เมื่อโลกเปลี่ยนไป ถึงเวลาปรับมุมมองต่อ "ฟองสบู่" โดยเฉพาะช่วงโควิด-19 ที่ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับเพิ่มขึ้นขาเดียวมาเป็นเวลามากกว่า 10 เดือน ทำให้เกิดข้อกังวลว่าอาจเกิดภาวะฟองสบู่ มาสู่การมองพื้นฐานที่เปลี่ยนไป จะพบว่าราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นมามีความสมเหตุสมผล
ท่ามกลางความดีใจของนักลงทุนที่ได้กำไรเป็นกอบเป็นกำจากการลงทุนในหุ้นต่างประเทศตั้งแต่ช่วงหลังวิกฤติโรคโควิด-19 ที่ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับเพิ่มขึ้นขาเดียวมาเป็นเวลามากกว่า 10 เดือน ย่อมเกิดเป็นความกังวลว่าจะเกิดภาวะ “ฟองสบู่” เพราะถ้าวัดระยะจากหุ้นโลกที่ราคา ณ จุดต่ำสุดในเดือนมี.ค.ปีที่แล้ว ถึงตอนนี้ ราคาขึ้นมาแล้วกว่า +80% และมีการปรับฐานไปเพียง -7% เท่านั้น (ข้อมูล ณ 22 ก.พ.) ยิ่งไปกว่านั้น ราคาบางกองทุนที่เน้นหุ้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมการแพทย์ปรับเพิ่มขึ้นไปมากกว่าหนึ่งเท่าตัว
ลำเพียงเพียงแค่ราคาสินทรัพย์ปรับเพิ่มขึ้นมากนั้น ไม่สามารถจะฟันธงได้ว่าเกิดภาวะฟองสบู่หรือไม่ หากพิจารณานิยามของ “ฟองสบู่” หรือ Bubble คือการที่ราคาสินทรัพย์หนึ่งๆ ปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการที่ผู้เล่นในตลาดแห่กันเข้ามาซื้อและมีการไล่ราคาขึ้นไปเรื่อยๆ จนทำให้ราคาสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง
กล่าวคือ ราคาที่เพิ่มขึ้นไม่มีปัจจัยพื้นฐานรองรับ นอกจากนี้ภาวะฟองสบู่อาจจะเกิดควบคู่ไปกับการที่ผู้ลงทุนนั้นใช้เงินกู้มาซื้อสินทรัพย์ด้วย ดังที่เคยเกิดกับหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีในปี 2000 ซึ่งดัชนี NASDAQ ร่วงลงจากจุดสูงสุดถึงราว 80%
กลับมาดูที่การปรับขึ้นของหุ้นในรอบนี้ จะพบว่าปัจจัยแวดล้อมเปลี่ยนไปมาก ราคาหุ้นที่ขึ้นมามีปัจจัยสนับสนุนหลายประการ ได้แก่
ระดับดอกเบี้ยปัจจุบันต่ำมาก หากเทียบกับปี 2000 ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี อยู่สูงกว่า 6% ขณะที่ปัจจุบันอยู่ที่เพียง 1.3% ดอกเบี้ยต่ำทำให้ผลตอบแทนจากหุ้นน่าสนใจโดยเปรียบเทียบ
หากวัดระดับราคาหุ้นด้วยวิธี Earnings yield gap (EYG) หรือใช้กำไรของหุ้นหักด้วยผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี (ซึ่งค่าที่สูงถือว่าหุ้นน่าสนใจ) พบว่า หุ้นในหลายประเทศยังถือว่ามีระดับราคาที่สมเหตุสมผล เช่น หุ้นสหรัฐมี EYG ที่ 3.1% มากกว่าช่วงก่อนวิกฤติ Dot-com ซึ่งมี EYG ติดลบ ด้านหุ้นจีนนั้น EYG ราว 3% มากกว่าช่วงฟองสบู่ในตลาดหุ้นจีนปี 2015 ที่มี EYG เพียง 1.5% เท่านั้น
สภาพคล่องในตลาดการเงินอยู่ในระดับสูง เพราะธนาคารกลางใหญ่ๆ ทั่วโลก ทั้งสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น พร้อมใจกันเข้าซื้อสินทรัพย์จนขนาดงบดุลของธนาคารกลางเหล่านั้นทำจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์
เศรษฐกิจโลกปี 2021 มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดี หลังความสำเร็จของวัคซีน โดยประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐ และสหราชอาณาจักรได้เริ่มฉีดวัคซีนเข็มแรกให้ประชาชนได้ราว 20% แล้ว ซึ่งการทยอยเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจย่อมส่งผลบวกต่อราคาโภคภัณฑ์และการเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียนด้วย
เมื่อโลกเปลี่ยนไป ก็ถึงเวลาปรับมุมมองต่อฟองสบู่ โดยพิจารณาความกังวลจากราคาหุ้นที่ปรับขึ้นอย่างรวดเร็ว หันมามองที่พื้นฐานที่เปลี่ยนไปจากปัจจัยสนับสนุนข้างต้น จะพบว่าราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นมามีความสมเหตุสมผล หรืออาจเรียกได้ว่าเป็น “Rational bubble”
แม้ว่าภาพรวมจะดูสดใสขึ้น แต่ใช่ว่าหุ้นทุกประเทศหรือทุกกลุ่มอุตสาหกรรมจะมีปัจจัยพื้นฐานรองรับราคาที่เพิ่มขึ้นมา ตัวอย่างเช่น หุ้นญี่ปุ่น ที่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังเปราะบาง จากแผนการฉีดวัคซีนที่ค่อนข้างล่าช้า รวมถึงขีดความสามารถในการผ่อนคลายทางการเงินจากธนาคารกลางที่มีจำกัด อีกทั้งระดับ Valuation อยู่ในเกณฑ์แพงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยและประเทศอื่นๆ หรือหุ้นบางบริษัทในตลาดหุ้นสหรัฐ ที่นักลงทุนรายย่อยแห่กันเข้าไปซื้อจากการบอกปากต่อปาก ดังนั้นในเวลานี้การเลือกหุ้น (Stock Selection) จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
ทุกการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตาเพราะมีโอกาสเป็นลบต่อตลาดหุ้น ได้แก่
1.ความคาดหวังต่อเงินเฟ้อสหรัฐ ที่จะเพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจฟื้นตัว จะทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรปรับเพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้จะยังไม่กระทบต่อการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย และ
2.การกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่อาจส่งผลต่อประสิทธิผลของวัคซีนและกลับมาบั่นทอนการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก
จากที่กล่าวมาข้างต้น ปัจจัยสนับสนุนการลงทุนในหุ้นยังมีมากกว่าปัจจัยเสี่ยง เราจึงยังมีมุมมองเป็นบวกต่อการลงทุนในหุ้น แต่ต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้น และไม่ลืมหัวใจสำคัญ ก็คือการกระจายความเสี่ยง ทั้งในแง่ของสินทรัพย์ลงทุน และเวลาที่เข้าลงทุน
โดย ศิริพร สุวรรณการ
คอลัมน์ ส่องโลก สู่ขุมทรัพย์การลงทุน
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
เพิ่มเติม
- ‘This bond market is so radically oversold,' economist David Rosenberg says
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-----------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you