จากการวิเคราะห์ข้อมูลภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนพบว่าครัวเรือน รายได้น้อยจะเผชิญค่าครองชีพที่สูงขึ้นจากค่าใช้จ่ายหมวดอาหารมากกว่าครัวเรือน รายได้สูง เนื่องจากกลุ่มรายได้น้อยมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มี
แอลกอฮอล์สูงถึงร้อยละ 46 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ขณะที่กลุ่มรายได้สูงมีสัดส่วน การบริโภคสินค้าหมวดดังกล่าวต่ากว่าที่ร้อยละ 30 ขณะทีราคาพลังงานทีสูงขึ้นส่งผล กระทบต่อครัวเรือนทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันมากนัก สะท้อนจากสัดส่วนค่าใช้จ่ายหมวด พลังงานของกลุ่มรายได้น้อยและกลุ่มรายได้สูงใกล้เคียงกันที่ร้อยละ 10 และร้อยละ 13 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ตามลำดับ
ครัวเรือนกลุ่มรายได้น้อยยังต้องเผชิญกับปัญหาภาระหนี้สูงและ รายได้ฟื้นตัวไม่เต็มที่ โดยครัวเรือนกลุ่มรายได้น้อยทีมีหนี้สินคิดเป็น 2 ใน 3 ของจ่านวน ครัวเรือนกลุ่มรายได้น้อยทั้งหมด (ภาพที่ 2) อีกทั้งครัวเรือนรายได้น้อยส่วนใหญ่เป็น ผู้ประกอบอาชีพอิสระหรือเป็นลูกจ้างในภาคบริการทีได้รับผลกระทบโดยตรงจาก การระบาดของ COVID-19 ซึ่งรายได้ฟื้นตัวช้ากว่ากลุ่มอาชีพอื่น
ปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมาล้วนกดดันก่าลังซื้อ (purchasing power) ของครัวเรือน โดยเฉพาะครัวเรือนกลุ่มรายได้น้อยซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ (ร้อยละ 60 ของประชากรไทย) และมีสัดส่วนการบริโภคคิดเป็น 1 ใน 3 ของการบริโภครวม (ภาพที่ 3) ปัญหาดังกล่าวนอกจากจะส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพและคุณภาพชีวิตของครัวเรือน กลุ่มรายได้น้อยแล้ว ยังอาจกดดันการบริโภคภาคเอกชนและฉุดรั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยรวมในระยะต่อไปได้
Source: BOT WEbsite
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you