ธปท.พร้อมเกาะติดผลดอกเบี้ย "เฟด" ย้ำแนวนโยบายการเงินไทยต้องเหมาะสมกับประเทศ

นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายองค์กรสัมพันธ์และโฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การตัดสินนโยบายล่าสุดของเฟด และการสื่อสารเกี่ยวกับแนวนโยบายในอนาคตเป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดไว้ โดยขณะนี้

เฟดมุ่งมั่นที่จะดูแลเงินเฟ้ออย่างเต็มที่ก่อน เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เองในระยะยาว ทั้งนี้ หลังการประชุมอาจเห็นความผันผวนระยะสั้นในตลาดการเงินโลกและไทยบ้าง ซึ่ง ธปท. ได้ติดตามอย่างใกล้ชิด
ในส่วนของการดำเนินนโยบายของไทยในระยะต่อไป ก็ต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับบริบทของไทยเช่นกัน ทั้งแนวโน้มเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และเสถียรภาพระบบการเงิน โดยการดำเนินนโยบายจะมีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์และให้ทันกาล ตามที่ กนง. ได้สื่อสารมาต่อเนื่อง
สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท การตัดสินนโยบายของเฟดส่งผลให้เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเทียบกับทุกสกุล โดยในช่วงเช้า ค่าเงินบาทเทียบดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลง 0.8% และดัชนีค่าเงินบาท (เทียบสกุลภูมิภาค) ปรับอ่อนลง 0.34% ด้านเงินทุนเคลื่อนย้าย ยังไม่พบสัญญาณผิดปกติ
นับตั้งแต่ต้นปี จนถึงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 เงินบาทเทียบดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลง 11% โดยถือว่าอ่อนในระดับกลาง ๆ เทียบกับสกุลเงินในภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาทอ่อนลงเพียง 0.7% สำหรับนักลงทุนต่างชาติยังมีฐานะเป็นซื้อสุทธิในสินทรัพย์ไทยประมาณ 1.1 แสนล้านบาท (ซื้อสุทธิในตลาดหลักทรัพย์กว่า 1.6 แสนล้านบาท และขายสุทธิในตลาดพันธบัตรที่ 0.5 แสนล้านบาท) ทั้งนี้ ธปท. ได้ติดตามสถานการณ์การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทและเงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างใกล้ชิด โดยภาคเอกชนควรบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของตลาดการเงินในสถานการณ์ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง
Source: การเงินธนาคารออนไลน์

**************
ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยหลังเฟดส่งสัญญานเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย: นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายองค์กรสัมพันธ์และโฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
การตัดสินนโยบายล่าสุดของเฟด และการสื่อสารเกี่ยวกับแนวนโยบายในอนาคตเป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดไว้ โดยขณะนี้ เฟดมุ่งมั่นที่จะดูแลเงินเฟ้ออย่างเต็มที่ก่อน เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เองในระยะยาว ทั้งนี้ หลังการประชุมอาจเห็นความผันผวนระยะสั้นในตลาดการเงินโลกและไทยบ้าง ซึ่ง ธปท. ได้ติดตามอย่างใกล้ชิด
ในส่วนของการดำเนินนโยบายของไทยในระยะต่อไป ก็ต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับบริบทของไทยเช่นกัน ทั้งแนวโน้มเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และเสถียรภาพระบบการเงิน โดยการดำเนินนโยบายจะมีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์และให้ทันกาล ตามที่ กนง. ได้สื่อสารมาต่อเนื่อง
สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท การตัดสินนโยบายของเฟดส่งผลให้เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเทียบกับทุกสกุล โดยในช่วงเช้า ค่าเงินบาทเทียบดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลง 0.8% และดัชนีค่าเงินบาท (เทียบสกุลภูมิภาค) ปรับอ่อนลง 0.34% ด้านเงินทุนเคลื่อนย้าย ยังไม่พบสัญญาณผิดปกติ
นับตั้งแต่ต้นปี จนถึงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 เงินบาทเทียบดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลง 11% โดยถือว่าอ่อนในระดับกลาง ๆ เทียบกับสกุลเงินในภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาทอ่อนลงเพียง 0.7% สำหรับนักลงทุนต่างชาติยังมีฐานะเป็นซื้อสุทธิในสินทรัพย์ไทยประมาณ 1.1 แสนล้านบาท (ซื้อสุทธิในตลาดหลักทรัพย์กว่า 1.6 แสนล้านบาท และขายสุทธิในตลาดพันธบัตรที่ 0.5 แสนล้านบาท) ทั้งนี้ ธปท. ได้ติดตามสถานการณ์การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทและเงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างใกล้ชิด โดยภาคเอกชนควรบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของตลาดการเงินในสถานการณ์ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง
Source : BOT

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"