สำรวจกระเป๋าแรงงานไทยผ่าน 'ดัชนีเงินเฟ้อแรงงาน'

หากการทำงานเรียกว่าทำมาหากิน ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจใหม่อย่าง ดัชนีราคาผู้บริโภคกลุ่มแรงงาน (CPI Worker) สามารถบอกได้ว่า แรงงานส่วนใหญ่หามาได้ก็ใช้จายเพื่อการกินให้อยู่ได้ในแต่ละวันมากที่สุด

หากการทำงานเรียกว่าทำมาหากิน ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจใหม่ของ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภคกลุ่มแรงงาน (CPI Worker) น่าจะเป็นคำตอบของคำว่าทำมาหากินได้มากที่สุดเพราะผลของดัชนีชี้ว่าแรงงานส่วนใหญ่ใช้เงินไปกับค่าใช้จ่ายด้านอาหารและเครื่องดื่มเป็นส่วนใหญ่
โดยดัชนีแรงงานจะนำไปใช้ประกอบการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำระดับประเทศและจังหวัด ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคกลุ่มแรงงาน หรือ CPi-Worker เป็นดัชนีเศรษฐกิจการค้าใหม่ ที่ สนค.จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นตัวชี้วัดทางเลือกในการสะท้อนภาวะค่าครองชีพของผู้บริโภคกลุ่มแรงงานโดยเฉพาะ เป็นการบูรณาการกระบวนการทำงานระหว่าง สนค. กับกับกระทรวงแรงงาน เพราะพบว่าผู้บริโภคกลุ่มแรงงานมีพฤติกรรมการบริโภคที่แตกต่างจากผู้บริโภคกลุ่มทั่วไป
"กลุ่มแรงงานจะใช้เงินในการบริโภคหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะกลุ่มอาหารสำเร็จรูป และหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า มากกว่าหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร"
อย่างไรก็ตาม พบว่าสถานการณืการจ้างงานปีนี้ มีแนวโน้มน่าเป็นห่วง เนื่องจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจทั้งปี2563 เป็นติดลบ 7.3% ถึงลบ 7.8% มีค่ากลางที่ลบ 7.5% ซึ่งปรับลดลงจากการแถลงจีดีพีไตรมาสก่อนที่คาดว่าจะติดลบ 5 ถึงลบ 6% โดยการโดย สศช.มองตัวแปรการประมาณการ ดังนี้ 1.การระบาดของโควิด-19 ทั่วโลก ซึ่งคาดว่าจะจำกัดวงได้ภายในไตรมาส 4 ปีนี้ 2.ความขัดแย้งระหว่างจีนและสหรัฐไม่บานปลายกว่านี้ 3.วิกฤติเศรษฐกิจต้องไม่ก่อให้เกิดวิกฤติหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดเอ็นพีแอลจนนำไปสู่วิกฤติการเงิน 4.ขณะที่เศรษฐกิจโลกจะหดตัว 4.5% โดยค่าเงินบาทไม่ผันผวนจนเกินไป5.สถานการณ์ภัยแล้งในประเทศที่ไม่รุนแรงจนเกิินไปจนกระทบกับภาคการผลิตในภาคเกษตร
ขณะที่ส่วนภาวะทางสังคม โดยเฉพาะประเด็นการว่างงานซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญของการฉุดคนเกือบจนให้กลายเป็นคนจนนั้น สศช.สรุปภาวะสังคมไทยไตรมาส 2 ปีนี้ ซึ่งประเมิน
ผลกระทบจากโควิด-19 ต่อการจ้างงาน ซึ่งทำให้ผู้มีงานทำลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 700,000 คน เหลือ 37.1 ล้านคน หรือลดลง 1.9% และมีการว่างงานเพิ่มขึ้น 1.95% หรือ 370,000 คน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
โดยสศช.ติดตามข้อมูลพบว่าแรงงาน 1.76 คน มีสถานะทำในสถานประกอบการแต่ไม่ได้รับเงินเดือนจากนายจ้างเพราะหยุดกิจการชั่วคราวหรือบางส่วน จึงเสี่ยงตกงานหากธุรกิจยังไม่ประกอบการได้ปกติ แต่หากสถานการณ์เศรษฐกิจดีขึ้นจำนวนคนว่างงานกลุ่มนี้อาจลดลง แต่ถ้าเศรษฐกิจไม่ดีขึ้นและสถานประกอบการต้องปิดตัว จะทำให้กลุ่มนี้เสี่ยงว่างงาน ส่วนแรงงานในระบบที่ตกงานแล้วมี 420,000 คนที่ถูกเลิกจ้างและใช้สิทธิ์ประกันสังคมตามมาตรา 33 ซึ่งรวมแล้วขณะนี้มีแรงงานที่มีความเสี่ยงไม่ได้รับค่าจ้าง 2.18 ล้านคน
แม้คาดการณ์จีดีพีจะไม่ได้รวมประเด็นทางการเมืองไว้ แต่สศช.ได้แสดงความเป็นห่วงก่อนหน้านี้ว่า ควรมีการรักษาบรรยากาศทางการเมืองในประเทศที่ต้องระวังไม่ให้เกิดความวุ่นวายทางการเมือง หรือเกิดสถานการณ์การเมืองไม่มีเสถียรภาพเพิ่ม ขึ้นมาซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจและเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยังเป็นไปอย่างช้าๆ และยังมีความไม่แน่นอนอยู่สูงอยู่มากต้องติดตามเรื่องนี้ต่อไป
ที่มา : สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.),สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

คลิก

-----------------------------------------------------
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"