ขอกู้ 'สินเชื่อเสริมพลังฐานราก' จาก 'ธนาคารออมสิน' ต้องมีอะไรบ้าง?

เปิดรายละเอียดคุณสมบัติของผู้ขอ "สินเชื่อ" โครงการ "สินเชื่อเสริมพลังฐานราก" จาก "ออมสิน" วงเงิน 50,000 บาท ที่ช่วยให้ดำเนินการขอสินเชื่อง่ายขึ้น ธนาคาร "ออมสิน" ปล่อยกู้ "สินเชื่อเสริมพลังฐานราก" รายละไม่เกิน 5 หมื่นบาท

สำหรับประชาชนทั่วไปโดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกัน ทั้งผู้ที่มีรายได้ประจำ และอาชีพอิสระ โดยเริ่มเปิดให้ลงมทะเบียนตั้งแต่ตอนนี้ ไปจนถึงวันที่ 30 ธ.ค. 63

สำหรับผู้ที่ต้องการสินเชื่อ ผู้ลงทะเบียนใช้บริการตกลงยอมรับและปฏิบัติตามข้อตกลงและเงื่อนไข ก่อนที่จะขอสินเชื่อ เพื่อช่วยให้ขั้นตอนของการดำเนินการขอสินเชื่อรวดเร็วขึ้น โดยผู้ขอสินเชื่อต้องมี 3 สิ่ง ดังนี้
1. มีคุณสมบัติตามที่ธนาคารกำหนด1.1 มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- เป็นผู้ประกอบการรายย่อย/เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น ผู้ประกอบอาชีพค้าขาย บริการ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และ เมื่อรวมอายุผู้กู้กับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้ ต้องไม่เกิน 70 ปี
- เป็นผู้มีรายได้ประจำ เช่น พนักงาน/ลูกจ้างหน่วยงานเอกชน ที่มีเงินเดือนประจำ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และเมื่อรวมอายุผู้กู้กับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้ต้องไม่เกิน 60 ปี
1.2 บุคคลธรรมดา สัญชาติไทย เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่แน่นอน สามารถติดต่อได้
1.3 ไม่เป็นลูกจ้าง หรือ พนักงานธนาคารออมสิน
1.4 ไม่เป็นผู้ที่ได้รับรายได้ประจำจากหน่วยงานภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจ
1.5 ต้องการกู้เงินเพื่อใช้ในการลงทุน/ซื้อ/ซ่อมแซม อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ หรือ เพื่อใช้เป็นเงินทุนสำรองสำหรับการดำรงชีวิตในช่วงเวลาที่ได้รับผลกระทบจากภัยทางเศรษฐกิจ
2. มีเอกสารหลักฐาน สำหรับขอสินเชื่อ
2.1 กรณีที่ผู้กู้เป็นผู้ประกอบการรายย่อย
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน ใบเปลี่ยนชื่อสกุล (ถ้ามี) ของผู้กู้และคู่สมรส
- เอกสารแสดงสถานภาพ เช่น สำเนาใบสำคัญการสมรส (ถ้ามี)
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากเผื่อเรียกธนาคารออมสิน/บัญชีเงินฝากพื้นฐาน
- เอกสารแสดงรายได้เดือนล่าสุด เช่น บัญชีรายรับ-รายจ่าย ประมาณการรายได้ เป็นต้น
- ไม่ต้องตรวจกิจการ
2.2 กรณีที่ผู้กู้เป็นผู้มีรายได้ประจำ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน ใบเปลี่ยนชื่อสกุล (ถ้ามี) ของผู้กู้และคู่สมรส
- เอกสารแสดงสถานภาพ เช่น สำเนาใบสำคัญการสมรส (ถ้ามี)
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากเผื่อเรียกธนาคารออมสิน/บัญชีเงินฝากพื้นฐาน
- เอกสารแสดงรายได้ เช่น สลิปเงินเดือน/หลักฐานการรับเงินเดือน เดือนล่าสุด
- เอกสารแสดงการเดินบัญชี (Statement) เดือนล่าสุด
3. มีความเข้าใจเกี่ยวกับเงื่อนไข "สินเชื่อเสริมพลังฐานราก" 3.1 วงเงินกู้ สูงสุดไม่เกินรายละ 50,000 บาท3.2 อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 0.35 ต่อเดือน (Flat Rate) กรณีผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้คิดเพิ่มอีกร้อยละ 0.50 ต่อเดือน ของเงินต้นที่ถึงกำหนดชำระ3.3 ชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นงวดรายเดือน สูงสุดไม่เกิน 3 ปี (30 งวด) ระยะเวลาปลอดชำระหนี้ 6 งวดแรก (เงินต้นและดอกเบี้ย)3.4 ไม่ต้องใช้หลักประกัน3.5 ช่วงระยะเวลาดำเนินโครงการ คือ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ถึง วันที่ 30 ธ.ค. 633.6 ผู้ที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อ จะได้รับเงินผ่านบัญชีเงินฝากที่ใช้เป็นบัญชีคู่โอนสำหรับหักชำระสินเชื่อ3.7 ต้องชำระหนี้ด้วยการหักบัญชีเงินฝาก โดยผู้กู้ทำหนังสือยินยอมให้หักบัญชีเงินฝากที่ได้รับระบุไว้เพื่อชำระหนี้ ซึ่งผู้กู้ต้องนำเงินฝากเข้าบัญชีที่ยินยอมก่อนวันครบกำหนดชำระเงินงวด3.8 การพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนดทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ "สินเชื่อเสริมพลังฐานราก" ได้ที่ call center 1115 เว็บไซต์ www.gsb.or.th หรือธนาคารออมสินทุกสาขา ที่มา: ธนาคารออมสิน
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

คลิก


Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
--------------------------------------------------------------------------------

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"