TSMC จ่อลงทุน 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ผุดโรงงานชิปในสหรัฐฯ หลังเปิดโรงงานชิปขั้นสูงในเมืองฟินิกซ์ มอร์ริส จางชี้โลกแบ่งห่วงโซ่อุปทานเทคโนโลยีเป็นสองค่าย นักอุตสาหกรรมย้ำการค้าเสรีสิ้นสุดแล้ว การผลิตและอุปทานในท้องถิ่นสำคัญกับความมั่นคงของชาติ
วันที่ 12 ธันวาคม 2565 สำนักข่าวนิกเกอิ เอเชีย รายงานว่า นายมอร์ริส จาง ผู้ก่อตั้งบริษัทผลิตชิปรายยักษ์ Taiwan Semiconductor Manufacturing Co. (TSMC) เตือนอุตสาหกรรมชิปถึงความยากลำบากของปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่ทำให้ยุคโลกาภิวัตน์และการค้าเสรีสิ้นสุด โดยไม่หวนกลับมาอีก
นายมอร์ริส จาง ขึ้นกล่าวปาฐกถาในโอกาสเปิดโรงงานผลิตชิปแห่งใหม่ ในเมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (6 ธ.ค.) ซึ่งเป็นโรงงานชิปขั้นสูงแห่งแรกของ TSMC บนแผ่นดินสหรัฐอเมริกา ในรอบกว่าสองทศวรรษ
เขากล่าวว่า โรงงานนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของ “การทํางานหนัก” เพื่อให้ประสบความสำเร็จ เมื่อเทียบกับโรงงาน TSMC แห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่เมืองคามาส รัฐวอชิงตันในปี 2538
“27 ปีผ่านไป และครั้งนั้นอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ได้เปลี่ยนแปลงโลกครั้งใหญ่ในยุคโลกาภิวัตน์ ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของสถานการณ์ตอนนี้ คือสถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ในโลก เพราะตอนนี้โลกาภิวัตน์ใกล้จะตายและการค้าเสรีเกือบตายแล้ว หลายคนยังคงหวังว่ายุคนั้นจะกลับมา แต่ฉันไม่คิดว่าช่วงเวลาเช่นนั้นจะกลับมา”
ความคิดเห็นของเขามีขึ้นท่ามกลางความหวาดกลัวว่าความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีน เกี่ยวกับเทคโนโลยีชิปขั้นสูงและนโยบายกีดกันของวอชิงตันต่อความทะเยอทะยานด้านชิปขั้นสูงของปักกิ่ง ที่กำลังแบ่งห่วงโซ่อุปทานเทคโนโลยีทั่วโลกออกเป็นสองค่าย ทำให้บริษัทผู้รับจ้างผลิตชิปอย่าง TSMC ให้บริการลูกค้าในจีนได้ยากขึ้น
นายจาง ยังกล่าวด้วยว่า เขาใฝ่ฝันที่จะสร้างโรงงานชิปที่ยอดเยี่ยมในสหรัฐฯ มาโดยตลอด เพราะภูมิหลังของเขาเอง ที่ได้รับการศึกษาและทำงานในสหรัฐอเมริกาเป็นเวลาหลายสิบปี แต่ประสบการณ์ครั้งแรกของเขาไม่ได้เป็นไปอย่างราบรื่น
“โรงงานแห่งแรกของเราในสหรัฐประสบปัญหาด้านต้นทุน เราประสบปัญหาเกี่ยวกับผู้คน เราประสบปัญหาทางวัฒนธรรม ความฝันที่เป็นจริงกลายเป็นฝันร้ายที่เป็นจริง เราใช้เวลาหลายปีในการคลี่คลายตัวเองจากฝันร้าย และผมตัดสินใจว่า ต้องเลื่อนความฝันออกไป”
หลังทศวรรษที่ 1990 หรือ ในช่วงยุค 2000 บริษัท TSMC มุ่งเน้นไปที่การสร้างกำลังการผลิตชิปที่ทันสมัยในตลาดบ้านเกิด (ใต้หวัน) ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยให้บริษัทสามารถลดต้นทุนได้ ในขณะเดียวกันก็พัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง
นิกเกอิ เอเชีย รายงานด้วยว่า ในการเปิดโรงงานแห่งใหม่นี้ มีคณะผู้แทนและเหล่าซีอีโอในอุตสาหกรรมชิปและเทคโนโลยีชั้นนำเข้าร่วมงาน เช่นเดียวกับประธานาธิบดี โจ ไบเดน ที่ยกย่องโรงงานแห่งนี้ว่าเป็นชัยชนะของสหรัฐฯ ในการผลักดันการผลิตชิปล้ำสมัยในประเทศ
TSMC ประกาศในวันเดียวกันว่าจะเพิ่มการลงทุนในรัฐแอริโซนาเป็นสามเท่า หรือเป็น 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อนำเทคโนโลยีชิปขั้นสูงสุดมาสู่ประเทศ
นอกจากนี้ นิกเกอิ เอเชีย ยังย้ำข้อความว่า วอชิงตันได้อ้างถึงข้อกังวลด้านความมั่นคงของชาติและปัญหาด้านอุปทาน ทำให้จำเป็นที่ต้องการนำอุตสาหกรรมการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่สำคัญกลับคืนสู่แผ่นดินใหญ่
สหรัฐฯ ผู้ธุรกิจ และนักอุตสาหกรรมหลายคนยอมรับว่ายุคโลกาภิวัตน์กำลังสิ้นสุด และการผลิตและอุปทานในท้องถิ่นนั้นมีความสำคัญสูงสุดในขณะนี้
โรงงานดังกล่าวของ TMSC จึงเกิดภายใต้การสนับสนุนจากนโยบายของประธานาธิบดี โจ ไบเดน หรือ นโยบาย CHIPS and Science Act (CHIPS Acts) เพื่อจัดสรรงบประมาณวงเงิน 5.27 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับการผลิตและวิจัยเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐ รวมถึงพัฒนาขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ที่ต้องการย้ายฐานการผลิตอุปกรณ์ไฮเทคกลับเข้าสู่ดินแดนสหรัฐฯ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดจากความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะในภูมิภาคทะเลจีนใต้
Source:ประชาติธุรกิจออนไลน์
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you