์ในยุโรปและทั่วโลก”
โรงงานดังกล่าวเริ่มเดินเครื่องสายการผลิต แอลจี เคม จะนำเข้าวัตถุดิบที่จำเป็นต่อการผลิตอย่างแร่ลิเธียมและอื่นๆ มาจากเอเชีย ขณะเดียวกัน แอลจี เคม จะผลักดันการใช้ซัพพลายเออร์ของโปแลนด์ให้ได้มากที่สุดด้วย
แม้โรงงานของแอลจี เคม จะได้ชื่อว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป แต่ก็ยังถือว่าเล็กมากเมื่อเทียบกับโรงงานกิกะแฟคตอรี่ของเทสล่าในสหรัฐอเมริกา ซึ่งรอยเตอร์ระบุว่าโรงงานของแอลจี เคม มีขนาดเพียงแค่ 1 ใน 10 ของเทสล่าเท่านั้น
นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนจะสร้างโรงงานอีก 1 แห่งในเกาหลีใต้ และอีก 1 แห่งในสหรัฐฯ ซึ่งจะใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 2 ล้านล้านวอน (5.5 หมื่นล้านบาท) ซึ่งเมื่อโรงงานอีก 2 แห่งสร้างสำเร็จ จะทำให้ แอลจี เคม สามารถผลิตแบตเตอรี่ได้เพียงพอกับรถยนต์ไฟฟ้า 350,000 คันต่อปี
ผลพวงจากการพัฒนา นิสสัน ลีฟ นี้ได้รับการพัฒนาต่อยอดให้เห็นในรถของพันธมิตรทางธุรกิจอย่าง เรอโนลต์ โซ (RENAULT ZOE) ปี 2017 ซึ่งเป็นรถที่มีขนาดกะทัดรัด ใช้แบทเตอรีที่มีพลังงาน 41 กิโลวัตต์ชั่วโมง ที่พัฒนาโดย LG CHEM ทำให้สามารถใช้งานเป็นระยะทางถึง 300 กิโลเมตร รถพลังไฟฟ้ารุ่นต่อไปที่จะมาแทน ลีฟ ในปี 2018 จะพัฒนาแบทเตอรีให้มีพลังงานถึง 60 กิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งจะทำให้สามารถใช้งานเป็นระยะทางมากกว่า 300 กิโลเมตร/ชาร์จ 1 ครั้ง ได้อย่างแน่นอน
รถพลังไฟฟ้าที่กล่าวมา เลือกใช้แบทเตอรีชนิด LMO หรือ LMO/NMC ที่มาในรูปแบบเซลล์แผ่นแบบพริสมาทิคเป็นหลัก แต่ก็มีผู้ผลิตที่คิดต่างออกไป นั่นคือ จอมพลังของรถไฟฟ้าในปัจจุบัน “เทสลา” โดยแบทเตอรีที่ค่ายนี้เลือกใช้นั้น เป็นชนิด NCA หรือ LITHIUM NICKEL COBALT ALUMINUM OXIDE (ลิเธียมนิคเคิลโคบอลท์อลูมินัมออกไซด์) ที่มาในรูปแบบต่างไปจากของผู้ผลิตรายอื่นที่เลือกใช้แบทเตอรีรูปแบบพริสมาทิค แต่ เทสลา เลือกใช้เซลล์ทรงกระบอกแบบถ่านไฟฉายเบอร์ 18650 และระบายความร้อนด้วยของเหลว ส่งกำลังไปยังมอเตอร์กระแสสลับแบบเหนี่ยวนำ (AC INDUCTION MOTOR)
แบทเตอรีชนิด NCA ในรูปแบบที่ เทสลา เลือกใช้นั้น ผลิตโดย พานาโซนิค ซึ่งแต่เดิมเป็นแบทเตอรีสำหรับคอมพิวเตอร์แลพทอพ แต่ปัจจุบันนี้แนวโน้มเรื่องแบทเตอรีของ เทสลา น่าจะเปลี่ยนไปเป็นเบอร์ 2170 ที่มีความจุสูงขึ้น และ เทสลา ได้สร้างโรงงานชื่อ GIGAFACTORY เพื่อสร้างแบทเตอรีโดยเฉพาะ คาดว่าแบทเตอรีเบอร์ 2170 นี้ จะมีราคาต่ำกว่า 200 เหรียญสหรัฐฯ/กิโลวัตต์ชั่วโมง
แบทเตอรีอีกชนิดที่มาแรงในปัจจุบัน คือ AGM หรือ ABSORBED GLASS MAT ใช้ใยไฟเบอร์กลาสส์เป็นแผ่นกั้น โดยเส้นใยนี้จะสามารถอุ้มสารละลายกรดได้ดี ลดการสูญเสียน้ำ และยังลดการใช้สารละลาย ช่วยทำให้แบทเตอรีมีน้ำหนักเบา และในบางยี่ห้อนั้นได้เปลี่ยนสารละลายให้อยู่ในรูปเจล เพื่อลดการเสียน้ำ ซึ่งช่วยลดการสึกกร่อนของตะกั่วลงได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ส่งผลให้อัตราการคายประจุต่ำลง และมีราคาสูง จึงยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก
แม้ว่าผู้ผลิตรถยนต์ยุโรปหลายรายอย่าง Volkswagen Group, Daimler, BMW, Volvo เตรียมจะออกรถยนต์ไฟฟ้า แต่ก็ยังขาดโรงงานขนาดใหญ่สำหรับผลิตแบตเตอรี่ป้อนให้รถยนต์ภายในยุโรป จึงต้องนำเข้าจากจีนและเกาหลีใต้แทน ดังนั้น LG Chem จึงจะลงทุนจำนวน 5,900 ล้าน Zloth (หน่วยเงินโปแลนด์) หรือคิดเป็นเงินกว่า 1,630 ล้านดอลลาร์ สร้างโรงงานใกล้กับเมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ของ Wroclaw เพื่อผลิตแบตเตอรี่ป้อนให้ในยุโรป
สำหรับโรงงานของ LG Chem จะผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้ากว่า 1 แสนก้อนต่อปีในโปแลนด์ โดยจะเริ่มต้นผลิตปีหน้า และโรงงานจะมีการจ้างพนักงานจำนวน 2,500 คน
นอกจากโรงงานของ LG แล้ว ก็จะยังมีบริษัทอื่นที่พร้อมจะลงทุนอีก อย่างเช่น ABB จากสวิตเซอร์แลนด์ก็เตรียมสร้างโรงงานในสวีเดนที่จะผลิตแบตเตอรี่ได้เทียบเท่ากับแบตเตอรี่ 32 กิกะวัตต์ชั่วโมงในปี 2023 ส่วน Tesla สร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ในยุโรปเช่นกัน
https://cleantechnica.com/2017/09/08/lg-chem-investing-387-million-polish-battery-making-business/
https://techcrunch.com/2017/10/12/lg-to-open-europes-largest-ev-battery-factory-in-poland-next-year/
http://www.lgchem.com/global/ess/ess/product-detail-PDEC0001
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman